ความตึงเครียดระหว่างอิหร่านกับสหรัฐนับวันรุนแรง

็Hong Van-VOV5
Chia sẻ
(VOVWORLD) -กระแสความวิตกกังวลเกี่ยวกับการปะทะในภูมิภาคตะวันออกกลางได้เกิดขึ้นอีกครั้งหลังจากที่เพนตากอนส่งกองเรือบรรทุกเครื่องบินไปยังเขตทะเลใกล้อิหร่าน ส่วนอิหร่านก็ได้ขู่ว่า จะฟื้นฟูกิจกรรมการเสริมสมรรถภาพแร่ยูเรเนียมในระดับสูงเป็นอันว่า ภายหลัง1ปีที่ประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ประกาศถอนตัวออกจากข้อตกลงนิวเคลียร์ที่มีชื่อว่าแผนปฏิบัติการร่วมในทุกด้านหรือJCPOAกับอิหร่าน ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศนี้นับวันตึงเครียดมากขึ้น ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพในภูมิภาคตะวันออกกลาง

ในช่วงที่ผ่านมา ทั้งอิหร่านและสหรัฐต่างมีมาตรการตอบโต้กันไปมาอย่างแข็งกร้าวแต่ถึงแม้นโยบายคว่ำบาตรของสหรัฐต่ออิหร่านในตลอด1ปีที่ผ่านมาอาจช่วยให้สหรัฐปฏิบัติแผนการลดอิทธิพลของอิหร่านได้แต่สิ่งที่เห็นกลับไม่ใช่ผลที่หวังไว้  

การตอบโต้ที่เหมาะสม

  สถานการณ์ในเขตอ่าวมีความซับซ้อนมากขึ้นเนื่องจากปฏิบัติการของสหรัฐและอิหร่านที่เกี่ยวข้องถึงข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านที่ได้ลงนามเมื่อปี2015 นับตั้งแต่ที่สหรัฐถอนตัวออกจากข้อตกลงนี้เมื่อปี2018ด้วยเหตุผลว่า ข้อตกลงดังกล่าวไม่สามารถควบคุมการทดลองยิงขีปนาวุธนำวิถีและการเข้าร่วมการปะทะต่างๆในภูมิภาคของอิหร่าน  สหรัฐได้เพิ่มแรงกดดันหลายครั้งต่ออิหร่าน รวมทั้ง การฟื้นฟูมาตรการคว่ำบาตร  โดยเฉพาะ ในด้านน้ำมัน

ในตลอด1ปีที่ผ่านมา สหรัฐได้ประกาศคำสั่งคว่ำบาตรต่างๆต่ออิหร่านถึงแม้ผลการตรวจสอบของสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศหรือไอเออีเอจะยืนยันว่า อิหร่านได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดต่างๆของข้อตกลงนิวเคลียร์อย่างสมบูรณ์และความตึงเครียดระหว่างสองประเทศก็ได้รุนแรงมากขึ้นหลังจากที่สหรัฐระบุกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลามของอิหร่านหรือ IRGC เข้าในรายชื่อองค์การก่อการร้าย ซึ่งสิ่งนี้ทำให้อิหร่านหมดความอดทนจนนำไปสู่การขู่ว่า จะปิดช่องแคบฮอร์มุซ  ซึ่งเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญของโลกและเมื่อวันที่8พฤษภาคม ประธานาธิบดีอิหร่านได้ประกาศว่า ภายหลัง60วัน อิหร่านจะลดการปฏิบัติคำมั่นต่างๆในข้อตกลงนิวเคลียร์และจะเดินหน้าเสริมสมรรถภาพยูเรเนียม ซึ่งเป็นกำหนดเส้นตายที่อิหร่านเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกที่เหลือของข้อตกลงนิวเคลียร์ที่ประกอบด้วยอังกฤษ จีน รัสเซีย ฝรั่งเศสและเยอรมนีต้องปฏิบัติตามคำมั่นเกี่ยวกับการปกป้องอุตสาหกรรมน้ำมันและการเงินของอิหร่านจากผลกระทบจากคำสั่งคว่ำบาตรของสหรัฐ

