ความสัมพันธ์สหรัฐ-อิหร่านยังไม่มีทางออก

Bá Thi
Chia sẻ
(VOVWORLD) - ในหลายวันที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับอิหร่านมีความตึงเครียดครั้งใหม่ด้วยท่าทีที่แข็งกร้าวจากทั้งสองฝ่าย ซึ่งสร้างความวิตกกังวลเป็นอย่างมากให้แก่ประชามติโลก แต่เนื่องจากมีหลายเหตุผลทำให้มีโอกาสน้อยมากที่จะเกิดการเผชิญหน้าด้านทหารระหว่างสองฝ่าย
ความสัมพันธ์สหรัฐ-อิหร่านยังไม่มีทางออก - ảnh 1(The New Yorker) 


หนึ่งในท่าทีที่น่าสนใจมากที่สุดที่เกี่ยวข้องถึงความสัมพันธ์สหรัฐ-อิหร่านในเวลาที่ผ่านมาคือการที่เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐได้ปฏิเสธร่างกฎหมายที่บังคับให้ประธานาธิบดีไม่สามารถใช้มาตรการทางทหารเพื่อโจมตีอิหร่านถ้าหากไม่ได้รับความเห็นพ้องจากรัฐสภา ในการจัดทำร่างกฎหมายนี้ ฝ่ายพรรคเดโมแครตที่กำลังครองเสียงข้างมากในสภาล่างสหรัฐแสดงความเห็นว่า การที่ประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ สั่งให้โจมตีสังหารนายพล Qassem Soleimani ของอิหร่านเมื่อต้นปีนี้ได้ทำให้สถานการณ์เผชิญหน้าระหว่างสองฝ่ายมีความตึงเครียดมากขึ้นและอาจนำไปสู่การปะทะที่รุนแรงมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ย้ำว่า ร่างกฎหมายที่พรรคเดโมแครตเสนอมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความแตกแยกภายในพรรครีพับลิกันเพื่อได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งในวันที่ 3 พฤศจิกายนนี้ เมื่อมองจากภายนอก  ดูเหมือนว่า นี่เป็นปัญหาการเมืองภายในของสหรัฐเท่านั้น แต่ในทางเป็นจริงปัญหานี้สะท้อนให้เห็นถึงสถานการณ์ความสัมพันธ์ที่ไม่ราบรื่นระหว่างวอชิงตันกับเตหะราน

ท่าทีที่แข็งกร้าวจากทั้งสองฝ่าย

ที่น่าสนใจคือ ก่อนหน้านั้น 1 สัปดาห์คือเมื่อวันที่ 28 เมษายน ทางการสหรัฐและบรรดานักการทูตในสหประชาชาติได้เผยว่า วอชิงตันได้จัดทำร่างมติฉบับหนึ่งของสหประชาชาติเกี่ยวกับการขยายระยะเวลามาตรการคว่ำบาตรอาวุธต่ออิหร่านอย่างไม่มีกำหนดซึ่งจะหมดอายุในเดือนตุลาคมปี 2020 นี่เป็นเหตุการณ์ที่ทางการเตหะรานรอคอยมานาน ต่อจากนั้น รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ ไมค์ ปอมเปโอ ได้ยืนยันว่า การกระทำของอิหร่านในเวลาที่ผ่านมาเพียงพอเพื่อให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติขยายระยะเวลาคว่ำบาตรด้านอาวุธ และถึงแม้คำสั่งคว่ำบาตรจะสิ้นสุดในเดือนตุลาคมปีนี้ แต่สหรัฐก็จะไม่ขายอาวุธให้แก่อิหร่าน โดยเฉพาะก่อนการเคลื่อนไหวนี้ ประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประกาศว่า ได้สั่งให้กองทัพเรือสหรัฐโจมตีใส่เรือติดอาวุธของอิหร่านถ้าหากเรือของอิหร่านก่อกวนเรือสหรัฐในเขตอ่าว

