การเจรจา ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย วันที่ 29 พฤศจิกายน (Photo: คณะผู้แทนอียูในกรุงเวียนนา / REUTERS) |
ในการเจรจารอบนี้ ฝ่ายต่างๆได้เห็นพ้องเกี่ยวกับก้าวเดินต่อไป รวมทั้งระเบียบวาระการประชุมที่เน้นถึงการยกเลิกคำสั่งคว่ำบาตรต่ออิหร่าน โดยในข้อความที่โพสต์ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ทวิตเตอร์ นาย Mikhail Ulyanov เอกอัครราชทูตรัสเซียประจำองค์การระหว่างประเทศในกรุงเวียนนาได้ให้ข้อสังเกตว่า การเจรจารอบนี้ได้เสร็จสิ้นลง โดยประสบความสำเร็จในเบื้องต้น ส่วนนาย Ali Bagheri Kani หัวหน้าคณะเจรจาด้านนิวเคลียร์ของอิหร่านเห็นด้วยกับจุดยืนดังกล่าวของฝ่ายรัสเซีย พร้อมทั้งแสดงความเชื่อมั่นต่อการพบปะครั้งต่างๆที่มีขึ้นเมื่อเร็วๆนี้
โอกาสการสร้างความกลมกลืนระหว่างผลประโยชน์และจุดยืนของฝ่ายต่างๆ
ก่อนการเจรจารอบนี้ ฝ่ายต่างๆยังคงมีจุดยืนที่แตกต่างกัน ซึ่งปัญหาหลักก็คือการยกเลิกคำสั่งคว่ำบาตรต่ออิหร่าน โดยอิหร่านได้ยืนยันท่าทีที่จริงจังในการเจรจาต่างๆเพื่อฟื้นฟูข้อตกลงนิวเคลียร์และมีจุดยืนที่ชัดเจนคือ ทุกคำสั่งคว่ำบาตรต่ออิหร่านต้องได้รับการยกเลิก สิทธิและผลประโยชน์ของประชาชนอิหร่านต้องได้รับการค้ำประกัน อิหร่านได้เรียกร้องให้สหรัฐยกเลิกการอายัดทรัพย์สินของอิหร่าน มูลค่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อแลกกับการได้กลับเข้าร่วมการเจรจา ในขณะเดียวกัน ประธานาธิบดีสหรัฐ โจ ไบเดนก็ได้กล่าวถึงการที่สหรัฐอยากกลับเข้าร่วมข้อตกลงนิวเคลียร์ปี 2015
แต่อย่างไรก็ดี ก่อนการเจรจา นาย Robert Malley ทูตพิเศษของสหรัฐเกี่ยวอิหร่านได้เผยว่า สัญญาณจากอิหร่านไม่ใช่สิ่งที่น่ายินดี ซึ่งสหรัฐเข้าร่วมการเจรจาผ่านการทาบทามความคิดเห็นกับประเทศสมาชิกอื่นๆที่เข้าร่วม JCPOA ส่วนรัสเซียได้มีการทาบทามอย่างไม่เป็นทางการเพื่อทำความเข้าใจจุดยืนของฝ่ายต่างๆ และจุดยืนของรัสเซียคือเพิ่มแรงกดดันเพื่อผลักดันความคืบหน้าของการเจรจาหลังจากที่ชะงักงันเป็นเวลานาน
แม้จะบรรลุผลงานต่างๆในการเจรจา 6 รอบที่ผ่านมา แต่เป้าหมายหลักคือฟื้นฟูข้อตกลง JCPOA อย่างสมบูรณ์ยังไม่สามารถบรรลุได้ตามความคาดหวัง ที่ตั้งไว้ในรอบนี้คือจะกอบกู้ข้อตกลงนี้ในสภาวการณ์ที่ประชามติกังวลว่า อิหร่านกำลังแอบผลักดันโครงการนิวเคลียร์และมีวิธีการเข้าถึงอย่างแข็งกร้าว
มีโอกาสฟื้นฟู
JCPOA ประสบความล้มเหลวเมื่อปี 2018 หลังจากที่อดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ตัดสินใจถอนสหรัฐออกจากข้อตกลงนี้และประกาศใช้มาตรการคว่ำบาตรต่ออิหร่าน ซึ่งทำให้เศรษฐกิจอิหร่านเป็นอัมพาต แต่หลังจากที่ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำสหรัฐ ประธานาธิบดี โจ ไบเดนได้ยืนยันว่า พร้อมที่จะนำสหรัฐกลับเข้าร่วมข้อตกลงนี้ถ้าหากอิหร่านปฏิบัติคำมั่นต่างๆอย่างสมบูรณ์ผ่านการยุติกิจกรรมด้านนิวเคลียร์ที่มีเป้าหมายเพื่อตอบโต้มาตรการคว่ำบาตรของอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์
อิหร่านได้จัดการเจรจาทางอ้อม 6 รอบกับทางการประธานาธิบดี โจ ไบเดนเกี่ยวกับการกลับเข้าร่วมข้อตกลงด้านนิวเคลียร์ปี 2015แต่การเจรจาดังกล่าวต้องชะงักงันนับตั้งแต่เดือนมิถุนายนหลังจากที่นาย Ebrahim Raisi ซึ่งเป็นผู้ที่มีจุดยืนที่แข็งกร้าวและต่อต้านฝ่ายตะวันตกขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ของอิหร่าน ถึงแม้อิหร่านประกาศว่า พร้อมที่จะฟื้นฟูการเจรจาแต่ก็ไม่มีการกำหนดกรอบเวลาจัดการเจรจา นอกจากนี้ การที่อิหร่านลดคำมั่นต่างๆในกรอบ JCPOA ได้สร้างความวิตกกังวลต่อประชามติ ในสภาวการณ์นี้ อียูและประเทศมหาอำนาจต่างๆได้พยายามเป็นอย่างมากเพื่อฟื้นฟูการเจรจาเพื่อมุ่งสู่การกอบกู้ข้อตกลงด้านนิวเคลียร์
ในขณะที่สหรัฐยังคงแสดงความระมัดระวังต่อการประกาศของอิหร่านแต่บรรดานักวิเคราะห์ยังคงเชื่อมั่นว่า อิหร่านยังคงสนับสนุนให้สหรัฐกลับเข้าร่วม JCPOA เพราะอิหร่านต้องการลดมาตรการคว่ำบาตรและสิ่งนี้ไม่สามารถทำได้ถ้าหากไม่มีการยอมรับจากสหรัฐ ดังนั้น การที่อิหร่านยอมกลับเข้าร่วมการเจรจาถือเป็นการแสดงให้เห็นถึงเจตนาที่ดีเพื่อเปิดความสัมพันธ์อันดีงามในอนาคต แม้กระบวนการนำอิหร่านกลับมาปฏิบัติคำมั่นต่างๆในกรอบ JCPOA ยังจะยาวไกลแต่การฟื้นฟูการเจรจาได้ช่วยตั้งความหวังที่สดใสเกี่ยวกับการฟื้นฟูข้อตกลงครั้งประวัติศาสตร์นี้.