ยุโรปพยายามแก้ไขปัญหากระแสผู้อพยพ

Van - VOV5
Chia sẻ
(VOVWorld)-แผนการ 17 ข้อเพื่อแก้ไขปัญหากระแสผู้อพยพเข้ายุโรปผ่านประเทศต่างๆในเขตบอลข่านได้รับการอนุมัติในการประชุมสุดยอดอย่างไม่เป็นทางการของสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 26 ตุลาคมซึ่งถือเป็นมาตรการแก้ไขในขณธนี้ที่ถึงแม้จะยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมดแต่ก็ช่วยฟื้นฟูความมั่นคงในการควบคุมกระแสผู้อพยพที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองยุติลง
(VOVWorld)-แผนการ 17 ข้อเพื่อแก้ไขปัญหากระแสผู้อพยพเข้ายุโรปผ่านประเทศต่างๆในเขตบอลข่านได้รับการอนุมัติในการประชุมสุดยอดอย่างไม่เป็นทางการของสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 26 ตุลาคมซึ่งถือเป็นมาตรการแก้ไขในขณธนี้ที่ถึงแม้จะยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมดแต่ก็ช่วยฟื้นฟูความมั่นคงในการควบคุมกระแสผู้อพยพที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองยุติลง
ยุโรปพยายามแก้ไขปัญหากระแสผู้อพยพ - ảnh 1
หน่วยกู้ภัยช่วยเหลือผู้อพยพเข้าฝั่ง (Photo AP)
ตั้งแต่ต้นปีมาจนถึงปัจจุบัน ประชาชนในประเทศที่กำลังเกิดสงครามเช่น ซีเรีย อิรักและอัฟกานิสถานกว่า 670,000 คนได้อพยพไปยังยุโรป โดยมีผู้เสียชีวิตประมาณ 3,000 คนในขณะเดินทางผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในขณะที่ยุโรปกำลังจะเข้าสู่ฤดูหนาว อาจจะมีผู้อพยพอีกหลายพันคนต้องเสียชีวิตเมื่อเดินทางผ่านเขตบอลข่านถ้าหากไม่ได้รับการช่วยเหลือจากบรรดาประเทศอียู
ร่วมกันปฏิบัติ
ตามแผนการ 17 ข้อ ผู้นำบรรดาประเทศที่เข้าร่วมการประชุมตกลงกันว่า จะรับผู้อพยพ 1 แสนคนเข้ายุโรปผ่านเส้นทางในเขตบอลข่าน รวมทั้ง 5 หมื่นคนในประเทศกรีซ ส่วนในสัปดาห์หน้าจะมีการส่งเจ้าหน้าที่ 400 คนรักษาความปลอดภัยบริเวณแนวชายแดนประเทศสโลวีเนียเพื่อร่วมมือกับกองกำลังของประเทศนี้ดูแลพื้นที่ที่ติดกับโครเอเชียและออสเตรีย นอกจากนี้ สำนักงานปกป้องชายแดนยุโรป Frontex ยังคงดูแลเขตชายแดนระหว่างกรีซ มาซิโดเนียและแอลเบเนียกับเซอร์เบีย
บรรดาประเทศที่เข้าร่วมการประชุมยังเห็นพ้องกันว่า จะอัพเดทและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์ผู้ลี้ภัยในประเทศตนโดยเฉพาะในเขตชายแดนในทุกๆสัปดาห์ กรีซเป็นประเทศที่อยู่ในศูนย์กลางของมาตรการป้องกันเขตชายแดนอียู ซึ่งต้องมีมาตรการปกป้องเขตนี้และเขตชายแดนที่ติดกับบรรดาประเทศในเขตบอลข่านอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ กรีซก็ต้องผลักดันการก่อสร้างศูนย์รับรองผู้ลี้ภัยเพื่อส่งไปยังประเทศยุโรป ถ้าหากผู้ลี้ภัยคนใดที่ไม่ได้รับอนุญาติให้ลี้ภัยก็จะถูกส่งกลับประเทศ ตามแผนการของอียู อียูจะผลักดันการส่งผู้ลี้ภัยที่ถูกปฏิเสธการเข้าเมืองกลับประเทศโดยเร็ว
แถลงการณ์ในการประชุมสุดยอดอย่างไม่เป็นทางการของสหภาพยุโรปยังระบุว่า ธนาคารเพื่อการลงทุนยุโรปหรือEIB ธนาคารฟื้นฟูและการพัฒนายุโรปหรือEBRDและธนาคารเพื่อการพัฒนาของสภายุโรปหรือCEBก็พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อแก้ไขวิกฤตผู้อพยพ ซึ่งในสัปดาห์นี้ คณะกรรมการยุโรปหรืออีซีจะจัดการพบปะกับตัวแทนสถาบันการเงินดังกล่าวเพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาผู้อพยพ
ยุโรปพยายามแก้ไขปัญหากระแสผู้อพยพ - ảnh 2
พยายามเข้าเมืองมาซิโดเนีย (Photo AFP)
ความลำบากไม่น้อย
ก่อนการประชุมดังกล่าว นาย Herman Van Rompuy อดีตประธานสภายุโรปได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับผลของการประชุมสุดยอดอย่างไม่เป็นทางการนี้เพราะว่ามีแค่ผู้นำอียู 8 คนที่ประชุมกับบรรดาประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกของอียูแต่ทุกการตัดสินใจของอียูจะได้รับการอนุมัติจากทั้ง 28 ประเทศสมาชิก นาย Margaritis schinas โฆษกคณะกรรมการยุโรปได้ให้ข้อสังเกตว่า มีแต่การเข้าถึงร่วมกันในขอบเขตยุโรปและระหว่างประเทศบนพื้นฐานแห่งความร่วมมือเท่านั้นที่จะสามารถแก้ไขปัญหาผู้อพยพได้ รวมทั้งผู้ที่เข้าร่วมก็สงสัยเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของแผนการ 17 ข้อดังกล่าว นาง อังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนีได้ยอมรับว่า มาตรการที่ได้อนุมัติดังกล่าวยังไม่สามารถแก้ไขวิกฤตผู้ลี้ภัยได้อย่างทั่วถึง ส่วนนายกรัฐมนตรีสโลวีเนีย Miro Cerar ได้ย้ำว่า ถ้าหากคำมั่นต่างๆในการประชุมสุดยอดอย่างไม่เป็นทางการดังกล่าวไม่ได้รับการปฏิบัติทันทีตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคมแล้วก็จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ได้ ถ้าเป็นเช่นนั้น สโลวีเนียจะพิจารณาการติดตั้งรั้วตามแนวชายแดนเพื่อยับยั้งผู้อพยพจากโครเอเชียไม่ให้เข้าเมืองต่อไป ในขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรีโครเอเชียได้แสดงความกังวลว่า ถ้าหากผู้อพยพไม่ใช้เส้นทางจากกรีซผ่านมาซิโดเนียไปยังเซอร์เบียแล้วเดินทางต่อไปยังบรรดาประเทศยุโรปเหนือ ปัญหาผู้อพยพก็จะยังคงเหมือนเดิม
นอกจากนี้ เรื่องการเงินก็เป็นปัญหาอีกอย่างหนึ่งในการปฏิบัติแผนการดังกล่าวเพราะว่า ก่อนการประชุมครั้งนี้ ประธานอีซี Jean Claude Juncker ต้องเร่งรัดกิจกรรมการช่วยเหลือฉุกเฉินจากบรรดาประเทศสมาชิกแทนการให้คำมั่นบนกระดาษ ถึงขณะนี้ บรรดาประเทศอียูได้ให้คำมั่นว่า จะสนับสนุนเงิน 2.3 พันล้านยูโรเพื่อแก้ไขวิกฤตผู้อพยพแต่ขณะนี้สามารถสนับสนุได้แค่ 275 ล้านยูโรเท่านั้น ปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่ต้องให้ความสนใจคือ ประชาชนบางประเทศสมาชิกของอียูกำลังต้องรับมือกับกระแสขับไล่ผู้อพยพ ยกตัวอย่างเช่น ที่เยอรมนี ตำรวจได้ทำลายแผนการวางเพลิงศูนย์พักพิงชั่วคราวของผู้อพยพ รวมทั้งจับกุมตัวสมาชิกขบวนการขวาจัดและกลุ่มอาชญากรรมที่วางแผนโจมตีผู้ย้ายถิ่นฐาน
ทั้งนี้และทั้งนั้นได้แสดงให้เห็นว่า วิกฤตผู้อพยพที่รุนแรงที่สุดในยุโรปตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังสร้างแรงกดดันต่อบรรดาประเทศอียู แผนการ 17 ข้อที่อียูได้อนุมัติเมื่อเร็วๆนี้จะเกิดผลก็ต่อเมื่อมีความร่วมมืออย่างจริงจังกันระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการนี้ดูเหมือนว่าทำได้ไม่ง่ายนัก./.

Feedback