(VOVworld)- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐหรือดีโอซีได้ออกมติเก็บภาษีต่อต้านการขายทุ่มตลาดที่สูงกว่าหลายเท่าต่อผลิตภัณฑ์ปลาสวายและปลาบาซาชำแหละแช่แข็งที่นำเข้าจากเวียดนามในการสอบสวนด้านภาษีต่อปลานำเข้ารอบที่8 ซึ่งนับเป็นการตัดสินใจที่อยุติธรรมและสร้างอุปสรรคให้แก่สถานประกอบการส่งออกปลาที่ไม่มีเกล็ดของเวียดนามโดยเฉพาะการที่ดีโอซีได้ปรับเปลี่ยนประเทศที่3ที่ใช้เป็นแหล่งอ้างอิงข้อมูลจากบังกลาเทศมาเป็นอินโดนีเซีย
ตามมติของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐ อัตราภาษีป้องกันการทุ่มตลาดต่อผลิตภัณฑ์ปลาสวายและปลาบาซาชำแหละแช่แข็งที่นำเข้าจากเวียดนามจะเพิ่มขึ้นหลายสิบเท่าเช่น บริษัทหวิงหว่าน ซึ่งเป็นสถานประกอบการที่มีรายได้จากการส่งออกสูงที่สุดในด้านนี้และเคยได้รับสิทธิด้านภาษีร้อยละ0เมื่อส่งออกเข้าตลาดสหรัฐแต่ต่อไปนี้จะต้องเสียภาษีร้อยละ0.19เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัม ส่วนบริษัทอีก16แห่งของเวียดนามเช่น อาวีฟีสห์ หรือโดซีฟิสห์ ก็จะต้องเสียภาษีตั้งแต่ร้อยละ0.77-3.87เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัม ซึ่งทั้งนี้โดยเฉลี่ยเเล้วผู้เลี้ยงปลาเวียดนามขาดทุนตั้งแต่1-3พันด่งหรือประมาณ0.1-0.2เหรียญสหรัฐต่อปลา1กิโลกรัมเนื่องจากต้นทุนสูงขณะที่ราคาขายตกต่ำ หากราคาส่งออกจะลดลงไปอีกบวกกับอัตตราภาษีป้องกันการขายทุ่มตลาดสูงจะทำให้ผู้ผลิตปลาในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเสียหายซ้ำแล้วซ้ำอีกและอาจจะต้องยุบกิจการเนื่องจากขาดทุน ทั้งนี้ข่าวเกี่ยวกับการที่กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเก็บภาษีป้องกันการขายทุ่มตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ปลาสวายและปลาบาซาชำแหละที่นำเข้าจากเวียดนามได้สร้างความกังวลเป็นอย่างมากต่อผู้เลี้ยงปลา นายเจิ่นวันจูง ชาวบ้านเจาฟู๊ จ.อานยาง เผยว่า หากขาดทุนติดต่อกันสองปีเกษตรกรอย่างเราก็ทนไม่ไหว บางคนต้องเลิกกิจกรรมแล้วส่วนบางครอบครัวยังพยายามสู้ต่อไป ปัจจุบันราคาอาหารปลา ราคาปลาพันธุ์หรือดอกเบี้ยธนาคารได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้การเลี้ยงปลาขาดทุน
การตัดสินใจครั้งนี้ของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐได้อิงตามผลการวิจัยด้านราคาของรัฐบาลอินโดนีเซียเพื่อคำนวนราคาปลาสวายที่เป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตปลาชำแหละแช่แข็ง โดยอาศัยเพียงการคำนวนแบบถัวเฉลี่ยทั้งประเทศที่เอาข้อมูลจากบางท้องถิ่นมาเป็นฐานข้อมูลหลักเท่านั้นซึ่งไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นจริง นายด่าวเจิ่นเญิน อัครราชทูตฝ่ายการพาณิชย์เวียดนามประจำสหรัฐได้กล่าวว่า