ความท้าทายที่อียูและตุรกีต้องเผชิญในการแก้ไขปัญหาผู้อพยพ

Hồng Vân-VOV5
Chia sẻ
(VOVworld) – หลังเจราจาเป็นเวลา 12 ชั่วโมง ณ กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยม เมื่อวันที่ 7 มีนาคม สหภาพยุโรปหรืออียูและตุรกียังไม่สามารถบรรลุมาตรการใดๆเพื่อแก้ไขวิกฤตผู้อพยพครั้งใหญ่ในยุโรปนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยได้แต่เห็นชอบให้ทำการหารือเพิ่มอีก 10 วันก่อนที่จะสามารถลงนามข้อตกลงที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น

(VOVworld)หลังเจราจาเป็นเวลา 12 ชั่วโมง ณ กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยม เมื่อวันที่ 7 มีนาคม สหภาพยุโรปหรืออียูและตุรกียังไม่สามารถบรรลุมาตรการใดๆเพื่อแก้ไขวิกฤตผู้อพยพครั้งใหญ่ในยุโรปนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยได้แต่เห็นชอบให้ทำการหารือเพิ่มอีก 10 วันก่อนที่จะสามารถลงนามข้อตกลงที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น

ความท้าทายที่อียูและตุรกีต้องเผชิญในการแก้ไขปัญหาผู้อพยพ - ảnh 1
ผู้นำของตุรกีและอียูยังไม่สามารถบรรลุความเห็นพ้องเกี่ยวกับมาตรการแก้ปัญหาผู้อพยพ (Reuters)


ตามกำหนดการณ์ในเบื้องต้น การประชุมระดับสูงสหภาพยุโรปหรืออียูและตุรกีจะมีขึ้นเป็นเวลา 3 ชั่วโมง แต่ในทางเป็นจริงการประชุมดำเนินนานถึง 12 ชั่วโมงแล้วก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาผู้อพยพได้อย่างเบ็ดเสร็จ ในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนหลังการประชุม ทุกฝ่ายได้ประกาศว่า จะต้องทำการหารือเพิ่มอีกเพื่อสามารถลงนามข้อตกลงที่เป็นรูปธรรมเพื่อขัดขวางกระแสผู้อพยพไปยังยุโรป
ข้อเสนอของตุรกีที่ยากจะปฏิบัติได้
ตรงตามการคาดการณ์ของบรรดานักวิเคราะห์ก่อนการประชุม ตุรกีได้ใช้ความได้เปรียบอย่างเต็มที่เพื่อยื่นข้อเสนอที่เป็นประโยชน์แก่ตนเพราะบรรดาผู้นำอียูกำลังพึ่งพาตุรกีเพื่อแสวงหาทางออกให้แก่วิกฤตผู้อพยพในขณะที่ผู้อพยพส่วนใหญ่ที่ไปยังยุโรปต้องเดินทางผ่านตุรกีโดยทางการอังการาได้เรียกร้องให้อียูให้การช่วยเหลือเงินเพิ่มอีก 3 พันล้านยูโรภายในเวลา 2 ปี นอกเหนือจากวงเงินช่วยเหลือ 3พันล้านยูโรที่ได้ให้คำมั่นก่อนหน้านี้แล้ว ใช้ระเบียบการภูมิภาคเชงเกนต่อพลเมืองตุรกีในเดือนมิถุนายนนี้แทนปลายปีนี้และผลักดันการเจรจาเกี่ยวกับการขอเข้าเป็นสมาชิกอียูของตุรกี
ต่อข้อเสนอที่มากเกินไปดังกล่าวของตุรกี ดูเหมือนว่า อียูยากที่จะตอบสนองความต้องการนี้ได้ โดยยุโรปให้แต่คำมั่นว่า จะจัดสรรเงินมากกว่า 3 พันล้านยูโรให้แก่ตุรกีเพื่อให้การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ผู้อพยพ แต่ตัวเลขนี้จะไม่เกิน 6 พันล้านยูโรโดยจำนวนเงินช่วยเหลือที่แน่นอนจะได้รับการหารือต่อไปและอียูจะฟื้นฟูการเจรจาเกี่ยวกับการขอเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปของตุรกี แต่นี่คือเรื่องที่ไม่สามารถปฏิบัติได้โดยเร็วเพราะกระบวนการเจรจาต้องใช้เวลาหลายปี
ส่วนประเด็นเดียวที่อียูและตุรกีสามารถเห็นพ้องกันในการประชุมระดับสูงนี้คือ ทั้งสองฝ่ายพร้อมการสนับสนุนจากนาโตจะจับกุมแก๊งค้ามนุษย์ในทะเลอีเจียนซึ่งแอบส่งผู้อพยพจากตุรกีไปยังกรีซ
การประชุมระดับสูงอียู-ตุรกีได้เสร็จสิ้นลงโดยไม่มีการตัดสินใจใดๆที่เกี่ยวข้องถึงมาตรการรับมือกับวิกฤตผู้อพยพซึ่งสามารถเห็นได้ว่า อียูต้องการตุรกีมากกว่าที่ตุรกีต้องการอียู ดังนั้นถึงแม้ผลการประชุมจะยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของแต่ละฝ่ายได้ แต่การที่บรรดาผู้นำอียูชื่นชมข้อเสนอของทางการอังการาได้แสดงให้เห็นว่า อียูมีความประสงค์ที่จะบรรลุข้อตกลงขัดขวางกระแสผู้อพยพไปยังยุโรป โดยเฉพาะในสภาวการณ์ที่วิกฤตผู้อพยพกำลังทดสอบความสามัคคีระหว่างประเทศสมาชิกของอียู

