คำวินิจฉัยของพีซีเอเปิดโอกาสเพื่อแก้ไขการพิพาทในทะเลตะวันออก

Thương-Vân/VOV5
Chia sẻ

(VOVworld) - ผลการตัดสินของกรณีฟิลิปปินส์ยื่นฟ้องจีนต่อศาลอนุญาโตตุลาการหรือพีซีเอเรื่องการพิพาทในทะเลตะวันออกคือบรรทัดฐานสำคัญเพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและประชาคมโลกมีความเข้าใจร่วมเกี่ยวกับมาตราหลายข้อที่ถูกระบุในอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 หรือ UNCLOS พร้อมทั้งเป็นการยืนยันถึงจิตใจแห่งการให้ความเคารพกฎหมาย เป็นหลักฐานทางนิตินัยสำคัญเพื่อเปิดโอกาสให้แก่การแก้ไขการพิพาทในทะเลตะวันออก

(VOVworld) - ผลการตัดสินของกรณีฟิลิปปินส์ยื่นฟ้องจีนต่อศาลอนุญาโตตุลาการหรือพีซีเอเรื่องการพิพาทในทะเลตะวันออกคือบรรทัดฐานสำคัญเพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและประชาคมโลกมีความเข้าใจร่วมเกี่ยวกับมาตราหลายข้อที่ถูกระบุในอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 หรือ UNCLOS พร้อมทั้งเป็นการยืนยันถึงจิตใจแห่งการให้ความเคารพกฎหมาย เป็นหลักฐานทางนิตินัยสำคัญเพื่อเปิดโอกาสให้แก่การแก้ไขการพิพาทในทะเลตะวันออก

คำวินิจฉัยของพีซีเอเปิดโอกาสเพื่อแก้ไขการพิพาทในทะเลตะวันออก - ảnh 1
การดำเนินคดีในพีซีเอ (PCA)

ศาลอนุญาโตตุลาการถาวรหรือพีซีเอในกรุงเฮกได้ออกคำวินิจฉัยด้วยเนื้อหาสำคัญๆ ที่น่าสนใจคือ พีซีเอได้ยืนยันว่า ไม่มีหลักฐานทางนิตินัยเพื่อรองรับคำประกาศอธิปไตยของจีนต่ออันที่เรียกว่า “เส้นประ 9 เส้น” ในทะเลตะวันออก โดยส่วนต่างๆที่จีนยึดครองในทะเลตะวันออกไม่ได้ถือเป็นเกาะตามที่ระบุในอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเล ดังนั้นไม่มีสิทธิ์ประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 200 ไมล์ทะเล
คำวินิจฉัยของพีซีเอได้รับการอนุมัติด้วยความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ในระดับสูง จึงถือเป็นคำอธิบายที่มีความผูกมัดของกฎหมายทะเลระหว่างประเทศ
ตีความคำนิยามที่เกี่ยวข้องถึงการพิพาทในทะเลตะวันออก

เนื้อหาสำคัญของคำวินิจฉัยที่ได้รับการชื่นชมจากประชามติคือ นับเป็นครั้งแรกที่มีการตรวจสอบคำนิยามหลายข้ออย่างรอบคอบบนพื้นฐานอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 หรือ UNCLOS โดยโครงสร้างกายภาพต่างๆในทะเลตะวันออกจะมีระเบียบการแตกต่างกันที่ขึ้นอยู่กับว่า โดยธรรมชาติ มันคือเกาะ หิน หรือแนวหินปะการัง ตามคำวินิจฉัยของพีซีเอ มีพื้นที่หลายส่วนในทะเลตะวันออกที่จีนปรับเปลี่ยนและเสริมสร้างในขอบเขตใหญ่ให้เป็นเกาะเทียม แต่อนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลได้กำหนดโครงสร้างกายภาพบนพื้นฐานสภาพธรรมชาติ ดังนั้น ไม่มีโครงสร้างกายภาพใดๆที่จีนประกาศอธิปไตยในทะเลตะวันออกได้รับสิทธิ์ครอบคลุมเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 200 ไมล์ทะเล ซึ่งคำวินิจฉัยนี้ได้ตีความเพื่อสะท้อนให้เห็นความถูกต้องและข้อผิดพลาดของการพิพาทเนื่องจากการอธิบายและใช้ UNCLOS 1982 ที่ไม่ถูกต้องเพื่อประกาศอธิปไตยที่ไร้เหตุผล ละเมิดสิทธิและผลประโยชน์ที่ชอบด้วยกฎหมายของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออก ดร. เจิ่นเวียดท้าย รองหัวหน้าสถาบันวิจัยยุทธศาสตร์สังกัดกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามได้แสดงความเห็นว่า“นี่คือก้าวเดินสำคัญทางนิตินัยเกี่ยวกับทะเล นับเป็นครั้งแรกที่โลกมีข้อกำหนดที่ระบุความหมายอย่างชัดเจนว่า อะไรคือเกาะหรือแนวหินปะการังที่ประยุกต์ใช้อย่างเป็นรูปธรรมในทะเลตะวันออก คำวินิจฉัยของพีซีเอเกี่ยวกับปัญหานี้ได้มีส่วนร่วมลดการพิพาท ในทะเลตะวันออกตาม 4 ประเภทที่สำคัญคือ การพิพาททางทะเลซึ่งส่วนใหญ่มาจากปัญหา “เส้นประ 9 เส้น” การพิพาทเกี่ยวกับการอธิบายกฎหมายทางทะเล การพิพาทเกี่ยวกับไหล่ทวีปและการพิพาทเกี่ยวกับสิทธิสำรวจทรัพยากร อันเป็นการมีส่วนร่วมสำคัญต่อสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค”
ตามความเห็นของดร. Gerhard Will ผู้เชี่ยวชาญระดับสูงเกี่ยวกับการเมืองระหว่างประเทศและอดีตผู้เชี่ยวชาญสถาบันปัญหาความมั่นคงและระหว่างประเทศของเยอรมนี คำวินิจฉัยของพีซีเอมีความหมายสำคัญ ตรงที่พีซีเอได้อธิบายให้เข้าใจว่า กฎหมายสากลมีส่วนเกี่ยวข้องกับการพิพาทในทะเลตะวันออก ซึ่งไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อฟิลิปปินส์และจีนซึ่งเป็น 2 ฝ่ายที่มีการพิพาทเท่านั้น หากยังรวมถึงทุกประเทศที่กำลังประกาศอธิปไตยเหนือหมู่เกาะเจื่องซา หรือสเปรตลีย์อีกด้วย ดังนั้นทุกประเทศจะสามารถประเมินผลกระทบที่เป็นรูปธรรมของคำวินิจฉัยนี้ต่อนโยบายของตนในทะเลตะวันออก

