การลดช่องว่างด้านการพัฒนาระหว่างเขตแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการเกี่ยวกับความยุติธรรมทางสังคมในเวียดนาม (Tạp chí Xây Dựng Đảng) |
เวียดนามมี 54 ชนเผ่า โดยนอกจากชนเผ่ากิงห์แล้ว ยังมี 53 ชนกลุ่มน้อย รวมประชาชน 14.5 ล้านคน คิดเป็นเกือบร้อยละ 15 ของประชากรทั่วประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยในเขตเขา เขตชายแดน เขตทุรกันดารและเขตที่อยู่ห่างไกลความเจริญในเขตตะวันออกเฉียงเหนือ เขตตะวันตกเฉียงเหนือ ภาคกลางตอนบน เขตริมฝั่งทะเลภาคกลาง เขตที่ราบสูงเตยเงวียนและเขตตะวันตกภาคใต้ ทั่วประเทศมีตำบล แขวงและอำเภอเมือง 3,434 แห่ง ในเขตชนกลุ่มน้อยและเขตเขา ซึ่งพรรคและรัฐเวียดนามมีแนวทางที่เสมอต้นเสมอปลายในการพัฒนาเขตชนกลุ่มน้อยในทุกด้านเพื่อลดช่องว่างด้านการพัฒนาระหว่างเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำกับเขตเขา
ลดความยากจนในหลายมิติเพื่อมุ่งแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน
ในการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามสมัยที่ 13 ได้มีการแนวทางชี้นำการปฏิบัติมาตรการแก้ปัญหาความยากจนในหลายมิติอย่างพร้อมเพรียง ยั่งยืนและครอบคลุม โดยเฉพาะในเขตชนกลุ่มน้อย ซึ่งก่อนอื่นต้องปฏิบัติโครงการเป้าหมายแห่งชาติเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมในเขตชนกลุ่มน้อยและเขตเขาระยะปี 2021-2030 อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเมื่อปี 2022 รัฐได้จัดงบประมาณเกือบ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อปฏิบัตินโยบายสนับสนุนการแก้ปัญหาความยากจน ซึ่งช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ที่มีฐานะยากจนได้รับการปรับปรุง สวัสดิการสังคมได้รับการค้ำประกัน โครงสร้างพื้นฐานด้านเศรษฐกิจสังคมในเขตชนบท เขตเขาและเขตชนกลุ่มน้อยได้รับการพัฒนาและช่องว่างด้านการพัฒนาระหว่างเขตต่างๆได้ลดลง ส่วนกระทรวงแรงงาน ทหารทุพพลภาพและสังคมได้เผยว่า เมื่อปี 2022 จำนวนครอบครัวที่ยากจนในหลายมิติได้ลดลงร้อยละ 1.5 ครอบครัวชนกลุ่มน้อยที่ยากจนลดลงกว่าร้อยละ 3 และครอบครัวที่ยากจนในอำเภอที่ยากจนลดลงร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับปี 2021 นาย ดาววันแค้ง ประธานคณะกรรมการประชาชนอำเภอเหมื่องแต่ จังหวัดลายโจว์ ได้เผยว่า
“รัฐบาล กระทรวงและหน่วยงานต่างๆให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อการช่วยเหลือและยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนชนกลุ่มน้อย ส่วนเศรษฐกิจสังคมในเขตชนกลุ่มน้อยมีพัฒนาการอย่างเห็นได้ชัด โดยโครงสร้างพื้นฐานได้รับการลงทุนก่อสร้างเพื่อเชื่อมโยงกับเขตที่พัฒนา การประยุกต์ใช้รูปแบบการผลิตที่มีประสิทธิภาพช่วยให้ชาวบ้านสามารถเข้าถึงวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีในการผลิตและทำปศุสัตว์”
นโยบายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในเขตที่ราบสูงเตยเงวียน
เขตที่ราบสูงเตยเงวียนมีสถานะทางภูมิศาสตร์ที่สำคัญทั้งด้านความมั่นคงและกลาโหม มีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 16.8 มีประชากรคิดเป็นร้อยละ 6 ของประชากรทั่วประเทศและอัตราประชากรชนกลุ่มน้อยคิดเป็นร้อยละ 36.52 โดยพรรคฯและรัฐได้ให้ความสนใจชี้นำปฏิบัติโครงการเป้าหมายแห่งชาติเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความยากจน น้ำประปา สิ่งแวดล้อมและการศึกษาในเขตที่ราบสูงเตยเงวียน โดยเฉพาะโครงการแก้ปัญหาความยากจนอย่างรวดเร็วและยั่งยืนในอำเภอที่ยากจน 62 แห่งหรือโครงการ 30 เอ โครงการ 168 โครงการ 135 และโครงการเป้าหมายแห่งชาติเกี่ยวกับการลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในเขตชนบท การตั้งถิ่นฐานให้แก่ประชาชนชนกลุ่มน้อย โครงการ 132 และ 134 เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาที่ดินเพื่ออยู่อาศัย เพื่อการผลิต ที่อยู่อาศัยและน้ำประปาให้แก่ประชาชนชนกลุ่มน้อยและล่าสุดคือโครงการเป้าหมายแห่งชาติเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ ซึ่งได้รับการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและมีประสิทธิภาพ นาย ฝ่ามเจิ่นแอง รองผู้อำนวยการสำนักงานแรงงานทหารทุพพลภาพและสังคมจังหวัดยาลาย ได้เผยว่า
