ผลกระทบในทั่วโลกจากคำสั่งคว่ำบาตรรัสเซีย

Anh Huyen/VOV5
Chia sẻ
(VOVworld) –  การที่ค่าเงินรูเบิลรัสเซียตกลงอย่างต่อเนื่องในหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาและเศรษฐกิจรัสเซียกำลังเผชิญกับภาวะซบเซาเนื่องจากมาตรการคว่ำบาตรทางการเงินของประเทศในตะวันตกล้วนเป็นปัญหาที่เห็นได้ชัดเจนในปัจจุบันแต่สิ่งที่ประชามติให้ความสนใจในขณะนี้คือปัญหาเศรษฐกิจของรัสเซียจะส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกในเวลาข้างหน้าเช่นไร

(VOVworld) –  การที่ค่าเงินรูเบิลรัสเซียตกลงอย่างต่อเนื่องในหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาและเศรษฐกิจรัสเซียกำลังเผชิญกับภาวะซบเซาเนื่องจากมาตรการคว่ำบาตรทางการเงินของประเทศในตะวันตกล้วนเป็นปัญหาที่เห็นได้ชัดเจนในปัจจุบันแต่สิ่งที่ประชามติให้ความสนใจในขณะนี้คือปัญหาเศรษฐกิจของรัสเซียจะส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกในเวลาข้างหน้าเช่นไร

ผลกระทบในทั่วโลกจากคำสั่งคว่ำบาตรรัสเซีย - ảnh 1
ค่าเงินรูเบิลของรัสเซียตกลงอย่างต่อเนื่อง(Photo: baomoi.com )

ก่อนปี๒๐๑๔ ไม่มีสัญญาณบ่งบอกว่า เศรษฐกิจของรัสเซียจะเผชิญกับภาวะซบเซา หากตรงกันข้าม ทุกดัชนีต่างแสดงให้เห็นถึงการเงินที่เข้มแข็งมั่นคง แต่นับตั้งแต่เดือนมิถุนายนปี๒๐๑๔ ราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ลดลงครึ่งหนึ่งเนื่องจากคำสั่งคว่ำบาตรของประเทศตะวันตกต่อรัสเซียเนื่องจากปัญหาในยูเครนและองค์การประเทศส่งออกน้ำมันหรือโอเปคปฏิเสธการลดปริมาณการผลิตทำให้เศรษฐกิจรัสเซียที่พึ่งพาการส่งออกพลังงานประสบความยากลำบาก คำสั่งคว่ำบาตรนำเข้าอาหารทำให้ดัชนีราคาผู้บริโภคหรือซีพีไอในช่วงเดือนปลายปี๒๐๑๔ของรัสเซียอยู่ที่ร้อยละ๘ ค่าเงินรูเบิลที่ตกต่ำลงทำให้มูลค่าหนี้ที่คิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐของสถานประกอบการและธนาคารต่างๆของรัสเซียเพิ่มขึ้น เงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ๑๐ และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นในปี๒๐๑๕

ผลกระทบจากคำสั่งคว่ำบาตร

เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า มาตรการคว่ำบาตรทางการเงินของประเทศตะวันตกกำลังส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจรัสเซียแต่รัสเซียมิใช่เป็นประเทศเดียวที่ต้องเผชิญกับความซบเซาทางเศรษฐกิจเนื่องจากปัญหาค่าเงินเพราะมีการพยากรณ์ว่า หลายประเทศในภูมิภาคจะประสบความยากลำบากทางเศรษฐกิจเช่นกันโดยตลาดการเงินในเอเชียกลางและยุโรปตะวันออกจะได้รับผลกระทบเป็นกลุ่มแรก ในทางเป็นจริง เมื่อค่าเงินรูเบิลตก บางประเทศในภูมิภาคต้องเร่งดำเนินมาตรการแทรกแซงตลาดการเงินเพื่อปกป้องค่าเงินภายในประเทศหลังจากที่ต้องเผชิญกับการถอนเงินลงทุนของรัสเซีย ส่วนธนาคารในสหภาพยุโรปหรืออียูก็มีสัญญาณเตือนเนื่องจากธนาคารหลายแห่งในประเทศสมาชิกมีการปล่อยเงินกู้ให้รัสเซีย นอกจากนั้น เบลารุสและคาซักสถานก็เป็นสองประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดเนื่องจากมีความ สัมพันธ์ทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมืองกับรัสเซียโดยเมื่อต้นปีนี้ ทั้งสามประเทศได้ลงนามในข้อตกลงจัดตั้งสหภาพเศรษฐกิจเอเชีย ยุโรปและตามการคำนวณของธนาคารเพื่อการพัฒนาและบูรณะยุโรปหรืออีบีอาร์ดีพบว่า  จีดีพีครึ่งหนึ่งของเบลารุสเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจรัสเซียผ่านความสัมพันธ์ทางการค้า เงินตราต่างประเทศที่ชาวเบลารุสที่อาศัยในรัสเซียส่งกลับมา และทรัพย์สินของธนาคาร ปัจจุบัน รัสเซียเป็นตลาดจำหน่ายสินค้าส่งออกของเบลารุสร้อยละ๔๐ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เศรษฐกิจเบลารุสถูกผลกระทบจากความผันผวนของรัสเซีย