ภายหลังการประกาศดังกล่าวของประธานาธิบดีอิหร่านไม่กี่ชั่วโมง ประธานาธิบดีสหรัฐก็ได้ประกาศคำสั่งคว่ำบาตรต่ออิหร่านในด้านแร่ธาตุและโลหะ  ซึ่งเป็นสองด้านที่สร้างรายได้มากที่สุดให้แก่อิหร่านรองจากด้านปิโตรเลี่ยม พร้อมทั้ง เตือนว่า  จะได้รับผลกระทบหนักกว่านี้ถ้าหากอิหร่านไม่ปฏิบัติตามคำมั่นที่ให้ไว้และยังเป็นคำเตือนถึงประเทศต่างๆว่า การนำเข้าโลหะจากอิหร่านเป็นสิ่งที่สหรัฐไม่สามารถยอมรับได้

นอกจากการประกาศที่แข็งกร้าวแล้ว อีกสิ่งที่น่ากังวลคือสหรัฐได้ส่งกองเรือบรรทุกเครื่องบินUSS Abraham Lincolnและเครื่องบินบี52ไปยังพื้นที่รอบอิหร่าน  ในขณะเดียวกัน กองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลามของอิหร่านก็ส่งขีปนาวุธไปติดตั้งในเขตชายฝั่งทะเลที่มุ่งหน้าไปที่ช่องแคบฮอร์มุซ

  ประชามติโลกแสดงความวิตกกังวล

  การลงนามข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านถือเป็นเหตุการณ์ระหว่างประเทศที่โดดเด่นในปี2015และเป็นชัยชนะของฝ่ายต่างๆในการควบคุมการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของอิหร่านและถึงแม้สหรัฐจะถอนตัวจากข้อตกลงนี้เมื่อปี2018แต่อิหร่านก็ไม่เคยประกาศว่า จะละเมิดข้อตกลงนี้

  ดังนั้น การประกาศที่จะลดการปฏิบัติตามคำมั่นต่างๆในข้อตกลงนี้ของประธานาธิบดีอิหร่านเมื่อวันที่8พฤษภาคมที่ผ่านมาได้สร้างความวิตกกังวลต่อประเทศสมาชิกที่เหลือของข้อตกลงนิวเคลียร์และประชามติโลก นาย  อันโตนิโอ-กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติได้ยืนยันว่า ตัวเขาถือข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ในความพยายามทางการทูตเพื่อยุติการเผยแพร่นิวเคลียร์ ซึ่งมีส่วนร่วมต่อสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคและโลก ดังนั้น นาย อันโตนิโอ-กูเตอร์เรส จึงแสดงความหวังว่า ทุกฝ่ายจะปฏิบัติข้อตกลงนี้อย่างเคร่งครัด    ส่วนนาง Florence Parlyรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมฝรั่งเศสได้ให้ข้อสังเกตว่า  ไม่มีอะไรที่เลวร้ายเท่ากับการที่อิหร่านถอนตัวออกจากข้อตกลงนิวเคลียร์” ฝรั่งเศส อังกฤษและเยอรมนีกำลังพยายามธำรงข้อตกลงนิวเคลียร์ผ่านการเสนอความคิดริเริ่มเกี่ยวกับการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจให้แก่อิหร่าน    ส่วนจีนเห็นว่า การธำรงการปฏิบัติข้อตกลงดังกล่าวเป็นความรับผิดชอบของทุกฝ่ายและคัดค้านมาตรการคว่ำบาตรเพียงฝ่ายเดียวของสหรัฐต่ออิหร่าน

  ความล้มเหลวของข้อตกลงนิวเคลียร์ระหว่างอิหร่านกับกลุ่มพี5+1คือภัยที่ล่อแหลมต่ออิหร่านและโลก ถ้าหากสหรัฐเพิ่มแรงกดดันต่ออิหร่านตามคำประกาศของเจ้าหน้าที่สหรัฐ ก็อาจนำไปสู่ผลกระทบในทางลบที่ไม่คาดคิดเพราะถึงตอนนั้น ความล้มเหลวของข้อตกลงนิวเคลียร์ถือเป็นสิ่งที่น่ากังวลต่อความมั่นคงของโลก.

Feedback