ครอบครัวนาย อี ดริน นีเอ ติดตั้งระบบน้ำหยดในสวนกาแฟเพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตและรายได้ให้มากขึ้น |
เมื่อ 5 ปีก่อน ครอบครัวนาย อี ดริน นีเอ ในหมู่บ้าน โกตาม ตำบล อีอา ตู นครบวนมาถวด ได้ปรับปรุงสวนกาแฟ โดยติดตั้งระบบน้ำหยดเพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตและรายได้ให้มากขึ้น จนมีเงินสำหรับก่อสร้างบ้านหลังใหม่ ซื้อเครื่องใช้ในบ้านที่ทันสมัยและลูกๆ ได้ไปโรงเรียน นาย อี ดริน กล่าวด้วยความยินดีว่า
“เมื่อปี 2018 ผมได้ติดตั้งระบบน้ำหยด ซึ่งช่วยประหยัดแรงงาน ไฟฟ้า ปุ๋ยและเพิ่มผลผลิต ระบบน้ำหยดสะดวกมาก เราไม่ต้องรดน้ำด้วยมือ จึงสามารถไปทำงานอย่างอื่นในขณะที่รดน้ำได้ นอกจากนี้ ระบบน้ำหยดก็ช่วยให้ต้นกาแฟออกดอกมากขึ้น เมล็ดใหญ่และดก ได้ปริมาณผลผลิต 4 ตันครึ่งมากว่าเมื่อก่อนที่ได้ผลผลิต 4 ตัน”
ครอบครัวนาง เฮอมวาน เอบาน ในหมู่บ้าน กรงบี ตำบลอีอาตู นครบวนมาถวด มีพื้นที่กว้าง 1.5 เฮกตาร์ โดยปลูกกาแฟและพริกไทย เมื่อก่อน ครอบครัวเธอใช้วิธีปลูกแบบเก่าจึงขาดประสิทธิภาพ แต่ต้นปี 2015 เธอได้สมัครเข้าร่วมชั้นเรียนถ่ายทอดวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีปลูกกาแฟ พริกไทย ทุเรียนและอาโวคาโดของสมาคมเกษตรกรตำบลอีอาตู หลังจากที่เรียนจบ เธอได้กู้เงินจากธนาคารเพื่อปรับปรุงสวนปลูกกาแฟและพริกไทยตามรูปแบบใหม่ และปลูกทุเรียนพันธุ์ Dona รวม 80 ต้น พร้อมทั้งประยุกต์ใช้เทคนิคการปลูกที่ทันสมัย เช่น ระบบรดน้ำ Sponsored ใช้ปุ๋ยคอกและผลิตภัณฑ์ชีวภาพในการปลูก ถึงขณะนี้ กาแฟ พริกไทยและทุเรียนในสวนของเธอให้ผลผลิตเป็นอย่างดี
“ปีนี้ เราสามารถเก็บเมล็ดกาแฟได้ 2-2.5 ตัน ขายได้ 80 ล้านด่งหรือกว่า 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนพริกไทยก็ได้ผลผลิตกว่า 1 ตัน ขายได้กว่า 70 ล้านด่งหรือ 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ทุเรียนได้ผลผลิต 6 ตัน ขายได้ประมาณ 300 ล้านด่งหรือกว่า 13,000 ดอลลาร์สหรัฐ”
อีอาตูคือตำบลที่ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร รวมทั้งชนกลุ่มน้อยคิดเป็น 2 ใน 3 ของประชากร นาย เหงียนกวางอาน นายกสมาคมเกษตรกรตำบลฯ เผยว่า ทุกๆ ปี ทางตำบลฯ ต่างประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับเปิดชั้นเรียนฝึกอบรมการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้แก่เกษตรกรเพื่อช่วยให้พวกเขาเปลี่ยนแปลงมาใช้วิธีการปลูกที่ให้ผลผลิตสูง
“ปัจจุบันนี้ ตำบลอีอาตูกำลังปฏิบัติรูปแบบกาแฟ 4C ควบคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ส่วนสมาคมเกษตรกรกำลังประยุกต์ใช้ระบบน้ำหยดและสปริงเกอร์ 360 องศา รณรงค์ให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตเองจากเปลือกกาแฟและวัตถุดิบเกษตรต่างๆ เป็นต้น”
ในจังหวัดดั๊กลั๊ก มีประชากรเกือบร้อยละ 36 เป็นชนกลุ่มน้อย ซึ่งการรณรงค์ให้ชนกลุ่มน้อยเปลี่ยนความคิดและวิธีการปลูกที่ประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความหมายสำคัญต่องานด้านการแก้ปัญหาความยากจนและมุ่งสู่การสร้างสรรค์ระบบผลิตสินค้า นาง หวิ่งถิทูเฝือง หัวหน้าแผนกเทคนิค ศูนย์ส่งเสริมการเกษตร พันธุ์พืช สัตว์เลี้ยงและสัตว์น้ำจังหวัดดั๊กลั๊ก กล่าวว่า ในหลายปีที่ผ่านมา เกษตรกรได้เรียนรู้การประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีในการผลิต มีส่วนร่วมเพิ่มรายได้จากหน่วยงานการเกษตรขึ้นเป็นกว่าร้อยละ 65 ในสัดส่วนของระบบเศรษฐกิจของจังหวัด ส่วนในเวลาข้างหน้า ทางศูนย์ฯ จะผลักดันการประชาสัมพันธ์และให้การช่วยเหลือชาวบ้านในการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิต
“เรากำลังปฏิบัติในหลากหลายรูปแบบ เช่น ผ่านเว็บไซต์ แจกใบปลิวหรือประสานงานกับทางการท้องถิ่นทำการประชาสัมพันธ์ให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะเน้นถึงการฝึกอบรมเพิ่มทักษะความสามารถให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ดูแลการส่งเสริมการเกษตรระดับตำบลและอำเภอเพราะพวกเขาเป็นผู้ที่ถ่ายทอดวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีให้แก่เกษตรกรโดยตรง นี่เป็นเรื่องที่สำคัญเพื่อช่วยให้เกษตรกรตระหนักได้ดีถึงการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย”
การช่วยเหลือให้เกษตรกรชนกลุ่มน้อยสามารถประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีในการผลิตได้ช่วยให้จังหวัดดั๊กลั๊กปฏิบัติภารกิจการแก้ปัญหาความยากจนในชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี.