(VOVworld) – วันที่ 31 ธันวาคม ประชาคมอาเซียนได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นนิมิตหมายที่สำคัญในกระบวนการและพัฒนาของสมาคมอาเซียนในตลอด 5 ทศวรรษที่ผ่านมา การเติบโตของอาเซียนได้เอื้อประโยชน์เป็นอย่างมากต่อภูมิภาคและแต่ละประเทศสมาชิก สำหรับเวียดนาม แม้ได้มีการเตรียมพร้อมมานานแล้ว แต่ในการผสมผสานเข้ากับอาเซียน การเปลี่ยนจากฐานะสมาชิกสมาคมกลายเป็นสมาชิกประชาคมนั้นก็สร้างความท้าทายต่างๆที่ทำให้ต้องเพิ่มความพยายามในการผสมผสานมากขึ้น
ประชาคมอาเซียน – แปรความคิดให้เป็นการปฏิบัติ
|
การจัดตั้งประชาคมอาเซียนจะสร้างบรรยากาศที่อำนวยความสะดวกมากขึ้นต่อภารกิจการสร้างสรรค์ พัฒนาและปกป้องประเทศ โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ ที่ช่วยให้เวียดนามมีโอกาสเข้าถึงตลาดที่กว้างใหญ่มากขึ้น ทั้งตลาดอาเซียนที่มีประชากร 625 ล้านคนและตลาดนอกภูมิภาค
โอกาศและความท้าทาย
มีผู้เชี่ยวชาญหลายคนได้วิเคราะห์และประเมินโอกาสของเวียดนามเมื่อเข้าเป็นสมาชิกของประชาคมอาเซียน นั่นคือโอกาสเกี่ยวกับตลาด แรงงานและการดึงดูดเงินลงทุนภายในอาเซียนและนอกประชาคมฯ พร้อมทั้งโอกาสการใช้อาเซียนเป็นพื้นฐานเพื่อเข้าถึงตลาดและเงินทุนจากหุ้นส่วนภายนอก เช่น สหรัฐ อียูและญี่ปุ่น เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้น ผลประโยชน์สูงที่สุดที่เวียดนามจะได้รับเมื่อเข้าร่วมประชาคมอาเซียนคือความมีเสถียรภาพของเศรษฐกิจ เอกอัครราชทูตหวูดังหยุง หัวหน้าคณะผู้แทนเวียดนามประจำอาเซียนเผยว่า “อาเซียนมีกลไกปกป้องเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกให้มีเสถียรภาพจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ เราจะมีโอกาสปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจ เพราะการเข้าร่วมประชาคมอาเซียนกดดันให้พวกเราต้องปรับปรุงระเบียบเศรษฐกิจเชิงตลาดให้มีความสมบูรณ์ เปิดกว้างและสอดคล้องกับธรรมเนียมปฏิบัติสากล”
เราสามารถเห็นได้ชัดเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่เวียดนามจะได้รับจากประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ แต่อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ การผสมผสานเข้ากับอาเซียนของเวียดนามเป็นเพียงการผสมผสานในระดับรัฐบาลและสำนักงานที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ส่วนสถานประกอบการยังไม่มีการเข้าร่วมอย่างเข้มแข็ง รองศ.ดร.ฉิงถิทูเฮือง รองคณบดีสาขาวิชาเศษฐศาสตร์และธุรกิจต่างประเทศ มหาวิทยาลัยการค้าต่างประเทศฮานอยเผยว่า “สถานประกอบการเวียดนามมีโอกาสเข้าถึงตลาดที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่อยู่ข้างๆเรา ดังนั้นต้องพยายามเจาะให้ได้ แต่ปัจจุบันนี้ สถานประกอบการเวียดนามก็ยังไม่สามารถมองเห็นความสำคัญและตระหนักเกี่ยวกับโอกาสนี้ได้อย่างสมบูรณ์”
นายเลกงฝุง อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามก็ได้แสดงความคิดเห็นเช่นเดียวกันโดยยืนยันว่า ควบคู่กับนโยบายและปฏิบัติการต่างๆของรัฐบาล สถานประกอบการเองก็ต้องเป็นฝ่ายรุกในกระบวนการนี้ ซึ่งก่อนอื่นคือต้องตระหนักถึงผลประโยชน์และโอกาสที่จะได้รับจากประชาคมอาเซียน “เพื่อแก้ไขปัญหานี้ เราต้องผลักดันการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับความหมายและผลประโยชน์ที่ได้รับจากความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอาเซียน นอกจากนี้ต้องเปลี่ยนโครงสร้าง พัฒนาการสอนอาชีพในขั้นพื้นฐานเพื่อสามารถผสมผสานเข้ากับเศรษฐกิจต่างๆในภูมิภาค”
ในขณะเดียวกัน เอกอัครราชทูตหวูดังหยุง หัวหน้าคณะผู้แทนเวียดนามประจำอาเซียนได้ระบุถึงจุดอ่อนของเวียดนามที่ต้องแก้ไขในการผสมผสานเข้ากับอาเซียน พร้อมทั้งย้ำถึงมาตรฐานด้านคุณภาพของแหล่งบุคลากร โดยเฉพาะการใช้ภาษาต่างประเทศของแรงงานเวียดนาม “ผมขอย้ำถึงการศึกษาภาษาอังกฤษของแรงงานเวียดนาม ทำไมแรงงานชาวฟิลิปปินส์สามารถหางานทำได้ทั่วโลกและหลายประเทศก็อยากรับแรงงานชาวฟิลิปปินส์เข้าทำงานนั้นก็เพราะว่า แรงงานฟิลิปปินส์ แม้กระทั่งเป็นแรงงานไร้ฝีมือก็สามารถพูดภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว ดังนั้นเพื่อสามารถแข่งขันได้ในภูมิภาค แรงงานเวียดนามต้องรู้ภาษาอังกฤษเพื่อใช้สื่อสาร ปัจจุบันอัตราผู้ใช้ภาษาอังกฤษในเวียดนามยังต่ำกว่าหลายประเทศในภูมิภาค”
ผู้นำอาเซียนลงนามในการจัดตั้งประชาคมอาเซียนเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา
|
แปรความคิดให้เป็นการปฏิบัติ
ประชาคมอาเซียนจะเปิดโอกาสแห่งการพัฒนามากมายให้แก่เวียดนามและบรรดาประเทศสมาชิก ทั้งในด้านการเมือง – ความมั่นคง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมสังคม แต่ก็จะมีความท้าทายไม่น้อย ยิ่งมีความรู้อย่างถูกต้องเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งมีการปฏิบัติที่สอดคล้องเพื่อใช้โอกาสและแก้ไขความท้าทาย พร้อมกับประชาคม ในระดับชาติ เวียดนามกำลังผลักดันการประชาสัมพันธ์ ยกระดับทักษะความสามารถของระบบเศรษฐกิจ สถานประกอบการ เจ้าหน้าที่และประชาชนเมื่อเข้าร่วมประชาคมอาเซียนเพื่อลดช่องว่างการพัฒนากับภูมิภาคและร่วมกับประเทศต่างๆมีส่วนร่วมต่อวิสัยทัศน์การพัฒนาประชาคมอาเซียนหลังปี 2015 เพื่อเพิ่มความเชื่อมโยงภายในอาเซียนมากขึ้น.