ข้อตกลงทีพีพีเปิดทั้งโอกาสและความท้าทาย

Thanh Chung - Thu Hoa - VOV
Chia sẻ
(VOVworld) – หลังการเจรจาอย่างตึงเครียดรวม 20 นัด เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิกหรือทีพีพีได้รับการลงนามอย่างเป็นทางการ ณ เมือง โอ๊คแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อนที่ยิ่งใหญ่เพื่อการพัฒนาให้แก่เศรษฐกิจของเวียดนามแต่พร้อมกับโอกาสดีๆก็ยังมีความท้าทายรออยู่อีกไม่น้อย
(VOVworld) – หลังการเจรจาอย่างตึงเครียดรวม 20 นัด เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิกหรือทีพีพีได้รับการลงนามอย่างเป็นทางการ ณ เมือง โอ๊คแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อนที่ยิ่งใหญ่เพื่อการพัฒนาให้แก่เศรษฐกิจของเวียดนามแต่พร้อมกับโอกาสดีๆก็ยังมีความท้าทายรออยู่อีกไม่น้อย
ข้อตกลงทีพีพีเปิดทั้งโอกาสและความท้าทาย - ảnh 1
ข้อตกลงทีพีพีเปิดทั้งโอกาสและความท้าทาย (Photo Internet)
หลังจากที่ได้รับการลงนามและรัฐสภา 12 ประเทศสมาชิกอนุมัติ ทีพีพีจะกลายเป็นข้อตกลงที่สร้างเขตการค้าเสรีใหญ่ที่สุด โดยมีประชากร 800 ล้านคนและจีดีพี 2 หมื่น 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 30 มูลค่าการค้าของโลกและเกือบร้อยละ 40 ของการผลิตเศรษฐกิจโลก นี่คือข้อตกลงแบบบูรณาการ ที่มีคุณภาพสูงบนพื้นฐานที่สร้างความสมดุลระหว่างผลประโยชน์ของแต่ละประเทศและคำนึงถึงระดับการพัฒนาระหว่างประเทศที่เข้าร่วมทีพีพี รวมทั้งประเทศเวียดนาม
แรงกระตุ้นเพื่อขยายการส่งออก โดยเฉพาะหน่วยงานเสื้อผ้าสำเร็จรูป
ตามการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญหลายคน ข้อตกลงทีพีพีจะช่วยให้จีดีพีของเวียดนามเพิ่มอีก 2 หมื่น 3 พัน 5 ร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2020 และ 3 หมื่น 3 พัน 5 ร้อยล้านดอลลาร์ในปี 2025 ควบคู่กันนั้น การส่งออกจะเพิ่มอีก 6 หมื่น 8 พันล้านดอลลาร์ในปี 2025 ซึ่งการที่ตลาดใหญ่ๆ เช่น สหรัฐ ญี่ปุ่นและแคนาดาลดภาษีการนำเข้าเป็นร้อยละ 0 นั้นจะสร้างแรงกระตุ้นให้แก่การส่งออกของเวียดนามและมีความเป็นไปได้สูงที่หน่วยงานส่งออกสำคัญๆ เช่น สิ่งทอเสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและสัตว์น้ำ จะพัฒนาอย่างก้าวกระโดดในด้านมูลค่าการส่งออกไปยังตลาดเหล่านี้ ทีพีพียังอำนวยความสะดวกให้เวียดนามในด้านที่ดึงดูดการลงทุนจากสถานประกอบการ เครือบริษัทและสถานประกอบการใหญ่ๆของบรรดาประเทศที่เข้าร่วมทีพีพี โดยเฉพาะในด้านที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและมีมูลค่าสูง โดยสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปเป็นหน่วยงานที่ได้รับประโยชน์มากที่สุด นางดั๋งเฟืองยุง เลขาธิการ สมาพันธ์สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปเวียดนามเผยว่า “ทีพีพีเป็นข้อตกลงแห่งศตวรรษที่เอื้อประโยชน์ให้แก่สถานประกอบการของเวียดนาม โดยเฉพาะสถานประกอบการหน่วยงานสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป สำหรับข้อตกลงเอฟทีเอและทีพีพีเมื่อได้รับการลงนาม ประโยชน์แรกคือภาษีสินค้านำเข้าจะลดลง โดยเฉพาะสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป”
โอกาสมาพร้อมความท้าทาย
จากมูลค่าการนำเข้าและส่งออกที่สูงถึง 2 แสน 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐของบรรดาประเทศทีพีพี คาดว่า การเข้าร่วมข้อตกลงนี้จะช่วยให้การขยายตัวทางการค้าของเวียดนามเพิ่มขึ้นร้อยละ 20-30 แต่เพื่อใช้ประโยชน์จากทีพีพีให้ได้มากที่สุดรวมทั้งความได้เปรียบของตนหลังจากที่เข้าเป็นสมาชิก ก่อนอื่นเวียดนามต้องปรับปรุงนโยบายและกฎหมายเพื่อพัฒนาหน่วยงานที่ได้เปรียบ อย่างเช่น สิ่งทอเสื้อผ้าสำเร็จรูป สัตว์น้ำและผลิตภันฑ์การเกษตร เป็นต้น รวมทั้งต้องเป็นฝ่ายรุกในการเตรียมปัจจัยต่างๆ เช่น แรงงาน เงินทุน ที่ดินและทรัพยากร สำหรับหน่วยงานที่ไม่มีความได้เปรียบ เช่น ปศุสัตว์ ป่าไม้และอุตสาหกรรม ต้องทำการปรับปรุงโครงสร้างเพื่อเพิ่มผลผลิตให้มีประสิทธิภาพขึ้น
ข้อตกลงทีพีพีได้กำหนดมาตรฐานสูงพร้อมกับคำมั่นที่กว้างลึกและเงื่อนไขการปฏิบัติที่เข้มงวด ซึ่งไม่เพียงแต่มีความเกี่ยวข้องกับการค้าและการลงทุนเท่านั้นหากยังเกี่ยวข้องถึงด้านใหม่ที่สำคัญ เช่น ลิขสิทธิ์ทางปัญญา นโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สถานประกอบการภาครัฐ การใช้จ่ายของรัฐบาล แรงงานและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งทำให้เศรษฐกิจเวียดนามต้องเร่งการปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานภายใน ดร.หวอชี้แถ่ง อดีตรองหัวหน้าสถาบันวิจัยและบริหารเศรษฐกิจส่วนกลางเผยว่า          “ในข้อกำหนดส่วนใหญ่ของข้อตกลงทีพีพีมีส่วนเกี่ยวข้องกับนโยบายภายในประเทศ โดยปัญหาปลอดภาษีศุลกากร นโยบายและการประสานการปฏิบัติกีดกันการค้าและการลงทุนมากที่สุด ดังนั้น ผลประโยชน์ที่เราจะได้รับจากทีพีพีจะขึ้นอยู่กับการปฏิรูปของเรา การปฏิรูปนั้นต้องคำนึงถึงปัญหาเกี่ยวกับสถาบัน มีความเชื่อมโยงกับโครงการปฏิรูปสำคัญๆที่เน้นถึงการลงทุนภาครัฐ สถานประกอบการภาครัฐและองค์กรสินเชื่อ การปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนประกอบธุรกิจและการจัดสรรแหล่งพลังอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อปรับปรุงกลไกเศรษฐกิจเชิงตลาดให้มีความสมบูรณ์”
ข้อตกลงทีพีพีเปิดทั้งโอกาสและความท้าทาย - ảnh 2
นายหวูฮุยหว่าง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์

