(VOVworld)-วันที่๙กรกฎาคม ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอินโดนีเซียจะออกไปใช้สิทธิ์เลือกประธานาธิบดีคนใหม่เพื่อสานต่อภารกิจของนายซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนี้ถือเป็นการแข่งขันที่เข้มข้นระหว่างนายโจโก วิโดโด้ อดีตผู้ว่าการกรุงจาการ์ต้า นักการเมืองสายปฏิรูปประชาธิปไตยและนายพล.ปราวันโบ สุเบียนโต ซึ่งเป็นบุคคลที่ชาวอินโดนีเซียกังวลว่าจะนำประเทศกลับสู่การปกครองแบบเผด็จการ แต่ถึงอย่างไรก็ดีคะแนนระหว่างคู่แข่งนี้กำลังสูสีกันบวกกับแนวทางการหาเสียงที่แตกต่างพร้อมด้วยความสำคัญของการเลือกตั้งครั้งนี้ได้ทำให้การชิงเก้าอิ้ผู้นำอินโดนีเซียเป็นการแข่งขันที่เข้มข้นและยากที่จะเดาผลได้
การเลือกตั้งเป็นการแข่งขันที่เข้มข้นระหว่างนายโจโก วิโดโด้ อดีตผู้ว่าการกรุงจาการ์ต้า และนายพล.ปราวันโบ สุเบียนโต(Reuter)
|
จะมีชาวอินโดนีเซียประมาณ๑๙๐ล้านคนออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งตามคูหาต่างๆเกือบ๕แสนแห่งในทั่วประเทศ ส่วนสำหรับผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอินโดนีเซียที่อาศัยในต่างประเทศ๒ล้านคนได้ไปใช้สิทธิ์แล้วเมื่อวันที่๔-๖กรกฎาคมตามสถานทูตของอินโดนีเซียในประเทศต่างๆ
ประชามติเห็นว่า การแข่งขันระหว่างนายโจโก วิโดโด้ อดีตผู้ว่าการกรุงจาการ์ต้า และนายพล. ปราวันโบ สุเบียนโตเป็นการท้าชิงระหว่างฝ่ายปฏิรูปและฝ่ายอนุรักษ์นิยม โดยดร.อาเล็กซานเดอร์ อารีฟีอานโต จากสถาบันวิจัยเอเชียตะวันออกเชียงใต้ของสิงคโปร์ได้แสดงความเห็นว่า การเลือกตั้งครั้งนี้มีความหมายสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพราะชาวอินโดนีเซียกำลังกดดันให้รัฐบาลต้องทำการปฏิรูประบบการเมืองที่ได้ดำเนินการมาตลอด๕๐ปีนับตั้งแต่ประเทศอินโดนีเซียกลายเป็นประเทศประชาธิปไตย ส่วนนักวิเคราะห์การเมืองอิสระ โพล โรว์แลนด์ ในจาการ์ต้าเห็นว่า นี่คือการเลือกตั้งเพื่อกำหนดว่าอินโดนีเซียจะเดินก้าวหน้าต่อไปหรือเดินถอยหลัง
คะแนนสนับสนุนที่สูสีกัน
การชิงชัยตำแหน่งผู้นำอินโดนีเซียครั้งนี้ได้กลายเป็นการแข่งขันที่เข้มข้นเพราะจากโพลล์ล่าสุด เสียงสนับสนุนให้แก่ผู้ลงสมัครตัวเก็งทั้งสองคนไม่ห่างกันมากนักดังนั้นการเรียกคะแนนเสียงสนับสนุนของทั้งสองฝ่ายในโค้งสุดท้ายนี้จึงมุ่งเป้าไปยังผู้มีสิทธิ์ออกเสียงประมาณร้อยละ๒๐ที่ยังไม่ตัดสินใจว่าจะเลือกใคร
