ยุโรปผลักดันมาตรการรับมือวิกฤตด้านพลังงาน

ฺBa Thi- VOV5
Chia sẻ

(VOVWORLD) -เพื่อลดผลกระทบจากวิกฤตด้านพลังงานที่เกิดขึ้นเนื่องจากการปะทะระหว่างรัสเซียกับยูเครน ประเทศต่างๆในยุโรปกำลังปฏิบัติมาตรการรับมือที่เข้มแข็ง โดยเฉพาะการประกาศวงเงินช่วยเหลือด้านพลังงานซึ่งก็ต้องใช้เวลาเพื่อประเมินว่ามาตรการรับมือนี้จะมีประสิทธิภาพหรือไม่

ยุโรปผลักดันมาตรการรับมือวิกฤตด้านพลังงาน - ảnh 1ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ“นอร์ดสตรีม  2"  ณ ประเทศเยอรมนี (Photo: AFP/TTXVN )

 รายงานของบรรดาประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปหรืออียูระบุว่า ราคาพลังงานและราคาเชื้อเพลิงอยู่ในระดับสูงกว่าหลายเท่าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2021 และอาจสร้างสถิติใหม่ อย่างเช่น ในประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในอียูและเป็นประเทศที่มีการใช้พลังงานมากที่สุดในยุโรป ค่าไฟฟ้าอยู่ในระดับสูงเป็นประวัติกาลคือ 1,050 ยูโรต่อเมกะวัตต์-ชั่วโมงในปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา สูงกว่า 14 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว  ในรายงานที่ประกาศเมื่อสัปดาห์ก่อน สำนักงานสถิติเยอรมนีได้ยืนยันว่า เยอรมนีกำลังพยายามแก้ปัญหาด้านพลังงานหลังจากที่รัสเซียระงับการจัดสรรก๊าซธรรมชาติ ส่วนที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งเคยเป็นประเทศสมาชิกของอียู   อัตราค่าไฟในปี 2022 ได้เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 54 หรือประมาณเกือบ 2,000 ปอนด์

สถานการณ์ที่เป็นจริง

เพื่อรับมือสถานการณ์การขาดแคลนพลังงานที่รุนแรงในขณะที่ฤดูหนาวกำลังใกล้เข้ามา ประเทศยุโรปกำลังปฏิบัติมาตรการต่างๆ รวมทั้งมาตรการที่ไม่เคยปฏิบัติมาก่อน เมื่อวันที่ 4 กันยายน รัฐบาลเยอรมนีได้ประกาศวงเงินช่วยเหลืองวดที่สาม มูลค่าประมาณ 6 หมื่น 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อช่วยเหลือครอบครัวต่างๆรับมือกับราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเพิ่มวงเงินช่วยเหลือด้านพลังงานขึ้นเป็นเกือบ 9 หมื่น 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมาตรการดังกล่าวประกอบด้วยการกำหนดเพดานค่าไฟ    การลดภาษีมูลค่าเพิ่มต่อก๊าซธรรมชาติ  เลื่อนเวลาการเพิ่มราคาสำหรับก๊าซคาร์บอนเป็นเวลา 1 ปี การชำระเงินให้แก่ผู้เกษียณอายุราชการและนักศึกษาและมาตรการต่างๆ

ส่วนที่ประเทศอังกฤษ รัฐบาลได้ตัดสินใจปฏิบัติวงเงินช่วยเหลือ มูลค่าประมาณกว่า 1 แสน 7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่ออุดหนุนราคาด้านพลังงานให้แก่ครอบครัวและสถานประกอบการในทั่วประเทศเป็นเวลา 2 ปี