ความท้าทายที่อียูและตุรกีต้องเผชิญในการแก้ไขปัญหาผู้อพยพ - ảnh 2
ผู้อพยพรรอได้เข้าไปยุโรป (Reuters)


ข้อตกลงโดยละเอียดยังอยู่ข้างหน้า
ทั้งนี้ ต้องรอถึงการประชุมสุดยอดประจำปีของสหภาพยุโรปซึ่งจะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 17-18 มีนาคมนี้เพื่อทราบว่า ยุโรปจะเห็นพ้องกับข้อเสนอของตุรกีเพื่อแก้ไขกระแสผู้อพยพไปยังยุโรปหรือไม่ แต่หลังการประชุม ได้เกิดความวิตกกังวลว่า การที่อียูยอมรับเงื่อนไขของตุรกีก็อาจจะเป็นตัวอย่างที่อันตราย เมื่อหลักการแห่งประชาธิปไตยของอียูจะกลายเป็นสิ่งที่ถูกใช้ในการแลกเปลี่ยนซึ่งจะทำให้อียูเสียชื่อเสียงอย่างรุนแรง ในขณะเดียวกัน นาย Vincent Cochetel ผู้อำนวยการของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติหรือ UNHCR ในยุโรปได้เผยว่า อนุสัญญาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของยุโรประบุว่า ห้ามทำการเนรเทศกลุ่มชาวต่างชาติและยังขัดกับกฎหมายยุโรปและกฎหมายสากล
เกี่ยวกับสมาชิกภาพอียู นาย มาร์ติน ชูลส์ ประธานสภายุโรปได้ประกาศว่า การเข้าเป็นสมาชิกของอียูไม่ได้เป็นเงื่อนไขเพื่อต่อรองให้ทางการอังการาปฏิบัติความรับผิดชอบของตนในปัญหาผู้อพยพ พร้อมทั้งย้ำว่า ยุโรปจะมีการแยกแยะอย่างชัดเจนระหว่างการเจรจาเพื่อเข้าเป็นสมาชิกอียูของตุรกีและวิกฤตผู้อพยพในปัจจุบัน
แต่ด้วยสถานะทางภูมิศาสตร์ที่สำคัญ ทุกความพยายามของประเทศสมาชิกอียูในการควบคุมเขตชายแดนจะไม่ได้ผลถ้าหากไม่มีความร่วมมือจากตุรกี ปัจจุบัน มีผู้อพยพชาวซีเรียเกือบ 4 ล้านคนกำลังอยู่ในตุรกีและถ้าหากทางการอังการาผ่อนปรนมาตรการรักษาความมั่นคง ผู้อพยพเหล่านี้จะแสวงหาทุกวิถีทางเพื่อไปยังยุโรปซึ่งจะสร้างวิกฤตด้านมนุษยธรรมที่รุนแรง
อียูจะมีการตัดสินใจสุดท้ายเกี่ยวกับข้อเสนอของตุรกีในการประชุมสุดยอดในสัปดาห์หน้า ดังนั้นต้องรอดูว่า จะมีมาตรการอะไรที่จะสามารถตอบสนองความต้องการของทุกฝ่ายได้หรือไม่ซึ่งก็ต้องรอดูผลรายละเอียดในการประชุมสุดยอดอียู-ตุรกีในอีก 10 วันข้างหน้า.

Feedback