โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Bushehr ในอิหร่าน (Fatemeh Bahrami/Anadolu Agency) |
ในแถลงการณ์อย่างเป็นทางการหลังจากได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีของอิหร่าน นาย อิบราฮิม ไรซี ได้ให้คำมั่นว่า จะดำเนินแนวทางเจรจาเพื่อฟื้นฟูข้อตกลงนิวเคลียร์ นี่ถือเป็นสัญญาณในเชิงบวกสำหรับกระบวนการเจรจาถึงแม้เส้นทางไปสู่การประนีประนอมขั้นสุดท้ายยังคงได้รับการประเมินว่า จะต้องใช้เวลาอีกนานและเต็มไปด้วยอุปสรรคมากมาย
สัญญาณที่น่ายินดีสำหรับการเจรจา
ตามความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์ การที่ว่าที่ประธานาธิบดีอิหร่านให้คำมั่นเดินหน้าทำการเจรจาเพื่อฟื้นฟูข้อตกลงก็หมายความว่า ประเทศอิหร่านจะไม่ละทิ้งการเจรจาที่กำลังดำเนินอยู่ ณ กรุงเวียนนา และทุกฝ่ายจะไม่ต้อง "เริ่มกระบวนการเจรจาใหม่ตั้งแต่ต้น" เหมือนที่หลายฝ่ายวิตกกังวลก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีอิหร่าน หรือพูดอีกแบบคือคำมั่นของว่าที่ประธานาธิบดีอิหร่านที่จะทำการเจรจาต่อไปถือเป็นการค้ำประกันจากอิหร่านว่า กระบวนการเจรจานี้จะไม่กลับไปยังจุดเริ่มต้นอีก เมื่อนาย อิบราฮิม ไรซี เข้ารับตำแหน่งผู้นำอิหร่านแทนประธานาธิบดี Hassan Rouhani ในเดือนสิงหาคมนี้
ในสภาวการณ์ดังกล่าว เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน นาย Heiko Maas รัฐมนตรีต่างประเทศของเยอรมนีได้ประกาศว่า อิหร่านและประเทศมหาอำนาจได้บรรลุความคืบหน้าในการเจรจาเพื่อฟื้นฟูข้อตกลง JCPOA ในการให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหลังการประชุมกับรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ Antony Blinken ณ กรุงเบอร์ลิน นาย Heiko Maas ได้กล่าวว่า ยังคงมีความเป็นไปได้ที่จะบรรลุข้อตกลงหลังจากที่อิหร่านมีผู้นำคนใหม่ เช่นเดียวกับทัศนะนี้ ในแถลงการณ์เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ตัวแทนระดับสูงของสหภาพยุโรปหรืออียูที่ดูแลนโยบายด้านความมั่นคงและการต่างประเทศ Josep Borrell ยังแสดงความเห็นว่า ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกำลังเข้าใกล้ข้อตกลงมากขึ้นและยังมีโอกาสเพื่อบรรลุข้อตกลงเพื่อฟื้นฟู JCPOA หลังจากที่นาย อิบราฮิม ไรซี ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีของอิหร่าน"
ในขณะเดียวกัน เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน สื่อของอิหร่านได้อ้างคำกล่าวของนาย Mahmoud Vaezi ปลัดสำนักประธานาธิบดีอิหร่านว่า ทางการสหรัฐและอิหร่านได้บรรลุข้อตกลงที่จะยกเลิกการคว่ำบาตรทั้งหมดต่อด้านการประกันภัย น้ำมันและการขนส่งประมาณ 1,040 ข้อที่ถูกประกาศใช้ในสมัยของอดีตประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ สามารถเห็นได้ว่า ความคืบหน้าที่ได้บรรลุในการเจรจาควบคู่กับคำมั่นของว่าที่ประธานาธิบดีอิหร่านในการธำรงการเจรจาเป็นสัญญาณที่น่ายินดีสำหรับกระบวนการนี้ แต่อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ได้หมายความว่าโอกาสเพื่อบรรลุก้าวกระโดดในการเจรจาจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัญหาดังกล่าวมีความซับซ้อนและได้รับอิทธิพลจากหลายปัจจัย
ประธานาธิบดีอิหร่าน Ebrahim Raisi (Arash Khamooshi/ The New York Times) |
ยากที่จะบรรลุผลงานในเชิงบวก
ในทางเป็นจริง การเจรจานิวเคลียร์อิหร่านในเวลาที่ผ่านมาเช่นเดียวกับในช่วงหลายปีก่อนได้แสดงให้เห็นว่า ความแตกต่างในทัศนะหรือบางกรณีเป็นความขัดแย้งกันระหว่างสหรัฐกับอิหร่านในการแก้ไขปัญหาต่างๆคือเป็นอุปสรรคสำคัญในการไปสู่ข้อตกลง โดยสหรัฐยังคงต้องการให้อิหร่านฟื้นฟูหน้าที่ที่ได้ให้คำมั่นไว้ในข้อตกลง JCPOA ก่อนที่จะมีการพิจารณายกเลิกการคว่ำบาตร ในขณะที่อิหร่านเรียกร้องให้ยกเลิกการคว่ำบาตรก่อน
นอกจากความยากลำบากเกี่ยวกับวิธีการเข้าถึงปัญหาที่แตกต่างกันแล้ว สหรัฐและอิหร่านยังมีมุมมองที่ไม่ตรงกันในปัญหาระดับภูมิภาคอื่นๆ โดยเฉพาะในสงครามอิรักและซีเรียซึ่งต่างเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องถึงปัญหานิวเคลียร์ นอกจากนั้น สำหรับทางการสหรัฐ การตัดสินใจต่างๆในการเจรจานิวเคลียร์กับอิหร่านจะต้องคำนึงถึงทัศนะของพันธมิตรที่สำคัญในภูมิภาค เช่น อิสราเอลหรือซาอุดิอาระเบียด้วย ส่วนสำหรับทางการอิหร่าน การปรับปรุงแนวทางการเจรจา โดยเฉพาะ การผ่อนปรนจะต้องคำนึงถึงแรงกดดันจากประชามติภายในประเทศ โดยเฉพาะผู้นำสูงสุดทางจิตวิญญาณของอิหร่าน Ali Khamenei
ในสภาวการณ์ดังกล่าว จนถึงขณะนี้ ทั้งสหรัฐและอิหร่านต่างประกาศว่า ยังไม่มีแผนการจัดการประชุมสุดยอดระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐกับว่าที่ประธานาธิบดีอิหร่าน ดังนั้น ความเป็นไปได้ที่จะบรรลุความคืบหน้าเชิงก้าวกระโดดในการเจรจานิวเคลียร์เมื่ออิหร่านมีประธานาธิบดีคนใหม่จึงมีโอกาสน้อยมาก ซึ่งหมายความว่า ทั้งสหรัฐ อิหร่านและฝ่ายที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องมีทัศนะในเชิงบวกในการเจรจารอบต่อไปเพื่อเพิ่มความหวังในการฟื้นฟูข้อตกลง JCPOA./.