ข้อตกลงด้านนิวเคลียร์ของอิหร่านกับแรงกดดันจากสหรัฐ

Vân
Chia sẻ
(VOVWORLD) - ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับอิหร่านกำลังเกิดมรสุมครั้งใหม่หลังจากที่ทางการของนาย โดนัล ทรัมป์  ประธานาธิบดีสหรัฐเพิ่มแรงกดดันต่ออิหร่านผ่านหลายมาตรการ โดยเฉพาะเมื่อล่าสุดนี้คือการประกาศใช้มาตรการควํ่าบาตรด้านเศรษฐกิจเมื่อวันที่ 2 สิงหาคมที่ผ่านมา นาย โดนัล ทรัมป์ ได้ยํ้าว่า  การเพิ่มมาตรการควํ่าบาตรดังกล่าวก็ให้อิหร่านรู้ว่า สหรัฐจะไม่เพิกเฉยต่อปฏิบัติการที่อันตรายและสร้างความไร้เสถียรภาพของอิหร่าน แต่อย่างไรก็ตาม ประชามติได้แสดงความเห็นว่า มาตรการดังกล่าวของสหรัฐมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำลายข้อตกลงด้านนิวเคลียร์ระหว่างอิหร่านกับกลุ่มพี5+1ที่ประกอบด้วย จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย อังกฤษ เยอรมนีและสหรัฐที่ลงนามกันเมื่อปี 2015
ข้อตกลงด้านนิวเคลียร์ของอิหร่านกับแรงกดดันจากสหรัฐ - ảnh 1ภาพการประชุมประเมินเกี่ยกวับข้อตกลงนิวเคลียร์ระหว่างอิหร่านกับกลุ่มพี5+1 ณ ประเทศออสเตรีย (Photo: AFP) 

มาตรการควํ่าบาตรด้านเศรษฐกิจของสหรัฐต่ออิหร่านได้รับการอนุมัติในวันเดียวกันพร้อมการอนุมัติมาตรการควํ่าบาตรรัสเซียและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี โดยเจ้าหน้าที่สหรัฐได้เผยว่า มาตรการดังกล่าวคือมาตรการตอบโต้อิหร่านที่พัฒนาโครงการขีปนาวุธนำวิถี ซึ่งทำให้สถานการณ์ในภูมิภาคตึงเครียดมากขึ้น  การประกาศใช้มาตรการควํ่าบาตรดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่สหรัฐได้เตือนว่า อิหร่านไม่ได้ปฏิบัติตามข้อตกลงด้านนิวเคลียร์ระหว่างอิหร่านกับกลุ่มพี5+1

 สหรัฐเพิ่มแรงกดดันต่ออิหร่าน

มาตรการควํ่าบาตรด้านเศรษฐกิจของสหรัฐมุ่งเป้าไปยังบริษัทและบุคคลที่สนับสนุนการกระทำผิดกฎหมายและอาชญากรรมข้ามชาติ นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐได้ระบุชื่อองค์กร 2 แห่งของอิหร่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการขีปนาวุธนำวิถี

ก่อนการลงนามประกาศใช้มติเพิ่มมาตรการควํ่าบาตรต่ออิหร่าน ประธานาธิบดี โดนัล ทรัมป์ และนาย เร็กซ์ ทิลเลอร์สัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐได้เผยว่า อิหร่านยังคงเป็นหนึ่งในภัยคุกคามที่สำคัญที่สุดต่อผลประโยชน์ของสหรัฐและเสถียรภาพในภูมิภาค การกระทำของอิหร่านได้ส่งผลกระทบในทางลบต่อแผนปฏิบัติการร่วมที่สมบูรณ์หรือJCPOA และไม่แสดงให้เห็นถึงบทบาทการเป็นสมาชิก JCPOA ก่อนหน้านั้น เมื่อเดือนกรกฎาคม ประธานาธิบดี โดนัล ทรัมป์ ได้สั่งให้ที่ปรึกษาทำเนียบขาวเตรียมให้แก่การยุติข้อตกลงด้านนิวเคลียร์กับอิหร่านในเดือนตุลาคมนี้ และกำลังพิจารณาผลักดันการตรวจสอบฐานทัพของอิหร่านที่เข้าข่ายน่าส่งสัย ส่วนอิหร่านได้ประท้วงปฏิบัติการดังกล่าวของสหรัฐเนื่องจากเห็นว่าเป็นการกระทำที่ยั่วยุ นอกจากนี้ สหรัฐได้ประกาศมาตรการควํ่าบาตรต่อบุคคลและหน่วยงาน 18 แห่งที่สนับสนุนโครงการขีปนาวุธนำวิถีของอิหร่าน ส่วนกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐได้ให้เหตุผลว่า อิหร่านกำลังสนับสนุนทางการของนาย บาชาร์ อัล-อัสซาด ประธานาธิบดีซีเรีย

