สำนักงานใหญ่ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศในกรุงวอชิงตัน (THX) |
รายงานศักยภาพเศรษฐกิจโลกล่าสุดของกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 16 เมษายนได้แสดงให้เห็นว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับการคาดการณ์เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา
3 จุดเด่นของเศรษฐกิจโลก
จุดเด่นแรกในรายงานศักยภาพเศรษฐกิจโลกของ IMF คือการเติบโตของเศรษฐกิจโลกอาจสูงถึงร้อยละ 3.2 ในปีนี้ ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์ของ IMF ที่เผยแพร่เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมาซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.1 ส่วนในปีหน้า การเติบโตของเศรษฐกิจโลกได้รับการคาดการณ์ว่า จะอยู่ที่ร้อยละ 3.2 เช่นกัน จุดเด่นที่ 2 ในรายงานของ IMF คืออัตราเงินเฟ้อยังคงมีแนวโน้มลดลง โดยอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั่วโลกคาดว่าจะลดลงจากร้อยละ 5.9 ในปีนี้เหลือร้อยละ 4.5 ในปีหน้า เนื่องจากหลายประเทศทั่วโลกยังคงธำรงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูง นาย ปิแอร์-โอลิวิเยร์ กูรินชาส หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ IMF เผยว่า ถึงแม้ว่า การคาดการณ์อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปีนี้และปีหน้าจะยังคงต่ำกว่าอัตราการเติบโตก่อนช่วงวิกฤตโควิด-19 แต่เมื่อพิจารณาจากความผันผวนของโลกในตลอดกว่า 2 ปีที่ผ่านมา นี่ถือเป็นสิ่งที่น่ายินดี และผู้คนส่วนใหญ่ในโลกสามารถฟันฝ่าวิกฤติครั้งใหญ่ที่สุดในรอบไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้แล้ว
“จุดเด่นที่ 3 คือเราเห็นว่า ภูมิภาคส่วนใหญ่ของโลกมีความกังวลน้อยลงเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาคือ โรคระบาดและค่าครองชีพ เพราะวิกฤตการณ์ดังกล่าวทำให้เศรษฐกิจโลกชะงักงัน แต่ตอนนี้ เราเห็นว่า หลายภูมิภาคกำลังแก้ปัญหาและส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจ”
สำหรับศักยภาพการเติบโตของแต่ละประเทศและภูมิภาค IMF ระบุว่า เศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของโลกคือสหรัฐจะยังคงขยายตัวได้อย่างมั่นคงที่ร้อยละ 2.7 ในปีนี้ ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์เมื่อเดือนมกราคม ที่ร้อยละ 2.1 แต่จะบรรลุร้อยละ 1.9 ในปีหน้า ในขณะเดียวกัน IMF ได้ปรับลดการประเมินในเชิงบวกต่อการเติบโตของเขตยูโรโซน โดยคาดการณ์ว่า ภูมิภาคนี้จะเติบโตเพียงร้อยละ 0.8 ในปีนี้ ซึ่งต่ำกว่าการคาดการณ์เมื่อเดือนมกราคม ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.9 โดยเฉพาะเศรษฐกิจอันดับ 1 ของเขตยูโรโซนคือเยอรมนี ได้ถูกปรับลดตัวเลขการเติบโตจากร้อยละ 0.5 เหลือร้อยละ 0.2 เมื่อ 3 เดือนก่อน ในขณะเดียวกัน IMF ได้เพิ่มการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจเกิดใหม่ในปีนี้ เช่น บราซิลอยู่ที่ร้อยละ 2.2 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 อินเดีย อยู่ที่ร้อยละ 6.8 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 รัสเซียอยู่ที่ร้อยละ 3.2 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ส่วนจีนซึ่งเป็นเศรษฐกิจรายใหญ่อันดับ 2 ของโลกนั้น IMF คาดการณ์ว่า การขยายตัวจะอยู่ที่ร้อยละ 4.6 ในปีนี้ และอาจปรับตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นถ้าได้รับข้อมูลในเชิงบวกมากขึ้น ส่วนสำหรับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ในเอเชีย IMF ก็มีการประเมินในเชิงบวกเช่นกัน ซึ่งสิ่งนี้ก็เช่นเดียวกับความเห็นของนาย หลี่ป๋าวตุ้ง เลขาธิการฟอรั่มเอเชียปั๋วอ้าว เมื่อเดือนที่แล้วที่กล่าวว่า
