ปกป้องสิทธิผลประโยชน์ของแรงงานต่างด้าวในกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มทีวี

Anh Huyen - VOV5
Chia sẻ
(VOVWORLD) - ท่ามกลางยุคโลกาภิวัตน์และการผสมผสานเข้ากับกระแสโลกที่นับวันกว้างลึกมากขึ้น แรงงานต่างด้าวถือเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะมีส่วนร่วมต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของทั้งประเทศที่ส่งแรงงานและประเทศที่รับแรงงาน ดังนั้น บรรดาประเทศอาเซียน โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มซีแอลเอ็มทีวี ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ ไทยและเวียดนามนับวันให้ความสนใจถึงการปกป้องสิทธิผลประโยชน์ที่ชอบธรรมของแรงงานต่างด้าวมากขึ้น โดยถือเป็นปัจจัยหลักในกระบวนการสร้างสรรค์ประชาคม
ปกป้องสิทธิผลประโยชน์ของแรงงานต่างด้าวในกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มทีวี - ảnh 1ภาพการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานซีแอลเอ็มทีวีครั้งที่ 3 (Photo VGP)

จากการมีพรมแดนทางภูมิศาสตร์ติดกันและมีความแตกต่างในระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ ประชาชนในจังหวัดชายแดนของกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ ไทยและเวียดนามได้เข้าไปหางานทำในประเทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่อง   ดังนั้นเพื่อบริหารแรงงานต่างด้าว ประเทศไทยได้เสนอความคิดริเริ่มจัดการประชุมรัฐมนตรีแรงงานและการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเกี่ยวกับแรงงานซีแอลเอ็มทีวี โดยการประชุมครั้งแรกได้มีขึ้นเมื่อปี 2015 และต่อจากนั้นในทุกๆ 2 ปี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานของ 5 ประเทศนี้ได้ประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับนโยบายสำหรับแรงงานต่างด้าวและประเด็นที่เกี่ยวข้องต่างๆ เช่น ประกันสังคมและการพัฒนาฝีมือแรงงาน

ส่งเสริมการควบคุมแรงงานอพยพ

ถึงแม้แต่ละประเทศจะมีกฎหมายและระดับการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมที่แตกต่างกัน แต่กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ ไทยและเวียดนามก็ยังมีความคล้ายคลึงกันในหลายด้านที่สามารถส่งเสริมความร่วมมือเพื่อปกป้องสิทธิผลประโยชน์และช่วยให้แรงงานต่างด้าวได้รับสวัสดิการสังคมในขณะที่ทำงานในต่างประเทศ

ดังนั้น การขยายความร่วมมือ แลกเปลี่ยนข้อมูล และร่วมกันจัดทำกลไกบริหารแรงงานต่างด้าวในสภาวการณ์การผสมผสานเข้ากับกระแสโลกของบรรดาประเทศอาเซียนจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น โดยในการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานซีแอลเอ็มทีวีครั้งที่ 3 ที่มีขึ้น ณ เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชาเมื่อวันที่ 17 ที่ผ่านมา นายหยวานเหมาเหยียบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ทหารทุพพลภาพและสังคมเวียดนามได้เผยว่า กลไกเพิ่มการปกป้องและสนับสนุนแรงงานต่างด้าวระหว่าง 5 ประเทศสมาชิกของซีแอลเอ็มทีวีได้เกิดประสิทธิภาพ โดยเฉพาะความคล่องตัวในการปฏิบัติงานด้านสวัสดิการสังคมระหว่างประเทศสมาชิกและนโยบายเชื่อมโยงด้านประกันสังคม            “ความแตกต่างเกี่ยวกับระดับการพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละประเทศได้ทำให้ประชาชนในเขตชายแดนอพยพไปยังประเทศเพื่อนบ้านเพื่อหางานทำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานไร้ฝีมือ ดังนั้น เพื่อสามารถบริหารแรงงานเหล่านี้ได้ ในการประชุมครั้งนี้ เราต้องหารือเกี่ยวกับการค้ำประกันด้านสวัสดิการสังคม โดยเฉพาะการใช้บริการประกันสังคมของแรงงานระหว่างประเทศต่างๆ”

ในเวลาที่ผ่านมา รัฐบาลประเทศต่างๆในอาเซียน โดยเฉพาะ 5 ประเทศในกลุ่มซีแอลเอ็มทีวี ได้จัดทำระบบดิจิทัลเพื่อบริหารแรงงานต่างด้าวและให้บริการในด้านที่เกี่ยวข้องถึงการใช้ระบบดิจิทัล เช่น การฝึกอบรมให้แรงงานก่อนไปทำงานในต่างประเทศ การมอบบัตรอัจฉริยะให้แก่แรงงานต่างด้าวทั้งก่อนไปทำงานในต่างประเทศ ในขณะที่กำลังทำงานในต่างประเทศและหลังจากกลับประเทศเพื่อช่วยให้แรงงานสามารถเข้าถึงประกันสังคมและการบริการต่างๆ นาย หยวานเหมาเหยียบเผยต่อไปว่า            “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลนับวันเพิ่มมากขึ้นในด้านต่างๆทั่วโลก ซึ่งในด้านงานทำ เทคโนโลยีดิจิทัลมีบทบาทสำคัญเพื่อผลักดันงานทำอย่างยั่งยืนและปกป้องสิทธิผลประโยชน์ของแรงงานต่างด้าว เทคโนโลยีดิจิทัลจะช่วยให้ผู้ใช้แรงงานมีการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพและมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับสิทธิของตน ที่ประเทศเวียดนาม   ได้มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อบริหารแรงงานเวียดนามที่ไปทำงานในต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ”

เวียดนามร่วมมืออย่างเข้มแข็งในการปกป้องแรงงานต่างด้าว

ขณะนี้ มีแรงงานเวียดนามประมาณ 76,000 คนกำลังทำงานในกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มทีวี และจำนวนแรงงานต่างด้าวที่มาทำงานในเวียดนามก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระทรวงแรงงาน ทหารทุพพลภาพและสังคมได้จัดทำร่างเอกสารเกี่ยวกับการบังคับให้แรงงานต่างชาติที่มาทำงานในเวียดนามต้องซื้อประกันสังคม นอกจากนี้ เวียดนามได้ส่งเสริมการลงนามข้อตกลงทวิภาคีเกี่ยวกับประกันสังคมกับประเทศต่างๆ มุ่งสู่การลงนามข้อตกลงพหุภาคี ขยายรูปแบบการชำระเพื่อช่วยให้แรงงานได้รับประโยชน์จากสวัสดิการสังคม

การให้ความสนใจ ค้ำประกันสิทธิและผลประโยชน์ขั้นพื้นฐานให้แก่แรงงานต่างด้าวอาเซียนเพื่อมุ่งสู่มาตรฐานสากลกำลังได้รับการปฏิบัติในกลุ่มประเทศอาเซียน ส่วนบรรดาประเทศซีแอลเอ็มทีวีมีความคล้ายคลึงกันมาก จึงสามารถขยายความร่วมมือเพื่อปกป้องสิทธิผลประโยชน์ที่ชอบธรรมให้แก่แรงงานต่างด้าว ซึ่งสำคัญที่สุดคือการช่วยให้คนกลุ่มนี้ได้รับประโยชน์จากสวัสดิการสังคมในขณะที่ทำงานในต่างประเทศ ซึ่งมีส่วนร่วมต่อการปฏิบัติเป้าหมายร่วมกันของอาเซียนคือ สร้างสรรค์ประชาคมที่มุ่งสู่ประชาชนและถือประชาชนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง.

Feedback