ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับตุรกีต้องเผชิญกับความท้าทาย
|
บาทหลวง Andrew Brunsonทำงานในประเทศตุรกีมากว่า20ปีโดยถูกจับกุมตัวเมื่อเดือนตุลาคมปี2016ในภาคตะวันตกของตุรกีและถูกดำเนินคดีภายหลังกว่า1ปีที่ถูกคุมขัง บรรดาอัยการตุรกีได้ตั้งข้อหาบาทหลวงAndrew Brunsonว่า ช่วยเหลืออิหม่ามเฟตฮุลเลาะห์ กูเลน ซึ่งถูกทางการตุรกีกล่าวหาว่า เป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุทำรัฐประหารเมื่อปี2016จนต้องลี้ภัยไปยังประเทศสหรัฐ เมื่อวันที่25กรกฎาคมที่ผ่านมา ภายหลัง21เดือนที่ถูกคุมขัง ตุรกีได้ตัดสินใจกักบรอเวณบาทหลวงAndrew Brunson ที่บ้านของเขาแต่สหรัฐยังคงเรียกร้องให้ตุรกีปล่อยตัวบาทหลวงรายนี้
การคว่ำบาตร
ภายหลังการเจรจาครั้งต่างๆ รวมทั้ง การใช้มาตรการทางการทูตที่ไม่ได้ผล เมื่อวันที่1สิงหาคม สหรัฐได้ประกาศมาตรการคว่ำบาตรแรกที่มุ่งเป้าไปยังเจ้าหน้าที่ตุรกี2คนคือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม Abdulhamit Gulและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย Suleyman Soylu ซึ่งถือเป็นมาตรากรคว่ำบาตรที่ไม่เคยมีมาก่อนของสหรัฐต่อตุรกี บรรดาผู้สังเกตการณ์เห็นว่า มาตรการดังกล่าวมีแต่จะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศพันธมิตรเลวร้ายลงเท่านั้น
ก่อนประกาศมาตรการคว่ำบาตร ประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ได้ขู่ว่า จะใช้มาตรการคว่ำบาตรขนาดใหญ่ถ้าหากตุรกีไม่ปล่อยตัวบาทหลวงAndrew Brunsonแต่ทางการตุรกีได้ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว โดยประธานาธิบดีตุรกี รีเซป ตอยยิบ เออร์โดกันได้ประกาศว่า การข่มขู่ของสหรัฐไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ตุรกีจะไม่ประนีประนอมเรื่องที่เกี่ยวข้องถึงสิทธิอำนาจศาลและถ้าหากสหรัฐไม่เปลี่ยนแปงท่าที ก็จะต้องสูญเสียพันธมิตรที่จริงจังอย่างตุรกี
ความขัดแย้งที่มีมานานแล้ว
ทางการประธานาธิบดีสหรัฐมีปฏิบัติการที่แข็งกร้าวต่อการจับกุมตัวบาทหลวง Andrew Brunson เนื่องจากบาทหลวง Andrew Brunson ไม่เพียงแต่เป็นพลเมืองสหรัฐเท่านั้นหากยังเป็นการทำเพื่อเอาใจกลุ่มชาวคริสเตียน ซึ่งเป็นกลุ่มที่ให้การสนับสนุนประธานาธิบดีสหรัฐ
แต่อย่างไรก็ดี เรื่องของบาทหลวงAndrew Brunsonเป็นเพียงกรณีหนึ่งในความขัดแย้งระหว่างสองประเทศเพราะในหลายปีที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศพันธมิตรนาโต้ได้เกิดรอยร้าวแล้ว โดยตุรกีผิดหวังเมื่อสหรัฐให้การช่วยเหลือกองกำลังปกป้องประชาชนชาวเคิร์ดหรือ YPG ในซีเรียในขณะที่เป้าหมายหลักของตุรกีในซีเรียคือป้องกันไม่ให้YPGจัดตั้งเขตปกครองตนเองของชาวเคิร์ดในเขตชายแดนที่ติดกับตุรกี ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศทวีความตึงเครียดมากขึ้นหลังจากที่ตุรกีเปิดยุทธนาการทางทหารเพื่อขับไล่กองกำลังYPGในเขตAfrinทางตะวันตกเฉียงเหนือของซีเรีย ทางการอังการายังเตือนว่า จะขยายยุทธนาการดังกล่าวไปยังเขต Manbij ซึ่งเป็นสถานที่ที่นักรบของกลุ่ม YPGและกองกำลังพิเศษของสหรัฐกำลังประจำการ ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดการเผชิญหน้าระหว่างกองกำลังของทั้งสองประเทศ นอกจากนี้ การที่สหรัฐปฏิเสธข้อเสนอของตุรกีเกี่ยวกับการส่งตัวอิหม่ามเฟตฮุลเลาะห์ กูเลนที่กำลังลี้ภัยในรัฐเพนซิลวาเนียประเทศสหรัฐก็ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ
สหรัฐกำลังมีความได้เปรียบในการบังคับให้ตุรกีปล่อยตัวบาทหลวง Andrew Brunsonแต่การสร้างความตึงเครียดกับประเทศพันธมิตรตุรกีไม่เกิดประโยชน์ใดๆต่อสหรัฐและจะส่งผลกระทบความพยายามในการยืนหยัดเป้าหมายของสหรัฐในภูมิภาค
คาดว่า รัฐมนตรีต่างประเทศตุรกี เมฟเลิต ชาวูโชลูจะทำการสนทนากับรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ ไมค์ ปอมเปโอนอกรอบการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่มีขึ้น ณ ประเทศสิงคโปร์ในระหว่างวันที่1-4สิงหาคม ซึ่งจะเป็นโอกาสเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายลดความตึงเครียดเพราะมาตรการคว่ำบาตรรังแต่จะทำให้ความขัดแย้งระหว่างสองประเทศรุนแรงมากขึ้น.