(VOVworld) – วิกฤตผู้อพยพในยุโรปกำลังกลายเป็นปัญหาที่ร้อนแรงที่สุดโดยทุกวันมีผู้อพยพนับพันคนเดินทางไปยังเขตชายแดนที่ติดกับประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปหรืออียูและมีการกระทบกระทั่งกันจนบานปลายกลายเป็นความรุนแรง ในขณะเดียวกัน อียูยังคงมีความแตกแยกและขัดแย้งกันอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับโควต้าการรับผู้ลี้ภัย แต่สิ่งที่อันตรายที่สุดคือได้มีนักรบของกลุ่มรัฐอิสลามหรือไอเอสนับพันคนแฝงตัวมากับกลุ่มผู้ลี้ภัยเข้าไปยังอียูซึ่งทำให้ยุโรปต้องเผชิญกับความท้าทายเกี่ยวกับความมั่นคง
ยุโรปเผชิญความท้าทายด้านความมั่นคงจากวิกฤตผู้อพยพ (AP)
|
ประเทศยุโรปกำลังรู้สึกอึดอัดในการแก้ไขปัญหาผู้อพยพเพื่อป้องกันโศกนาฏกรรมที่อาจเกิดขึ้นกับผู้อพยพที่ต้องเดินทางข้ามทะเลและทะเลทรายจากประเทศในแอฟริกาไปยังยุโรปเพื่อแสวงหาชีวิตที่ดีขึ้น นอกจากการมีความวิกตกกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคมที่จะได้รับผลกระทบจากกระแสผู้อพยพแล้ว ยุโรปก็มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงเพราะกลุ่มไอเอสได้ฉวยโอกาสนี้ลอบเข้ายุโรป
ผู้ก่อการร้ายปลอมตัวเป็นผู้ลี้ภัย
จากข่าวกรองระหว่างประเทศปรากฎว่า เมื่อเร็วๆนี้ นักรบของกลุ่มไอเอสได้แฝงตัวเข้ามากับกลุ่มผู้ลี้ภัยเพื่อเข้าไปยังยุโรป คาดว่า ปัจจุบัน มีนักรบไอเอส 4 พันคนได้ปรากฎตัวในประเทศสมาชิกอียูโดยพวกเขาเดินทางผ่านชายแดนตุรกีและได้รับความช่วยเหลือจากขบวนการค้ามนุษย์และได้ปลอมตัวเป็นผู้อพยพเพื่อปะปนไปกับกลุ่มผู้ลี้ภัยที่ผิดกฎหมาย เป้าหมายของกลุ่มไอเอสคือทำการโจมตีก่อการร้ายและจัดตั้งรัฐอิสลามในทั่วโลก ก่อนหน้านั้น กลุ่มไอเอสก็ได้เตือนว่า จะทำให้ยุโรปเต็มไปด้วยผู้อพยพชาวมุสลิมหรือได้ประกาศว่าจะทำให้ถนนหนทางในกรุงปารีสกลายเป็นสุสานที่เต็มไปด้วยซากศ
ปัจจุบัน ไอเอสกำลังควบคุมสถานที่สำคัญหลายแห่งในอิรักและซีเรียและกำลังขยายการเคลื่อนไหวไปยังลิเบียในขณะที่กลุ่มฝ่ายค้านในประเทศนี้กำลังติดหล่มการปะทะเพื่อแย่งชิงอำนาจ กลุ่มไอเอสมีแผนการมานานแล้วที่จะขยายเครือข่ายในยุโรปและวิกฤตผู้อพยพที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งวิกฤตผู้อพยพนี้ถือเป็นโอกาสทองเพื่อให้กลุ่มไอเอสบุกเข้าอียู ในหลายวันที่ผ่านมา ผู้อพยพนับพันคนได้เดินทางไปยังเขตชายแดนเซอร์เบียเพื่อต่อไปยังฮังการีโดยมีเป้าหมายอยู่ที่เยอรมนี ออสเตรียและฟินแลนด์ ในจำนวนผู้อพยพนี้ มีหลายคนที่เป็นแกนนำก่อการชุมนุมและการเดินขบวนประท้วง ที่ประเทศฮังการี ตำรวจได้ปิดล้อมทางหลวงบางสายที่ติดกับเซอร์เบียเพราะกลุ่มผู้อพยพได้ปีนข้ามรั้วเพื่อไปยังถนนที่ตรงไปสู่เมืองหลวง