“แม้ปัจจัยความที่ส่งผลต่อความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆในเอเชียกำลังเพิ่มขึ้น แต่เศรษฐกิจเหล่านี้ก็แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวที่ดีมากเช่นกัน รายงานของฟอรั่มเอเชียปั๋วอ้าวคาดการณ์ว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจและการผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคจะยังคงอยู่ในระดับสูงในปีนี้ โดยจีน อินเดีย อินโดนีเซีย ซาอุดิอาระเบียและประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ในเอเชียมีศักยภาพเติบโตที่ดีมาก”
นาย ปิแอร์-โอลิวิเยร์ กูรินชาส หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ IMF (AFP) |
ยังมีความเสี่ยงอีกมากมาย
ถึงแม้จะมีความเห็นในเชิงบวกต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ แต่ IMF ก็ยังคงออกคำเตือนมากมาย ตามรายงานของ IMF อัตราเงินเฟ้อกำลังมีแนวโน้มลดลงในหลายประเทศ แต่อัตราการลดลงนั้นช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งทำให้ธนาคารกลางของหลายประเทศต้องคงอัตราดอกเบี้ยต่อไป และสิ่งนี้จะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะกลาง คำเตือนนี้สอดคล้องกับความเห็นของนายเจย์ พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐหรือ FED เมื่อวันที่ 17 เมษายน โดยระบุว่า ยากที่จะเห็นการลดอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐในเร็วๆ นี้ หลังจากที่การพยายามปรับอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ที่ระดับร้อยละ 2 อาจต้องใช้เวลานานกว่าที่คาดไว้ รวมไปถึงการขาดดุลงบประมาณของสหรัฐก็อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก IMF คาดการณ์ว่า ในปีหน้า การขาดดุลงบประมาณของสหรัฐอาจแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ 7.1 ของ GDP ซึ่งสูงกว่าระดับเฉลี่ยร้อยละ 2 ของประเทศที่พัฒนาแล้วอื่นๆ ถึง 3 เท่า IMF ย้ำว่า การขาดดุลงบประมาณของเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกส่งผลต่อการคำนวณการใช้จ่ายขั้นพื้นฐานของประเทศอื่นๆ ตลอดจนเสถียรภาพของการเงินโลกอย่างมีนัยสำคัญ
ส่วนความไร้เสถียรภาพทางภูมิรัฐศาสตร์โลก ไม่ว่าจะเป็นการปะทะในยูเครน ฉนวนกาซาและความตึงเครียดระหว่างอิหร่านกับอิสราเอลได้สร้างความเสี่ยงในระยะสั้นและระยะกลางต่อเศรษฐกิจโลก ตามรายงานของ IMF ถ้าหากเกิดการหยุดชะงักเกี่ยวกับแหล่งจัดสรรน้ำมันในตะวันออกกลาง ราคาน้ำมันโลกอาจเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 15 และอัตราเงินเฟ้อทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 0.7% นอกจากนี้ นาย ปิแอร์-โอลิวิเยร์ กูรินชาส หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ IMF ยังย้ำถึงความเสี่ยงของความแตกแยกของเศรษฐกิจโลกว่า
“ศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจโลกยังได้รับผลกระทบจากปัญหาการแบ่งแยกของเศรษฐกิจในเชิงภูมิศาสตร์ ความเชื่อมโยงทางการค้ากำลังเปลี่ยนแปลง แม้บางประเทศอาจได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างห่วงโซ่อุปทาน แต่จริง ๆ แล้วนี่ถือเป็นผลเสียเพราะทำให้เศรษฐกิจโลกมีความยืดหยุ่นน้อยลงและสร้างความเสียหายต่อความร่วมมือระดับโลก”
เช่นเดียวกับความเห็นดังกล่าว ในรายงานเกี่ยวกับศักยภาพการค้าโลกที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 11 เมษายน องค์การการค้าโลกหรือ WTO ได้เผยว่า ตั้งแต่ปี 2018 มูลค่าการค้าต่างตอบแทนระหว่าง 2 เศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ สหรัฐและจีนกำลังเติบโตที่ต่ำกว่าร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับการเติบโตทางการค้ากับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ซึ่งเรื่องนี้ทำให้ความกังวลเกี่ยวกับความแตกแยกของเศรษฐกิจโลกเพิ่มมากขึ้น.