ส่วนบรรดานักวิเคราะห์ได้ให้ข้อสังเกตว่า การกระทำของสหรัฐมีลักษณะที่ยั่วยุให้อิหร่านทำลายข้อตกลงนิวเคลียร์ และยังมีนักวิชาการบางคนได้ยืนยันว่า ปฏิบัติการดังกล่าวของประธานาธิบดี โดนัล ทรัมป์อาจทำให้เกิดวิกฤติครั้งใหม่เพราะการยุติข้อตกลงกับอิหร่านอาจทำให้เตหะรานเชื่อมั่นว่า แสนยานุภาพด้านนิวเคลียร์คือมาตการที่ดีสุดที่เพื่อคํ้าประกันความมั่นคงของประเทศ ซึ่งอาจนำไปสู่การแข่งขันด้านอาวุธในภูมิภาคตะวันออกกลาง โดยมีการเข้าร่วมของซาอุดิอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่กำลังมีแผนพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์         

ข้อตกลงด้านนิวเคลียร์ของอิหร่านกับแรงกดดันจากสหรัฐ - ảnh 2ภาพโรงงานนิวเคลียร์ 

ท่าทีที่ระมัดระวังจากอิหร่าน

 หลังจากที่ประธานาธิบดีสหรัฐประกาศใช้มติเพิ่มมาตรการควํ่าบาตรต่ออิหร่าน เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม นาย ฮัสซัน โรฮานี ประธานาธิบดีอิหร่านได้พบปะกับนาง เฟเดอร์รีกา โมเกลีนี ตัวแทนระดับสูงดูแลนโยบายการต่างประเทศและความมั่นคงของสหภาพยุโรปหรืออียู โดยได้เรียกร้องให้ธำรงข้อตกลงด้านนิวเคลียร์ที่ฝ่ายต่างๆได้บรรลุเมื่อปี 2015 พร้อมทั้งยืนยันว่า อิหร่านไม่ใช่ประเทศแรกๆที่ละเมิดข้อตกลงด้านนิวเคลียร์ แต่ถ้าหากสหรัฐไม่ให้ความเคารพคำมั่นที่ให้ไว้ อิหร่านก็จะมีมาตรการตอบโต้อย่างเหมาะสมและเผยว่า มาตรการควํ่าบาตรครั้งใหม่ของสหรัฐที่มุ่งเป้าไปยังโครงการขีปนาวุธนำวิถีและกองกำลังป้องกันการปฏิวัติอิหร่านถือเป็นการละเมิดข้อตกลงด้านนิวเคลียร์เนื่องจากขัดขวางกระบวนการปรับความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างอิหร่านกับประเทศต่างๆให้เป็นปกติและส่งผลกระทบในทางลบต่อการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ

ส่วนเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม นาย จาวัด ซาริฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิหร่านได้เผยว่า หนึ่งในประเด็นที่ทางการเตหะรานให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆในนโยบายการต่างประเทศคือ การลดความตึงเครียดกับวอชิงตันและการธำรงบรรยากาศแห่งสันติภาพกับประเทศต่างๆ สำหรับแผนปฏิบัติการร่วมที่สมบูรณหรือJCPOA นาย จาวัด ซาริฟได้เผยว่า วอชิงตันไม่สามารถขัดขวางผลประโยชน์ที่อิหร่านได้รับจากข้อตกลงนี้ อีกทั้งให้คำมั่นที่จะปกป้องผลประโยชน์ของอิหร่านจากการปฏิบัติ JCPOA และยํ้าว่า สหรัฐจะได้รับความเสียหายจากการยุติข้อตกลงดังกล่าว ซึ่งนี่ถือเป็นก้าวเดินที่ชาญฉลาดของอิหร่านในปัจจุบัน ส่วนประชามติในตะวันออกกลางได้เผยว่า สหรัฐอาจมีแผนควํ่าบาตรที่หนักมากขึ้นต่ออิหร่านและพยายามหาทางเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของทางการอิหร่าน

ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับอิหร่านตึงเครียดมากขึ้นหลังจากที่นาย โดนัล ทรัมป์  ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยนาย โดนัล ทรัมป์ได้ตำหนิข้อตกลงด้านนิวเคลียร์ระหว่างอิหร่านกับกลุ่มพี5+1อย่างรุนแรง ซึ่งถือเป็นผลงานด้านการต่างประเทศที่สำคัญในสมัยของประธานาธิบดีบารัก โอบามา ทั้งนี้ การที่สหรัฐประกาศใช้มติเพิ่มมาตรการควํ่าบาตรต่ออิหร่านไม่เพียงแต่สร้างอุปสรรคต่ออิหร่านเท่านั้น หากยังส่งผลกระทบในทางลบต่อข้อตกลงด้านนิวเคลียร์ระหว่างอิหร่านกับกลุ่มพี5+1 อีกด้วย.

Feedback