ทำให้เกิดการปะทะหลายครั้งระหว่างตำรวจกับผู้อพยพ ตำรวจในภาคใต้เดนมาร์กก็ต้องปิดทางหลวงหลังจากกลุ่มผู้อพยพเดินทางไปยังเขตชายแดนที่ติดกับสวีเดนซึ่งเป็นประเทศที่มีนโยบายผ่อนปรนเกี่ยวกับปัญหาผู้ลี้ภัยซึ่งในกลุ่มผู้อพยพนั้น ตำรวจยุโรปยากที่จะคัดกรองว่า ใครเป็นสมาชิกของกลุ่มไอเอสและใครเป็นผู้อพยพจริง การที่กลุ่มไอเอสบุกเข้าดินแดนยุโรปอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของการตอบโต้การโจมตีทางอากาศใส่กลุ่มไอเอสของสหรัฐและพันธมิตรยุโรป
ผู้อพยพในยุโรป (Reuters)
|
ยุโรปแตกแยกเกี่ยวกับปัญหาผู้อพยพ
ความเสี่ยงที่กลุ่มนับรบไอเอสปลอมตัวเป็นผู้ลี้ภัยได้ทำให้ประเทศยุโรปมีระเบียบการที่เข้มงวดเกี่ยวกับการเปิดรับผู้อพยพ ประเทศสมาชิกอียูไม่สามารถแสวงหาเสียงพูดเดียวกันในปัญหานี้ได้ ความขัดแย้งและความแตกแยกเกี่ยวกับปัญหาผู้อพยพนับวันมีความรุนแรงมากขึ้นในอียู โดยเฉพาะระหว่างประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทางกับประเทศที่เป็นประตูของกลุ่มผู้อพยพ
เมื่อวันที่ 9 กันยายน คณะกรรมการยุโรปได้ประกาศโควต้ารับผู้อพยพ 1 แสน 2 หมื่นคนเข้าประเทศสมาชิกอียูโดยเยอรมนีจะรับผู้อพยพ 3 หมื่น 1 พันคน ฝรั่งเศสรับ 2 หมื่น 4 พันคนและสเปนรับเกือบ 1 หมื่น 5 พันคน ส่วนหลายประเทศ เช่น ฟิลแลนด์และเดนมาร์กก็มีท่าทีให้การช่วยเหลือผู้อพยพ ในขณะเดียวกันก็มีหลายประเทศในยุโรปได้คัดค้านโดยแสดงความเห็นว่า ไม่ควรมีโควต้าเกี่ยวกับผู้อพยพ แต่ให้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของแต่ละประเทศโดยสาธารณรัฐเช็กได้ยืนกรานไม่สนับสนุนโควต้ารับผู้อพยพ ส่วนฮังการีได้ตำหนิเยอรมนีว่าส่งเสริมให้กระแสผู้อพยพที่ผิดกฎหมายเดินทางยังยุโรป พร้อมทั้งควบคุมเขตชายแดนอย่างเข้มงวด ประเทศนี้ก็ได้ประกาศระงับการส่งรถบัสขนส่งผู้อพยพไปยังเขตชายแดนที่ติดกับออสเตรียและพยายามเสร็จสิ้นการติดตั้งรั้วในเขตชายแดนที่ติดกับเซอร์เบีย ส่วนออสเตรียกำลังวางแผนยุติการเปิดประตูรับผู้อพยพที่ตกค้างในฮังการี อังกฤษได้แสดงความเห็นว่า เนื่องจากไม่ได้เข้าร่วมข้อตกลงเชงเก้นจึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องถึงแผนการจัดสรรโควต้าผู้อพยพของอียู ส่วนส.สของอังกฤษหลายคนก็ได้เตือนว่า ต้องไม่มีความเห็นอกเห็นใจที่จะสร้างอันตรายต่อความมั่นคงของอียู
ในขณะที่ประเทศสมาชิกอียูกำลังมีความขัดแย้งเกี่ยวกับโควต้ารับผู้อพยพ กระแสผู้อพยพ รวมทั้งสมาชิกของกลุ่มไอเอสยังคงหลั่งไหลไปยังยุโรป การที่สมาชิกของกลุ่มไอเอสปรากฎตัวในสถานที่ทุกแห่งในยุโรปก็ถือเป็นระเบิดเวลาที่จะสร้างความท้าทายต่อความมั่นคงของภูมิภาคในอนาคต.