คำวินิจฉัยของพีซีเอเปิดโอกาสเพื่อแก้ไขการพิพาทในทะเลตะวันออก - ảnh 2
ดร. เจิ่นเวียดท้าย รองหัวหน้าสถาบันวิจัยยุทธศาสตร์สังกัดกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม (vtc.vn)

คดีที่เป็นบรรทัดฐานทางนิตินัยสำคัญในการแก้ไขการพิพาททางทะเล
ตามความห็นของนาย Greg Polin ผู้อำนวยการโครงการความโปร่งใสการเดินเรือเอเชียสังกัดศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์และระหว่างประเทศหรือซีเอสไอเอสที่มีสำนักงานในกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐ คำวินิจฉัยของพีซีเอได้สนับสนุนการแก้ไขปัญหาที่ร้อนระอุในทะเลตะวันออก อีกทั้งเป็นพลังขับเคลื่อนต่อความพยายามแก้ไขการพิพาทในการเดินเรือผ่านมาตรการที่สันติและกลไกศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ซึ่วอย่างน้อยจนถึงปัจจุบัน คำวินิจฉัยของพีซีเอได้สร้างกรอบทางนิตินัยเพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอ้างอิงเมื่อเสนอคำเรียกร้องของตน ส่วนดร. เจิ่นกงจุก อดีตหัวหน้าคณะกรรมการชายแดนของรัฐบาลเวียดนามได้แสดงความเห็นว่า คำวินิจฉัยของพีซีเอมีส่วนร่วมลดขอบเขตการพิพาทที่ซับซ้อนในทะเลตะวันออก สร้างบรรทัดฐานทางนิตินัยและยืนยันถึงความชอบด้วยกฎหมายต่อทุกฝ่ายที่มีการพิพาทในภูมิภาคเพื่อสนับสนุนการแก้ไขการพิพาทระหว่างประเทศในภูมิภาคในปัจจุบันผ่านมาตรการที่สันติ
สำหรับการพัฒนาของกฎหมายสากล คำวินิจฉัยนี้ถือเป็นคดีตัวอย่างที่สำคัญ เพราะนับเป็นครั้งแรกที่คำวินิจฉัยของพีซีเอได้วิเคราะห์และตีความรายละเอียดในมาตราสำคัญของ UNCLOS ซึ่งจะเป็นฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อให้ประเทศต่างๆทาบทามในกระบวนการใช้ UNCLOS และกฎหมายทางทะเลต่างๆ
ประชามติได้ชื่นชมและให้ความสำคัญต่อคำวินิจฉัยของพีซีเอ เพราะคำวินิจฉัยนี้ไม่เพียงแต่ได้นำผลประโยชน์มาให้แก่ประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น หากยังเป็นการให้ความสำคัญต่อบทบาทของกฎหมายสากล โดยประเทศต่างๆต้องมีความรับผิดชอบในการใช้เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพื่อรักษาสันติภาพ เสถียรภาพ ความร่วมมือและการพัฒนา.

Feedback