(VOVworld) – การพบปะทวิภาคีรัสเซีย–จีนนอกรอบการประชุมสุดยอดฟอรั่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย–แปซิฟิกหรือเอเปกปี๒๐๑๔ ที่จัดขึ้น ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนได้สร้างความสนใจเป็นพิเศษให้แก่ประชามติระหว่างประเทศเพราะนี่เป็นการพบปะกันครั้งที่๑๐ระหว่างผู้นำทั้งสองประเทศในรอบ๒ปีซึ่งถือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนักในด้านการต่างประเทศระหว่างสองประเทศ ข้อตกลงร่วมมือหลายฉบับ โดยเฉพาะ ในด้านเศรษฐกิจที่ถือว่า มีความสำคัญเป็นอย่างมากได้รับการลงนามซึ่งแสดงให้เห็นว่า ทั้งสองฝ่ายมีความตั้งใจจะสถาปนาความสัมพันธ์พิเศษ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมหาอำนาจเอเชีย–ยุโรป
|
รัสเซียและจีนกระเถิบเข้าใกล้กัน(Photo:Đatviet) |
ที่สถานรับรองแขกเมืองแต้วหยิวถาย ภายหลังการจับมืออย่างอบอุ่น ผู้นำจีนและรัสเซียได้เป็นสักขีพยานในการลงนามเอกสารความร่วมมือ๑๗ฉบับ รวมทั้งการก่อสร้างท่อส่งก๊าซทางทิศตะวันตกเพื่อป้อนให้แก่จีนซึ่งตามข้อตกลงที่ได้ลงนามเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา รัสเซียจะส่งก๊าซธรรมชาติให้กับจีน๓หมื่น๘พันลูกบาศก์เมตรต่อปี ถ้าท่อส่งก๊าซนี้ได้รับการก่อสร้างแล้วเสร็จ จีนจะแซงหน้ายุโรปกลายเป็นลูกค้าพลังงานอันดับ๑ของรัสเซีย ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องกันในการปฏิบัติโครงการลงทุนด้านพลังงานร่วมกันในเขตอาร์คานเกลสค์และปฏิบัติโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่เขตตะวันออกไกลของรัสเซีย พร้อมกับข้อตกลงด้านการเงิน รถไฟฟ้าความเร็วสูง เทคโนโลยีสารสนเทศ และอวกาศ
ความสัมพันธ์แบบประสานผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน
ความกังวลเกี่ยวกับภูมิศาสตร์การเมืองและความกังวลเกี่ยวกับสหรัฐทำให้รัสเซียและจีนกระเถิบเข้าใกล้กันซึ่งเป็นสิ่งที่แน่นอน วิกฤตยูเครนทำให้รัสเซียและสหรัฐตกเข้าสู่สงครามเย็นครั้งใหม่และความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศก็ตกเข้าสู่ภาวะเผชิญหน้าที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่สหภาพโซเวียตล่มสลายเมื่อปี๑๙๙๑ และก็เหมือนการเผชิญหน้าระหว่างสหรัฐกับโซเวียตในอดีต จีนกลายเป็นประเทศที่๓ที่สำคัญและการที่จีนเลือกเอียงไปยังฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นสิ่งที่ทั้งสหรัฐและรัสเซียให้ความสนใจมากที่สุด ในความพยายามเพื่อแข่งขันกันด้านอิทธิพล มอสโคว์มีความได้เปรียบกว่าเพราะมอสโคว์และปักกิ่งมีความละม้ายคล้ายคลึงกันด้านเศรษฐกิจ ทัศนะทางการเมืองและจุดยืนที่มีต่อตะวันตก ทั้งสองประเทศสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินี้เป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดกันในปัญหาที่ร้อนระอุของโลก เช่น ซีเรีย อิหร่าน และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