เพื่อตอบโต้การกระทำของสหรัฐ ทางการอิหร่านได้ส่งสาส์นที่แข็งก้าวอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อวันที่ 29 เมษายน สำนักข่าว Tasnim ได้อ้างคำกล่าวของโฆษกกองกำลังติดอาวุธอิหร่าน Abolfazl Shekarchi ที่เตือนว่า เตหะรานจะตอบโต้อย่างรุนแรงถ้าหากเรือสหรัฐรุกล้ำเขตน่านน้ำอิหร่าน อีกทั้งตำหนิสหรัฐที่ได้ "สร้างความวุ่นวาย" ในเขตอ่าว และแสดงความเห็นว่า คำขู่เมื่อเร็วๆนี้ของประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์เป็น “สงครามจิตวิทยา” เพื่อดึงดูดความสนใจจากประชามติก่อนการเลือกตั้งในสหรัฐ ต่อจากนั้น เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม โฆษกกระทรวงการต่างประเทศอิหร่าน Abbas Mousavi ได้ประกาศปฏิเสธความพยายาม “ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย” ของสหรัฐเพื่อขยายการคว่ำบาตรอาวุธของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติต่ออิหร่าน และยืนยันว่า “ท่าทีของอิหร่านต่อมาตรการที่ผิดกฎหมายของสหรัฐเป็นสิ่งที่ยึดมั่น” เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคมที่ผ่านมา นาย ฮัสซัน โรฮานี ประธานาธิบดีอิหร่านได้ประกาศว่า เตหะรานจะตอบโต้สหรัฐอย่างเข้มแข็งถ้าหากคำสั่งคว่ำบาตรอาวุธต่ออิหร่านได้รับการขยาย

ตามความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์ ท่าทีที่ทำให้สถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับอิหร่านทวีความตึงเครียดเมื่อเร็วๆนี้เป็นสิ่งที่น่าวิตกกังวล แต่ยากที่จะนำไปสู่การเผชิญหน้าด้านการทหาร

ยากที่จะเกิดการเผชิญหน้าด้านการทหาร           

มีหลายเหตุผลเพื่อแสดงความเห็นว่า ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐกับอิหร่านถึงแม้ยากที่จะคลี่คลายลง แต่ก็มีโอกาสน้อยที่จะเกิดการเผชิญหน้าด้านการทหาร เพราะในสถานการณ์ในปัจจุบัน ยังไม่อันตรายเหมือนช่วงที่กองทัพอากาศสหรัฐโจมตีสังหารนายพล Qassem Soleimani ของอิหร่านเมื่อต้นปีนี้ ซึ่งหลายคนคาดการณ์ว่า “จะตกเข้าสู่ภาวะสงคราม” แต่สิ่งที่เลวร้ายที่สุดก็ไม่เกิดขึ้น ประเด็นที่ 2 ซึ่งสำคัญกว่าคือ ทั้งสองฝ่ายต่างไม่มี “ความต้องการ” ผลักดันมาตรการด้านการทหารในช่วงนี้ โดยเฉพาะ ขณะนี้ อิหร่านกำลังตกเข้าสู่ภาวะลำบากเนื่องจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จนต้องเปิดรับการช่วยเหลือจากนานาประเทศ รวมทั้งการกู้เงินฉุกเฉิน รวมมูลค่า 5  พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ ดังนั้น การเพิ่มการเผชิญหน้ากับสหรัฐจึงเป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ต่ออิหร่านในการเข้าถึงวงเงินสินเชื่อมหาศาลของไอเอ็มเอฟ และในทางเป็นจริง หลังท่าทีที่แข็งกร้าว ทางการอิหร่านได้มีคำประกาศที่โอนอ่อนต่อสหรัฐ โดยล่าสุด เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม โฆษกของรัฐบาลอิหร่าน Ali Rabiei ได้ยืนยันว่า เตหะรานพร้อมปฏิบัติข้อตกลงแลกเปลี่ยนเชลยศึกอย่างสมบูรณ์กับวอชิงตัน

ส่วนฝ่ายสหรัฐกำลังมีปัญหาใหญ่ๆที่ต้องเน้นแก้ไข โดยเฉพาะการรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ในสภาวการณ์ดังกล่าว การใช้เงินและเสียสละชีวิตในปฏิบัติการทางทหารที่ไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางจากประชามติจะไม่ใช่ทางเลือกที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆอย่างแน่นอน

ทั้งนี้เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าโอกาสที่จะเกิดการเผชิญหน้าด้านการทหารระหว่างสหรัฐกับอิหร่านในช่วงนี้อยู่ในระดับต่ำ และการทวีความตึงเครียดในปัจจุบันจะไม่เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองประเทศรวมทั้งต่อสถานการณ์ที่ซับซ้อนในตะวันออกกลางในปัจจุบัน./.

Feedback