ประชาชนไปซื้อสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ต ณ มิลาน ประเทศอิตาลี (AFP) |
ผลการสำรวจความคิดเห็นของบรรดานักเศรษฐศาสตร์ซึ่งจัดโดยนิตยสาร Financial Times แสดงให้เห็นว่า นักเศรษฐศาสตร์หลายคนมีความกังวลเป็นอย่างมาก ควบคู่ไปกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เงินเฟ้อก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่น่ากังวลมากที่สุดต่อศักยภาพฟื้นฟูและเติบโตของ 19 ประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโร ถ้าหากอัตราเงินเฟ้อยังคงสูงกว่าเป้าหมายหลังปี 2022 ธนาคารกลางยุโรปหรือ ECB จะต้องปรับปรุงนโยบายที่เข้มแข็งมากขึ้นซึ่งจะเป็นการเพิ่มภาระให้กับเศรษฐกิจและมีความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงิน
ความกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อ
ตามความเห็นของนาย Laurence Boone หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ขององค์การร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจหรือOECD ภาวะเงินเฟ้อมักเป็นสิ่งที่สร้างความวิตกกังวลต่อทุกคน เช่นเดียวกับหลายที่ทั่วโลก ราคาสินค้าในยุโรปก็เพิ่มสูงขึ้นซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตของประชาชน ค่าอาหารและพลังงานก็เพิ่มขึ้น และคาดว่าราคาสินค้าต่างๆจะดำเนินต่อไป
ในขณะเดียวกัน เมื่อต้นเดือนมกราคมปี 2022 สำนักงานสถิติแห่งยุโรปหรือ Eurostat ได้ประกาศข้อมูลเบื้องต้นที่แสดงให้เห็นว่า อัตราเงินเฟ้อของเขตยูโรโซนเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ร้อยละ 5 ในเดือนธันวาคมปี 2021 นี่เป็นอัตราเงินเฟ้อที่สูงที่สุดในรอบ 25 ปี ตัวเลขดังกล่าวสูงกว่าเป้าหมายอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 2 ที่ ECB ได้กำหนดสำหรับเขตยูโรโซน ในประเทศสมาชิกเขตยูโรโซน อัตราเงินเฟ้อสูงกว่าประเทศในเขตบอลติก โดยเอสโตเนียทำสถิติสูงที่สุด อยู่ที่ร้อยละ 12 รองลงมาคือลิทัวเนีย อยู่ที่ร้อยละ 10.7 สำหรับประเทศใหญ่ๆในเขตยูโรโซน สเปนมีอัตราเงินเฟ้อสูงที่สุด อยู่ที่ร้อยละ 6.7 รองลงมาคือเยอรมนี ซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป
แต่อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางยุโรปยังคงแสดงความเห็นว่า อัตราเงินเฟ้อในระดับนี้จะเป็นสถานการณ์ชั่วคราวเท่านั้นและจะลดลงในปี 2023 หลังจากเพิ่มสูงสุดในปี 2022 คณะกรรมาธิการยุโรปหรือ EC ยังระบุว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นก็เป็นเพียงการเพิ่มขึ้นชั่วคราวเท่านั้น
ธนบัตรและเหรียญยูโร (AFP) |
เปลี่ยนแปลงเพื่อปรับตัว
ตามความเห็นของนาย เปาโล เกนติโลนี กรรมาธิการดูแลปัญหาเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุโรปขึ้นอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดทั้งในและนอกอียูเป็นหลัก ในสภาวการณ์ที่จำนวนผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 ทั่วยุโรปยังคงเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ บางประเทศในยุโรปได้เปลี่ยนวิธีการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 มาเป็นมาตรการเหมือนการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ ที่สเปน นายกรัฐมนตรี เปโดร ซานเชส ได้กล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า ประชาชนจะ "ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับโรคระบาด เช่นเดียวกับที่เคยทำกับไวรัสอื่น ๆ" และย้ำว่า ประเทศควรปรับแนวทางของตนเพื่อรับมือกับโควิด-19 ให้เหมาะสมมากขึ้น นาย โอลิวิเยร์ เวราน รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขของฝรั่งเศสได้กล่าวว่า จำนวนผู้ติดเชื้อและอัตราการฉีดวัคซีนที่อยู่ในระดับสูงของประเทศนี้ก็หมายความว่า การแพร่ระบาดในปัจจุบันอาจเป็นการระบาดระลอกสุดท้าย ส่วนศาสตราจารย์ Graham Medley ผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาจากมหาวิทยาลัยเวชศาสตร์เขตร้อนและสุขอนามัยและระบาดวิทยาลอนดอน ได้เผยว่า ไม่สามารถประกาศใช้สถานการณ์ฉุกเฉินตลอดไปได้ แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขระดับโลกหลายคนแสดงความเห็นว่า ยังเร็วเกินไปที่จะเปลี่ยนแปลงแนวทางรับมือการแพร่ระบาดของโควิด-19 บรรดานักเศรษฐศาสตร์ยังคงระมัดระวังต่อการ “ทำลาย” เศรษฐกิจที่อาจเกิดจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
ท่ามกลางความยากลำบาก ยุโรปยังคงได้รับการระบุเป็นจุดเด่นเกี่ยวกับอัตราการว่างงาน โดยอัตราการว่างงานของเขตยูโรโซนได้ลดลงจากร้อยละ 7.3 ในเดือนตุลาคมปี 2021 ลงเหลือร้อยละ 7.2 ในเดือนพฤศจิกายน 2021 นี่คือการปรับปรุงที่สำคัญเมื่อเทียบกับหนึ่งปีก่อน ซึ่งอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 8.1 ในเขตยูโรโซนและร้อยละ 7.4 ในสหภาพยุโรป ซึ่งแสดงให้เห็นว่า มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดที่รัฐบาลของประเทศเหล่านี้ได้ดำเนินไปนั้นมีประสิทธิภาพ สร้างความมั่นใจในการดำเนินงานของเศรษฐกิจ
แต่อย่างไรก็ตาม การเว้นระยะห่างทางสังคมโดยสมัครใจ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลงและการหยุดชะงักของตลาดแรงงานอันเนื่องมาจากข้อกำหนดการเว้นระยะห่างจะยังคงทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในยุโรปในระยะสั้นชะลอตัวต่อไป.