ผมเห็นว่าต้องมีการโน้มน้าวอย่างเข้มแข็งจากกลุ่มประโยชน์บางกลุ่มของสหรัฐเช่นสมาพันธ์ปลาที่ไม่มีเกล็ดสหรัฐได้พยายามโน้มน้าวให้มีการปรับเปลี่ยนการอ้างแหล่งข้อมูลจากประเทศที่3คือบังกลาเทศมาเป็นอินโดนีเซียเพื่อเพิ่มภาษี ขัดขวางการส่งออกปลาของเวียดนามเข้าตลาดสหรัฐ ในการพิจารณาครั้งก่อนๆ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเองเป็นฝ่ายคัดค้านการเลือกอินโดนีเซียเป็นประเทศที่3ในการคำนวนมูลค่าต้นทุนการผลิตปลาสวายของเวียดนามเพราะประเทศนี้ไม่มีข้อมูลเพียงพอทั้งด้านราคาและการเงิน นอกจากนี้อินโดนีเซียเป็นประเทศนำเข้าปลาสวายแช่แข็งจากเวียดนามโดยไม่มีการส่งออกปลาในตลาดโลก ส่วนในตลอด8ปีที่ผ่านมาสหรัฐเลือกบังกลาเทศเป็นประเทศกลางในการคำนวนมูลค่าต้นทุนการผลิตปลาสวายเพราะประเทศนี้ก็มีการเลี้ยงและผลิตปลาเหมือนเวียดนาม ในขณะที่อินโดนีเซียได้เลี้ยงปลา5ชนิดรวมกันโดยในนั้นมีปลาสวายเป็นร้อยละ70เท่านั้น อีกอย่างคือปลาที่ไม่มีเกล็ดของอินโดนีเซียทั้ง5ชนิดนั้นกลับไม่เหมือนพันธุ์ปลาที่เลี้ยงในเวียดนามและบังกลาเทศ ดังนั้นเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ไม่มีเงื่อนไขที่เหมาะสมใดๆเพื่อใช้ข้อมูลรวบรวมของฝ่ายอินโดนีเซียเป็นหลักฐานอ้างอิงที่น่าใว้ใจในการพิารณาครั้งที่8นี้
ต่อการตัดสินใจที่ขาดภาวะวิสัยของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐ ตัวแทนของสมาพันธ์แปรรูปและส่งออกสัตว์น้ำเวียดนามพร้อมสถานประกอบการส่งออกปลาสวายได้ยืนยันว่าจะมีมาตราการทางนิตินัยเพื่อปกป้องหน่วยงานและเรียกร้องให้ฝ่ายสหรัฐแก้ไขมติตามกฎหมายของสหรัฐและข้อตกลงในกรอบขององค์การการค้าโลกนายด่าวเจิ่นเญิน อัครราชทูตฝ่ายการพาณิชย์เวียดนามประจำสหรัฐเผยต่อไปว่าทนายความของฝ่ายจำเลยจะร่วมกับกระทรวงพาณิชย์สหรัฐพิจารณาวิธีการคำนวนอัตราภาษีเพื่อตรวจดูว่ามีอะไรที่ผิดพลาดในการปฏิบัติ หากพบว่ามีขั้นตอนหรือข้อมูลที่ไม่ถูกต้องสามารถเสนอให้ทางกระทรวงแก้ไข อีกมาตรการคือฝ่ายเวียดนามจะเสนอให้ทนายความของตนยื่นคำฟ้องมติของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐต่อศาลการค้าระหว่างประเทศสหรัฐ
สมาพันธ์แปรรูปและส่งออกสัตว์น้ำเวียดนามเผยว่า สหรัฐกำลังเป็นตลาดนำเข้าปลาสวายรายใหญ่อันดับของเวียดนามรองจากตลาดยุโรป โดยมีมูลค่าการนำเข้ากว่า358ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ20ของยอดมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ปลาสวายของเวียดนาม เป็นอันว่าการที่สหรัฐเพิ่มอัตราภาษีสูงเกินไปนั้นไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อสถานประกอบการเวียดนามเท่านั้นหากรวมไปถึงตลาดอื่นๆรวมทั้งผู้เลี้ยงปลาเวียดนามและผู้บริโภคสหรัฐจำนวนมากที่จะต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นเพื่อซื้ออาหารที่พวกเขานิยม./.