การเจรจาหลัง Brexit ระหว่างอังกฤษกับอียู ณ ประเทศเบลเยี่ยมเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน (AFP) |
ก่อนเริ่มการเจรจา 2 วัน เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ บอริส จอห์นสัน ได้ประกาศว่า ทางการลอนดอนพร้อมตัดความสัมพันธ์กับสหภาพยุโรปหรืออียูและสถาปนาความสัมพันธ์แบบที่มีเงื่อนไขเหมือนออสเตรเลีย” ถ้าหากไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับอนาคตของความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่ายได้ ขณะนี้ ออสเตรเลียไม่มีข้อตกลงการค้าแบบบูรณาการกับอียู โดยการแลกเปลี่ยนการค้าระหว่างอียูกับออสเตรเลียส่วนใหญ่ปฏิบัติตามข้อกำหนดขององค์การการค้าโลกหรือ WTO ยกเว้นข้อตกลงพิเศษสำหรับสินค้าบางชนิด ส่วนสหภาพยุโรปก็ได้แสดงให้เห็นถึงทัศนะที่แข็งกร้าวและชัดเจนต่อการเจรจาการค้ากับอังกฤษอย่างไม่เปลี่ยนแปลง
ทัศนะที่เด็ดเดี่ยวของอังกฤษ
ตามคำประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรีอังกฤษเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน นายกรัฐมนตรี บอริส จอห์นสันได้ย้ำว่า “อังกฤษจะเจรจาในเชิงสร้างสรรค์ แต่ต้องมีความเสมอภาคและพร้อมยุติระยะเปลี่ยนผ่านเพื่อสถาปนาความสัมพันธ์แบบมีเงื่อนไขเหมือนออสเตรเลียถ้าหากไม่สามารถบรรลุข้อตกลง” โดยหลังจากอังกฤษถอนตัวออกจากอียูไม่กี่วันเมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีอังกฤษ บอริส จอห์นสัน ได้ย้ำถึงข้อตกลงการค้าเสรีที่ไม่จำเป็นต้องมีการยอมรับข้อกำหนดของอียูเกี่ยวกับนโยบายแข่งขัน การอุปถัมภ์ การปกป้องสังคม สิ่งแวดล้อมหรืออะไรเช่นนั้น พร้อมทั้งเตือนว่า อังกฤษอาจเลือกใช้รูปแบบข้อตกลงการค้าเสรีที่อียูกำลังปฏิบัติกับแคนาดาและออสเตรเลีย
เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน นาย David Frost หัวหน้าคณะเจรจา Brexit ของอังกฤษได้ยืนยันว่า อังกฤษจะไม่เห็นพ้องกับข้อเสนอใดๆจากอียูเกี่ยวกับการให้กลุ่มนี้ได้สิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงกฎหมายของอังกฤษหลัง Brexit ผ่านภาษี ในข้อความที่โพสต์ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ทวิตเตอร์ หัวหน้าคณะเจรจาของอังกฤษได้เขียนว่า “ประเทศอังกฤษไม่สามารถยอมรับความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่คาดเดาไม่ได้” โดยเฉพาะเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน อังกฤษได้แสดงให้เห็นถึงทัศนะที่แข็งกร้าวในการเจรจา โดยแจ้งให้อียูทราบอย่างเป็นทางการว่า จะไม่แสวงหาการขยายระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน ซึ่งขัดกับการคาดการณ์ว่า อังกฤษอาจเสนอให้ขยายระยะเวลาเปลี่ยนผ่านเพิ่มอีก 1-2 ปีเพื่อที่จะมีโอกาสบรรลุผลการเจรจาที่ดีขึ้นกับอียู
ในการอธิบายเกี่ยวกับท่าทีของอังกฤษ มีบางฝ่ายที่มีความเห็นว่า ถึงแม้ทางการลอนดอนจะขยายระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน แต่ก็ยากที่จะเปลี่ยนแปลงจุดยืนของอียูได้
จุดยืนที่แข็งกร้าวของอียู
ในทางเป็นจริง ในวันที่นายกรัฐมนตรีอังกฤษประกาศพร้อมตัดความสัมพันธ์กับอียู นายกรัฐมนตรีเยอรมนี อังเกลา แมร์เคิล ก็ได้เตือนว่า อังกฤษจะต้อง “ยอมรับผลกระทบ” เมื่อมีความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจที่อ่อนแอกับอียูหลังจากถอนตัวออกจากกลุ่มนี้และที่ต้องสังเกตคือ ประเทศเยอรมนีจะดำรงตำแหน่งประธานหมุนเวียนยุโรปตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม
ก่อนหน้านั้น นักเจรจาของอียู Michel Barnier ได้กล่าวหาฝ่ายอังกฤษที่ไม่ให้ความเคารพมาตรการต่างๆในข้อตกลง “ Brexit” หลังจากทั้งสองฝ่ายเสร็จสิ้นการเจรจารอบที่ 4 เมื่อวันที่ 5 มิถุนายนที่ไม่สามารถบรรลุก้าวกระโดดใดๆ เนื่องจากทั้งสองฝ่ายยังคงมีความขัดแย้งอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับปัญหาหลัก 4 ประเด็นคือการประมง การสร้างเวทีที่เสมอภาคให้แก่สถานประกอบการ สิทธิขั้นพื้นฐานในด้านความยุติธรรมทางอาญาและการบริหารความสัมพันธ์หุ้นส่วนในอนาคต
ตามความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์ มีความเป็นไปได้สูงที่การเจรจาที่กำลังดำเนินไปจะ “ตกเข้าสู่ภาวะชะงักงัน” เหมือนการเจรจาครั้งก่อนๆเนื่องจากความขัดแย้งในปัจจุบันระหว่างสองฝ่ายยังคงได้รับการประเมินว่า เป็นอุปสรรคหลักและยากที่จะประนีประนอมได้ ในขณะที่ทั้งสองฝ่ายยังไม่แสดงให้เห็นถึงเจตนาประนีประนอมใดๆ ทำให้มีความเป็นไปได้สูงที่จะไม่สามารถบรรลุข้อตกลงตามกรอบเวลา และถ้าหากเกิดปัญหานี้ อังกฤษจะเป็นฝ่ายที่ได้รับความเสียหายหนักกว่าอียู เมื่อเร็วๆนี้ องค์การร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจหรือโออีซีดีได้ประเมินว่า การค้าและงานทำของอังกฤษกำลังมีความเสี่ยงที่ได้รับผลกระทบในทางลบ ถ้าหากทางการลอนดอนไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับความสัมพันธ์ด้านการค้ากับอียูในปลายปี 2020 หรือไม่สามารถขยายระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน Brexit ก่อนหน้านั้นไม่นาน โออีซีดีได้พยากรณ์ว่า ตัวเลขทางเศรษฐกิจอังกฤษที่มีการบริการขนาดใหญ่ที่ได้รับผลกระทบในทางลบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะลดลงถึงร้อยละ 11.5 ในปี 2020.