เร่งเตรียมพร้อมให้แก่การปฏิบัติทีพีพี
ในการประเมินเกี่ยวกับผลกระทบของข้อตกลงทีพีพี นายหวูฮุยหว่าง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ให้ข้อสังเกตว่า ทีพีพีจะช่วยยกระดับสถานะของเวียดนามบนเวทีภูมิภาคและโลก จากความพยายามเจรจาในตลอด 5 ปี ก็ถึงเวลาเสร็จสิ้นการเจรจาและลงนามอย่างเป็นทางการ เนื้อหาในข้อตกลงยังคงรักษาผลประโยชน์ของฝ่ายที่เข้าร่วม รวมทั้งประชาชนและสถานประกอบการเวียดนาม แม้เป็นประเทศที่จะได้ประโยชน์มากที่สุดจากทีพีพี แต่ในขณะนี้ เวียดนามต้องเตรียมพร้อมให้แก่เงื่อนไขต่างๆก่อนที่ข้อตกลงฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ นายหวูฮุยหว่างย้ำว่า “สิ่งแรกคือต้องทำการประชาสัมพันธ์เนื้อหาต่างๆของข้อตกลงให้สถานประกอบการทราบ ซึ่งเป็นฝ่ายที่จะปฏิบัติคำมั่นต่างๆเพื่อจะได้ประโยชน์จากข้อตกลง ควบคู่กันนั้นต้องเป็นฝ่ายรุกเพื่อรับมือกับความท้าทายต่างๆ สองคือต้องปรับปรุงกฎหมายให้มีความสมบูรณ์ ประกาศกฎหมายฉบับใหม่หรือแก้ไขและเพิ่มเติมกฎหมายที่ยังไม่เหมาะสม สามคือการปฏิบัติ หน่วยงานอุตสาหกรรมและพาณิชย์ต้องเดินหน้าในการปฏิบัติเนื้อหาของข้อตกลง ประสานงานอย่างใกล้ชิดกับกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อปฏิบัติคำมั่น พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกให้สถานประกอบการเข้าร่วมอย่างมีประสิทธิภาพ” คาดว่า หลังปี 2018 ข้อตกลงทีพีพีจะมีผลบังคับใช้ ซึ่งหลังจากที่ข้อตกลงฉบับนี้ได้รับการลงนามอย่างเป็นทางการ เพื่อตอบสนองความปรารถนาของชมรมสถานประกอบการและประชาชน บรรดานักวางนโยบายของเวียดนามได้มีปฏิบัติการอย่างเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพเพื่อจะได้ไม่พลาดโอกาสทองของประเทศในยุคแห่งการผสมผสานเข้ากับกระแสโลก.

Feedback