การอุดหนุนราคาพลังงานให้แก่ครอบครัวและสถานประกอบการก็เป็นมาตรการรับมือที่ประเทศยุโรปต่างๆกำลังปฏิบัติ ตามรายงาน จนถึงขณะนี้  5 เศรษฐกิจใหญ่ของอียูได้ประกาศวงเงินอุดหนุนราคาพลังงานให้แก่ครอบครัวและสถานประกอบการ มูลค่าประมาณ 2 แสน 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจำนวนเงินช่วยเหลือด้านพลังงานของทั้งอียูและอังกฤษอยู่ที่รวมกันกว่า  5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ

นอกจากการอุดหนุนค่าไฟให้แก่สถานประกอบการและประชาชน ประเทศยุโรปยังผลักดันการปฏิบัติมาตรการประหยัดพลังงาน เช่น  การปรับอุณหภูมิความเย็นของเครื่องปรับอากาศ การเพิ่มปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติเพื่อเตรียมให้แก่ฤดูหนาวนี้ ผลักดันการแบ่งปันก๊าซธรรมชาติระหว่างบรรดาประเทศสมาชิกอียู  วางแผนการกำหนดเพดานราคาก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น

ศักยภาพและความท้าทาย

ตามการพยากรณ์ของรัฐบาลและองค์กรการเงินในภูมิภาค การอุดหนุนราคาพลังงานให้แก่ประชาชนและสถานประกอบการในยุโรปเป็นสิ่งที่จำเป็นในสภาวการณ์ที่ราคาพลังงานเพิ่มสูงขึ้นจนหลายครอบครัวไม่สามารถจ่ายได้ การปฏิบัติวงเงินช่วยเหลือดังกล่าวยังมีส่วนช่วยควบคุมภาวะเงินเฟ้อ ธำรงการสนับสนุนของประชาชนต่อแผนการช่วยเหลือด้านการเงินให้แก่ยูเครนที่รัฐบาลประเทศยุโรปกำลังยืนหยัดปฏิบัติ

แต่อย่างไรก็ดี บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจของยุโรปเตือนว่า ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบต่อผลกระทบของการอุดหนุนราคาพลังงานในขอบเขตใหญ่ หนึ่งคือ แม้วงเงินช่วยเหลือด้านพลังงานไม่มากเหมือนวงเงินรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 แต่ก็ส่งผลกระทบต่อขอบเขตหนี้สาธารณะและการลงทุน  บรรดานักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารการลงทุน UBS คาดการณ์ว่า ยอดเงินอุดหนุนราคาพลังงานของเยอรมนี    คิดเป็นร้อยละ 2.7  ของจีดีพี ร้อยละ 2.4 ของอัตราจีดีพีของอิตาลีและร้อยละ 1.25  ของอัตราจีดีพีของสเปน สองคือ การช่วยเหลือด้านราคาพลังงานอาจทำให้ปริมาณการใช้พลังงานเพิ่มสูงขึ้น ทำให้วิกฤตด้านพลังงานเลวร้ายลง ในบทวิเคราะห์ที่ลงเมื่อวันที่ 6 กันยายน สถาบันวิจัย Bruegel ที่มีสำนักงานในกรุงบรัสเซลส์ประเทศเบลเยียมชี้ชัดว่า ราคาพลังงานขายส่งใน 6 เดือนที่ผ่านมาสูงกว่า  10 เท่าเมื่อเทียบกับปริมาณเฉลี่ยของอียู ส่วนปริมาณการใช้พลังงานของครอบครัวต่างๆลดลงแค่ร้อยละ 7 เท่านั้น

ในสภาวการณ์ดังกล่าว มีความคิดเห็นที่ว่า ยุโรปต้องตระหนักให้ดีถึงสาเหตุของวิกฤตด้านพลังงานเพื่อมีมาตรการรับมือที่เหมาะสม ยุโรปต้องร่วมกับประชาคมโลกและฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องพยายามแสวงหามาตรการแก้ไขวิกฤตระหว่างยูเครนกับรัสเซียโดยเร็ว ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของวิกฤตด้านพลังงานในปัจจุบัน.

Feedback