ประชาชนมีบทบาทสำคัญในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

Hương Giang-Hong Vân
Chia sẻ
(VOVworld) –  วันที่๒มกราคม  เวียดนามได้เริ่มการทำประชาธิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญปี๑๙๙๒ฉบับแก้ไขโดย ประชาชนทุกชั้นชนภายในประเทศและชาวเวียดนามที่อาศัยในต่างประเทศ สำนักงานและองค์การตั้งแต่ส่วนกลางถึงภูมิภาคต่างสามารถแสดงความคิดเห็นต่อ เนื้อหาทั้ง๘ส่วนของร่างรัฐธรรมนูญปี๑๙๙๒ฉบับนี้ รวมทั้ง เนื้อหาสำคัญคือระบอบการเมือง สิทธิมนุษยชน สิทธิและภาระหน้าที่พื้นฐานของพลเมือง การพิทักษ์รักษาปิตุภูมิและกลไกบริหารของรัฐ

(VOVworld) –  วันที่๒มกราคม  เวียดนามได้เริ่มการทำประชาธิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญปี๑๙๙๒ฉบับแก้ไขโดยประชาชนทุกชั้นชนภายในประเทศและชาวเวียดนามที่อาศัยในต่างประเทศ สำนักงานและองค์การตั้งแต่ส่วนกลางถึงภูมิภาคต่างสามารถแสดงความคิดเห็นต่อเนื้อหาทั้ง๘ส่วนของร่างรัฐธรรมนูญปี๑๙๙๒ฉบับนี้ รวมทั้ง เนื้อหาสำคัญคือระบอบการเมือง สิทธิมนุษยชน สิทธิและภาระหน้าที่พื้นฐานของพลเมือง การพิทักษ์รักษาปิตุภูมิและกลไกบริหารของรัฐ

ประชาชนมีบทบาทสำคัญในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ - ảnh 1
รัฐธรรมนูญของเวียดนาม(Photo:Internet)

 คำสั่งของกรมการเมืองพรรคที่ท่านNguyễn Phú Trọngเลขาธิการใหญ่คอมมิวนิสต์เวียดนามลงนามอนุมัติเมื่อวันที่๒๘ธันวาคมที่ผ่านมาและมติของรัฐสภาที่ท่านNguyễn Sinh Hùng ประธานรัฐสภาลงนามประกาศใช้ในวันเดียวกันต่างระบุว่า การทำประชาพิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญปี๑๙๙๒ฉบับแก้ไขเป็นการดำเนินชีวิตทางการเมืองที่สำคัญของพรรค  ประชาชนทุกชั้นชนและทั้งระบบการเมืองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสิทธิการเป็นเจ้าของ สติปัญญาและความกระตือรือร้นของประชาชน ปลูกฝังจิตสำนึกและความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล สำนักงานและองค์การต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ และกฏหมายเพื่อมีส่วนร่วมสร้างสรรค์นิติรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ท่านPhan Trung Lý หัวหน้าคณะกรรมาธิการกฏหมายของรัฐสภา หัวหน้าคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญปี๑๙๙๒ฉบับแก้ไขกล่าวว่า ร่างรัฐธรรมนูญปี๑๙๙๒ฉบับแก้ไขเป็นการตกผลึกของกระบวนการทำงานของบรรดาผู้เชี่ยวชาญ และนักวิชาการจากส่วนกลางถึงส่วนภูมิภาคผ่านการสรุปผลการปฏิบัติรัฐธรรมนูญ การรับฟังความคิดเห็นต่างๆ โดยเฉพาะ ความคิดเห็นของผู้แทนรัฐสภาในการประชุมที่ผ่านมาและ ยืนยันว่า ประชาชนมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการร่างและแก้ไขรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆของเวียดนาม เช่น รัฐธรรมนูญปี๑๙๕๙ รัฐธรรมนูญ๑๙๘๐ รัฐธรรมนูญปี๑๙๙๒ และรัฐธรรมนูญปี๑๙๙๒ ฉบับแก้ไขปี๒๐๐๑ต่างได้รับการทำประชาธิจารณ์  ครั้งนี้ ความเห็นจากการทำประชาพิจารณ์จะได้รับการรวบรวมอย่างสมบูรณ์แบบและถูกต้อง เพื่อนำไปพิจารณาและอภิปรายอย่างเคร่งครัดเพื่อปรับปรุงร่างรัฐธรรมนูญปี๑๙๙๒ให้มีความสมบูรณ์ รองศาสตราจารย์ ดร.Nguyễn Viết Thông สมาชิกของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญปี๑๙๙๒ฉบับแก้ไขได้กล่าวว่า  การทำประชาพิจารณ์อย่างกว้างขวางเป็นการยืนยันอำนาจของประชาชนตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ“รัฐธรรมนูญปี๑๙๔๖ ที่ประธานโฮจิมินห์ชี้นำการร่างระบุว่า ประชาชนมีสิทธิเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นและตัดสินใจต่อร่างรัฐธรรมนูญ มาตราที่๒ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันระบุว่า อำนาจรัฐเป็นของประชาชนซึ่งการยืนยันเช่นนี้มีความถูกต้องเพราะประชาชนไม่เพียงแต่ปฏิบัติอำนาจรัฐผ่านรัฐสภาและสภาประชาชนเท่านั้นหากประชาชนยังปฏิบัติอำนาจรัฐผ่านสำนักงานอื่นๆ”   

ประชาชนมีบทบาทสำคัญในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ - ảnh 2
ท่านPhan Trung Lý หัวหน้าคณะกรรมาธิการกฏหมายของรัฐสภา หัวหน้าคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญปี๑๙๙๒ฉบับแก้ไข(Photo:Internet)

            คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญปี๒๙๙๒ฉบับแก้ไขเผยว่า ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นโดยตรงหรือผ่านเอกสารที่ส่งถึงหน่วยงานและองค์การต่างๆ อภิปรายในการประชุม การสัมมนา การเสวนาหรือผ่านเว็บไซต์ของรัฐสภาตามที่อยู่ http://duthaoonline.quochoi.vn.และกลไกสื่อสารมวลชน สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย แนวร่วมปิตุภูมิเวียดนาม องค์กรการเมืองสังคม องค์กรการเมืองสังคมอาชีพ องค์กรสังคมอาชีพและองค์กรสังคมอื่นๆก็จะทำประชาพิจารณ์ นายVũ Trong Kim รองประธาน เลขาธิการคณะกรรมการแนวร่วมปิตุภูมิเผยว่า แนวร่วมปิตุภูมิจะจัดทำประชาพิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญปี๑๙๙๒ฉบับแก้ไขในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น จัดการสัมนนา เสวนาในหัวข้อเนื้อหาต่างๆ รณรงค์ให้ประชาชนทุกชั้นชน ผู้ทรงคุณวุติ ปัญญาชน ผู้ที่มีสมณศักดิ์และชาวเวียดนามที่อาศัยในต่างประเทศแสดงความคิดเห็นต่อเนื้อหาทุกประการของร่างรัฐธรรมนูญปี๑๙๙๒ฉบับแก้ไขอย่างตรงไปตรงมา            การทำประชาพิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญปี๑๙๙๒ฉบับแก้ไขจะได้รับการปฏิบัติในเวลา๓เดือนระหว่างวันที่๒มกราคมถึงวันที่๓๑มีนาคมปี๒๐๑๓ด้วยความหวังว่า นี่จะเป็นการดำเนินชีวิตทางการเมืองและนิตินัยที่สำคัญและกว้างขวางในหมู่ประชาชนเพื่อให้ทุกคนเข้าร่วมสร้างสรรค์นิติรัฐสังคมนิยม ของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน./.


 

 

Feedback