นอกจากนี้ก็มีบางประเทศเล็กๆในเอเชียกลาง เช่น อาร์เมเนีย  อูสเบกีสถาน จอร์เจียและมอลโดวาก็ถูกผลกระทบโดยตรงเนื่องจากเงินตราต่างประเทศส่วนใหญ่ของประเทศเหล่านี้มาจากการส่งกลับประเทศของแรงงานที่ทำงานในรัสเซีย เศรษฐกิจรัสเซียซบเซา ดังนั้นการที่งานทำลดลง ค่าเงินรูเบิลอ่อนค่าจึงทำให้จำนวนเงินที่ส่งกลับจากรัสเซียลดลง

ในขณะเดียวกัน เศรษฐกิจต่างๆในอียูก็ไม่ได้รอดพ้นจากผลกระทบของปัญหาดังกล่าวเพราะอียูเป็นหุ้นส่วนการค้าและแหล่งจัดสรรเงินทุนจากต่างประเทศรายใหญ่ที่สุดของรัสเซีย เมื่ออียูเพิ่มรายชื่อบริษัทของรัสเซียที่ถูกคว่ำบาตร ผลกระทบที่เศรษฐกิจยุโรปได้รับก็ปรากฎให้เห็นอย่างชัดเจนโดยหลังจากที่คำสั่งคว่ำบาตรมีผลบังคับใช้๑เดือน การส่งออกของอียูไปยังรัสเซียลดลงเกือบ๒พันล้านเหรียญสหรัฐหรือคิดเป็นร้อยละ๑๙

ผลกระทบต่อระเบียบการบริหารของโลก

หนึ่งในจุดเด่นของระเบียบโลกหลังยุคสงครามโลกครั้งที่๒คือการจัดตั้งคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟเพื่อช่วยสร้างเสถียรภาพทางการเมืองและการเงินทั่วโลก ในช่วงปี๙๐ รัสเซียได้เข้าเป็นสมาชิกของไอเอ็มเอฟและมีที่นั่งในคณะผู้อำนวยการ รัสเซียเป็นหนึ่งใน๕ประเทศสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกของกลุ่มจี๘ ประกอบด้วย๗ประเทศอุตสาหกรรมพัฒนาและรัสเซีย สมาชิกของกลุ่มเศรษฐกิจพัฒนาและเกิดใหม่ชั้นนำในโลกหรือจี๒๐ แต่กลุ่มจี๘ได้ระงับสมาชิกภาพของรัสเซีย ส่วนกลุ่มจี๒๐ลดระดับของรัสเซียเป็นผู้สังเกตุการณ์ในการประชุมสุดยอด ที่จัดขึ้น ที่ประเทศออสเตรเลีย เมื่อเร็วๆนี้ เป็นอันว่า ระเบียบโลกกำลังมีการเปลี่ยนแปลงและรัสเซียค่อยๆสูญเสียสถานะเนื่องจากคำสั่งคว่ำบาตรของประเทศยุโรป

สาเหตุสำคัญของความตึงเครียดในปัจจุบันคือ วิกฤติยูเครนยังไม่ได้รับการแก้ไข ในขณะที่มาตรการคว่ำบาตรของฝ่ายต่างๆไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจรัสเซียเท่านั้นหากประเทศสหภาพยุโรปและเศรษฐกิจโลกก็ถูกผลกระทบเช่นกันและจนถึงปัจจุบัน หลายประเทศยุโรปได้เล็งเห็นถึงผลกระทบจากคำสั่งคว่ำบาตรเพราะความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และการค้าที่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน ทั้งนี้และทั้งนั้นแสดงให้เห็นว่า คำสั่งคว่ำบาตรที่สร้างผลพวงในทางลบนั้นอาจทำให้ความพยายามในการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลกประสบความล้มเหลว./.

Feedback