“หน่วยงานแรงงาน ทหารทุพพลภาพและสังคมจังหวัดฯได้ให้คำปรึกษาแก่พรรคสาขาและทางการท้องถิ่นในการจัดทำมาตรการช่วยเหลือครอบครัวต่างๆ ให้หลุดพ้นจากความยากจน พร้อมทั้งใช้งบประมาณและแหล่งพลังต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ ประสานงานกับแนวร่วมปิตุภูมิ คณะและองค์กรสังคมทุกระดับในการระดมแหล่งพลังจากสถานประกอบการ ชุมชนและสังคมเพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีฐานะยากจนในการพัฒนาการผลิต”
จากการชี้นำการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตั้งแต่ระดับส่วนกลางถึงระดับท้องถิ่น อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในจังหวัดต่างๆของเขตที่ราบสูงเตยเงวียนในหลายปีที่ผ่านมาอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยรายงานของกระทรวงแรงงาน ทหารทุพพลภาพและสังคมเมื่อปีที่แล้วระบุว่า เขตที่ราบสูงเตยเงวียนมีครอบครัวที่ยากจนในหลายมิติ รวมถึงครอบครัวที่ใกล้เกณฑ์ยากจน 236,766 ครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 15.39 ซึ่งเป็นระดับที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับเขตภาคกลางตอนบน เขตริมฝั่งทะเลภาคกลางและเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง แต่ต่ำกว่าเขตภูดอยและเขตเขาภาคเหนือที่มีครอบครัวที่ยากจนในหลายมิติ 701,461 ครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 21.92
พัฒนาการสื่อสารเพื่อลดโอกาสการกลับไปล้าหลัง
สถานการณ์ภายในประเทศในหลายปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า การแก้ปัญหาความยากจนในเวียดนามยังไม่ยั่งยืน โดยครอบครัวต่างๆมีความเสี่ยงที่จะกลับไปยากจนอีกครั้ง เขตเขาภาคเหนือและเขตที่ราบสูงเตยเงวียนยังคงเป็นเขตที่ยากจน แหล่งพลังสำหรับการแก้ปัญหาความยากจนในเขตชนกลุ่มน้อยถูกใช้ไม่ตรงจุด นโยบายพิเศษด้านที่ดิน ภาษี สินเชื่อและตลาดต้องสอดคล้องกับสถานการณ์ในเขตและท้องถิ่นเพื่อดึงดูดสถานประกอบการให้เข้ามาลงทุนและพัฒนาการผลิตและประกอบธุรกิจในเขตที่ยากจน ซึ่งเพื่อเร่งลดช่องว่างด้านการพัฒนาระหว่างเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำกับเขตเขา เวียดนามได้แสวงหาวิธีการเข้าถึงใหม่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืนในเขตชนกลุ่มน้อย นาย เห่าอาแหล่ง รัฐมนตรีหัวหน้าคณะกรรมการชาติพันธุ์ได้ชี้ชัดว่า
“ต้องเกาะติดและปฏิบัติตามแนวทางของพรรคและรัฐ โดยเฉพาะโครงการเป้าหมายแห่งชาติ โดยคณะกรรมการชาติพันธุ์กำลังประสานงานงานกับกระทรวงและหน่วยงานต่างๆในการปฏิบัติโครงการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมในเขตชนกลุ่มน้อยและเขตเขา โดยได้มีมาตรการปฏิบัติเป้าหมายต่างๆอย่างเป็นรูปธรรม เช่น การจัดสรรแหล่งพลัง การบริหารจัดการโครงการฯ การตรวจสอบ การเข้าร่วมขององค์กร บุคคลและบทบาทของประชาชนในการปฏิบัติโครงการฯ ตลอดจนการประเมินและถอดประสบการณ์ การวิเคราะห์ปัญหาต่างๆเพื่อวางนโยบายที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในท้องถิ่นมากขึ้น”
ในการแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืนในเขตชนกลุ่มน้อย โครงการเป้าหมายแห่งชาติเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืนระยะปี 2021-2030 ได้ระบุว่า การขยายการเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นให้แก่ประชาชนชนกลุ่มน้อยคือหน้าที่สำคัญพิเศษ โดยโครงการพัฒนาการสื่อสารเพื่อแก้ปัญหาความยากจนของโครงการที่ 6 ได้ตั้งเป้าหมายว่า จะสร้างจุดจัดสรรข้อมูลในสถานที่สาธารณะในตำบลที่ยากจนพิเศษทุกแห่งเพื่อมีส่วนร่วมกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมในท้องถิ่น เปลี่ยนแปลงวิธีการช่วยเหลือผู้ที่มีฐานะยากจน ขยายผลรูปแบบและความคิดริเริ่มเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความยากจนที่มีประสิทธิภาพ ประยุกต์ใช้ผลการวิจัยขององค์กรระหว่างประเทศในด้านนี้ให้สอดคล้องกับท้องถิ่น ซึ่งนี่เป็นมาตรการที่เวียดนามกำลังปฏิบัติเพื่อพัฒนาเขตชนกลุ่มน้อยอย่างยั่งยืนและยืนยันถึงพัฒนาการเกี่ยวกับความยุติธรรมทางสังคมในเวียดนาม.