ความสัมพันธ์คู่แข่ง– หุ้นส่วน ความร่วมมือและสกัดกั้นกันระหว่างจีนกับสหรัฐได้ทำให้รัสเซียอยู่กับฝ่ายจีนซึ่งเหมือนเป็นการถ่วงดุลย์อำนาจเพื่อทำลายการถูกโดดเดี่ยวในปัจจุบันและในสภาวการณ์ที่กำลังถูกคว่ำบาตรจากตะวันตกรัสเซียต้องหาทางออกให้แก่เศรษฐกิจด้วยการหาแหล่งเงินทุนของต่างประเทศซึ่งจีนถือเป็นตัวเลือกดังกล่าว
แต่มิใช่หมายความว่า มอสโคว์ต้องการจีนเท่านั้น หากปักกิ่งก็ต้องการรัสเซียในหลายปัญหาเช่นกัน ในหลายปีที่ผ่านมา จีนต้องแสวงหาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะแหล่งพลังงานที่นับวันขาดแคลนเพื่อใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ รวมไปถึงการพิพาทด้านอาณาเขตก็สร้างความตึงเครียดระหว่างจีนกับหลายประเทศในภูมิภาค ในความทะเยอ ทะยานเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประเทศมหาอำนาจของจีน ดูเหมือนว่า จีนกำลังเป็นประเทศที่เดินบนเส้นทางเพียงคนเดียวและเดินทวนกับทุกประเทศในโลกซึ่งนี่เป็นแรงผลักดันให้จีนต้องกลายเป็นพันธมิตรกับรัสเซียและร่วมมือแบบประสานผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน
สถาปนาความสัมพันธ์ประเทศมหาอำนาจเอเชีย– ยุโรป
ในทางเป็นจริง ข้อตกลงฉบับต่างๆที่ได้รับการลงนามนอกรอบการประชุมสุดยอดเอเปกที่ผ่านมาเป็นผลสำเร็จต่อทั้งรัสเซียและจีนซึ่งมีความหมายทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง สำหรับรัสเซีย ประธานาธิบดีรัสเซียได้ส่งสาส์นว่า ความพยายามเพื่อโดดเดี่ยวมอสโคว์เป็นสิ่งที่ผิดพลาด รัสเซียสามารถเลือกเส้นทางที่ไม่ต้องพึ่งพาตะวันตกเพื่อรื้อฟื้นสถานะของตนได้ ส่วนสำหรับจีน ผลสำเร็จแสดงให้เห็นอย่างชัดเจน
เพราะจีนต้องการแหล่งพลังงานธรรมชาติเพื่อลดมลภาวะจากถ่านในนครใหญ่ๆซึ่งเป็นสิ่งที่จีนได้หาทางแก้ไขในหลายปีที่ผ่านมา ยิ่งไปกว่านั้น จีนสามารถขายก๊าซในตลาดเอเชียที่มีราคาเท่ากับตลาดยุโรปซึ่งก่อนหน้านั้นภูมิภาคนี้ต้องซื้อก๊าซในราคาที่สูงกว่าราคาที่ตลาดยุโรปร้อยละ๓๐
จากความสัมพันธ์แบบประสานผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน ดังนั้น ในกรอบการพบปะทวิภาคีครั้งนี้ ประธานาธิบดีรัสเซียวลาดีเมียร์ ปูตินและประธานประเทศจีนสีจี้นผิงต่างก็ทำการเจรจาด้วยความถ้อยทีถ้อยอาศัย ในขณะที่นายปูตินย้ำว่า ความร่วมมือระหว่างจีนกับรัสเซียเพื่อค้ำประกันให้โลกดำเนินไปตามกฎหมายสากล ช่วยให้โลกพัฒนาอย่างมีเสียรภาพและ คาดเดาง่ายขึ้น ส่วนประธานสีจิ้นผิงกล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับจีนดุจเป็นต้นไม้ที่กำลังอยู่ในช่วงเก็บผล แม้ว่า เวทีการเมืองโลกจะมีการเปลี่ยนแปลงเช่นไรแต่ทั้งสองประเทศยังคงดำเนินตามเส้นทางที่ได้เลือกไว้คือขยายความสัมพันธ์ร่วมมือในทุกด้าน และประสบความสำเร็จมากมาย ทั้งสองประเทศต่างมีความประสงค์ยืนยันบทบาทและอำนาจของตนในภูมิภาค ดังนั้น สองแนวคิดใหญ่จึงมีหนทางเดียวคือต้องพึ่งพากัน./.
Ánh Huyền