ยุโรปและเส้นทางที่เต็มไปด้วยความยากลำบาก

Chia sẻ

(VOVWORLD) - การปะทะระหว่างรัสเซียกับยูเครนได้ส่งผลกระทบในทางลบและสร้างความท้าทายที่ร้ายแรงต่างๆต่อภูมิภาคและเศรษฐกิจต่างๆในโลก ซึ่งยุโรปได้รับการประเมินว่า เป็นภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด โดยมีความผันผวนต่างๆทั้งในเวทีการเมืองและสังคมของบรรดาประเทศสมาชิก

เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พรรคอนุรักษ์นิยม ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลในอังกฤษได้แต่งตั้งนาย  ริชี ซูนัค อายุ 42 ปี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้นำคนใหม่ของพรรคฯและเป็นว่าที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่แทนนาง  ลิส ทรัสส์ ที่เพิ่งลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 ตุลาคมที่ผ่านมา  ซึ่งหมายความว่าในรอบไม่ถึง 2 เดือน อังกฤษมีนายกรัฐมนตรีถึง 3 คนได้แก่นาย บอริส จอห์สัน นาง ลิส ทรัสส์และนาย ริชี ซูนัค ซึ่งสิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงความผันผวนบนเวทีการเมืองของอังกฤษ ซึ่งเป็นเศรษฐกิจรายใหญ่อันดับสองในยุโรปรองจากเยอรมนี หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดสถานการณ์ดังกล่าวเนื่องจากอุปสรรคด้านเศรษฐกิจ-สังคม เช่นราคาเชื้อเพลิงและอาหารที่เพิ่มสูงขึ้น อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงเป็นประวัติกาล ผลกระทบจากวิกฤตระหว่างรัสเซียกับยูเครน  แต่อย่างไรก็ดี สิ่งที่น่ากังวลกว่าก็คือ นอกจากอังกฤษแล้ว ประเทศยุโรปต่างๆก็กำลังต้องเผชิญกับอุปสรรคและความท้าทายในลักษณะเดียวกัน

ความท้าทายและอุปสรรคนานัปการต่อบรรดาประเทศยุโรป

บรรดาผู้เชี่ยวชาญในภูมิภาคและโลกให้ข้อสังเกตว่า ในสภาวการณ์ปัจจุบัน นาย ริชี ซูนัค ผู้นำคนใหม่ของอังกฤษจะต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆ โดยเฉพาะการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่มีความเสี่ยงตกเข้าสู่ภาวะถดถอยเนื่องจากราคาพลังงานและอาหารเพิ่มสูงขึ้น ก่อนที่นาง ลิส ทรัสส์ประกาศลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10.1 ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดในรอบ 40 ปีที่ผ่านมา พรรคแรงงาน ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านที่ใหญ่ที่สุดในอังกฤษได้ตำหนิพรรคอนุรักษ์นิยมเกี่ยวกับวิกฤตเศรษฐกิจในปัจจุบัน พร้อมทั้งเรียกร้องให้ทำการเลือกตั้งทั่วไปก่อนกำหนด

ส่วนที่ประเทศอิตาลี ซึ่งเป็นเศรษฐกิจรายใหญ่ในยุโรป รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ Giorgia Meloni ที่เพิ่งขึ้นดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ก็ต้องเผชิญกับอุปสรรคและความท้าทายนานัปการและปฏิบัติภาระหน้าที่อันหนักหน่วง เช่น การป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจตกเข้าสู่ภาวะถดถอย ควบคุมราคาพลังงานและอัตราเงินเฟ้อที่กำลังอยู่ในระดับสูงที่สุดในรอบหลายทศวรรษ รวมถึงการแก้ไขวิกฤตในยูเครน

ส่วนที่ประเทศฝรั่งเศส รัฐบาลของประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอมมานูเอล มาครงก็ต้องเผชิญกับกระแสการชุมนุมคัดค้านเนื่องจากราคาเชื้อเพลิง อาหารและอัตราคนว่างงานเพิ่มสูงขึ้นในทั่วประเทศ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา การชุมนุมบางครั้งได้บานปลายกลายเป็นเหตุจราจลซึ่งสร้างความวิตกกังวลว่าอาจทำให้เกิดเหตุจราจลเหมือนเมื่อปี 2018

เยอรมนี ซึ่งเป็นเศรษฐกิจรายใหญ่ที่สุดของอียูกำลังต้องเผชิญกับอุปสรรคต่างๆเนื่องจากอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงที่สุดในรอบหลายทศวรรษที่ผ่านมาและมีความเสี่ยงจะตกเข้าสู่ภาวะถดถอย สถาบันเศรษฐกิจเยอรมนีได้เผยว่า อัตราการขยายตัวจีดีพีของเยอรมนีอาจลดลงร้อยละ 0. 3ในปี 2023 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงและการขาดแคลนก๊าซธรรมชาติ เยอรมนีอาจตกเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในฤดูหนาวนี้ โดยอัตราเงินเฟ้อในปี 2022ได้รับการพยากรณ์ว่า จะอยู่ที่ร้อยละ 8.1 และจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 9.3 ในปี 2023

มาตรการและศักยภาพ

บรรดานักวิเคราะห์อิสระระหว่างประเทศได้ให้ข้อสังเกตว่า แม้จะมีความแตกต่างเกี่ยวกับความผันผวนและระดับความรุนแรง แต่อุปสรรคและความท้าทายต่างๆที่รัฐบาลประเทศต่างๆในยุโรปกำลังต้องเผชิญล้วนมาจากผลกระทบจากวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน ดังนั้น ต้องระดมแหล่งพลังต่างๆเพื่อแก้ไขวิกฤต ซึ่งนี่เป็นจุดยืนที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้นำยุโรป  ในประกาศล่าสุด รัฐมนตรีต่างประเทศฮังการี Peter Szijjarto เตือนว่า วิกฤตด้านพลังงานในยุโรปจะยืดเยื้อไปจนถึงปี 2023 และปี2024หรือนานกว่านั้น  พร้อมทั้งชี้ชัดว่า วิกฤตดังกล่าวกำลังรุนแรงมากขึ้นเนื่องจากเหตุผลทางภูมิรัฐศาสตร์และปัญหาความมั่นคง ซึ่งต้องการมาตรการแก้ไขในระยะยาว อีกทั้งกล่าวอีกครั้งถึงจุดยืนของผู้นำฮังการีคือ วิกฤตด้านพลังงานในยุโรปมาจากการที่อียูประกาศใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียเนื่องจากยุทธนาการทางทหารของรัสเซียในยูเครน ดังนั้น ยุโรปต้องเน้นแสวงหามาตรการยุติการปะทะแทนการเพิ่มมาตรการคว่ำบาตร

จากการที่มีจุดยืนเดียวกัน ในเวลาที่ผ่านมา ประธานาธิบดีตุรกี เรเจป ไตยิป แอร์โดอันได้มีปฏิบัติการต่างๆเพื่อส่งเสริมการแสวงหามาตรการแก้ไขวิกฤตรัสเซีย-ยูเครนอย่างสันติ โดยชี้ชัดว่า ต้องเน้นแก้ปัญหาด้วยมาตรการสันติเพราะการยุติการปะทะจะช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆที่ยุโรปกำลังต้องเผชิญทั้งในด้านเศรษฐกิจ-สังคม กลาโหม-ความมั่นคง การเมืองและการทูต.

Feedback