ส่วนตามความเห็นของผู้สังเกตการณ์ การแข่งขันที่ถือว่าเข้มข้นที่สุดจะอยู่ที่เขตชนบทของชวา ซึ่งเป็นท้องถิ่นที่รวมประชากรอินโดนีเซียมากถึงร้อยละ๔๐ และเพื่อให้มีชัยเหนือคู่แข่งทั้งสองฝ่ายจะต้องพิสูจน์ให้เห็นถึงความสามารถในการเป็นผู้นำที่มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับประชาชน ให้ความสนใจต่อการช่วยเหลือประชาชนมากขึ้นเพื่อให้ผู้ยากจนโดยเฉพาะเกษตรกรที่คิดเป็นครึ่งหนึ่งของประชากรในชวามีชีวิตที่ดีขึ้น ดังนั้นผู้ลงสมัครคนใดที่สามารถเรียกการสนับสนุนจากเกษตรกรผ่านนโยบายทางเศรษฐกิจที่ถูกต้องก็จะได้กลายเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของอินโดนีเซีย
ดังนั้นในแนวทางการหาเสียงเลือกตั้งของตน นายโจโก วิโด โด้ให้คำมั่นที่จะนำความเปลี่ยนแปลงใหม่แบบก้าวกระโดดมาให้แก่อินโดนีเซีย ให้ความสนใจพัฒนาการเกษตรและดูแลสุขภาพของผู้ยากจน ส่วนสำหรับคำมั่นของนายพลปราวันโบ สุเบียนโต คือการให้ความสนใจต่อสวัสดิการสังคมเป็นอันดับแรก ค้ำประกันสิทธิต่างๆของมนุษย์และสร้างสรรค์ระบบเศรษฐกิจเพื่อประชาชนด้วยการเพิ่มงบประมาณสำหรับภาคการเกษตรขึ้น๑๐เท่า
นายโจโก วิโด พบปะหารือกับเกษตรกร(AP)
|
ความท้าทายที่กำลังรอผู้นำคนใหม่
ทั้งนี้ ไม่ว่าใครจะเป็นผู้ชนะและได้ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำอินโดนีเซียต่างก็ต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆที่ทำได้ไม่ง่ายนักในประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับ๔ของโลก
การควบคุมปัญหาคอร์รัปชั่นและฟื้นฟูความยุติธรรมคือปัญหาแรกที่รัฐบาลชุดใหม่ต้องแก้ไข โดยตามการจัดอันดับคะแนนคอร์รัปชั่นขององค์การความโปร่งใสสากล อินโดนีเซียอยู่อันดับที่๑๑๔/๑๗๗ประเทศ ส่วนในรายงานการแข่งขันระหว่างประเทศของฟอรั่มเศรษฐกิจโลกระบุว่า คอร์รัปชั่นยังคงเป็นปัญหาที่ขัดขวางกิจกรรมการประกอบธุรกิจในอินโดนีเซีย
ปัญหาอันดับสองที่ต้องให้ความสนใจคือการปฏิรูปเศรษฐกิจ ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ อัลดีอาน ตาโลปูตรา จากบริษัทหุ้น มานดีรี เซกูรีตาส ในกรุงจาการ์ต้าเห็นว่า ประธานาธิบดีอินโดนีเซียคนใหม่จะต้องสานต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจที่มีการขยายตัวเชื่องช้าที่สุดนับตั้งแต่ปี๒๐๐๙ ค่าเงินรูเปียห์อ่อนตัวลงอยู่ในระดับต่ำสุดคือร้อยละ๒๐ ราคาเชื้อเพลิงและพลังงานรวมทั้งค่าใช้จ่ายในการนำเข้าน้ำมันและธัญญาหารที่เพิ่มขึ้น
นอกจากนั้น การแก้ปัญหาความยากจนของอินโดนีเซียก็เป็นความท้าทายใหญ่สำหรับรัฐบาลและประธานาธิบดีคนใหม่ โดยตามข้อมูลจากธนาคารโลก ความเลื่อมล้ำในอินโดนีเซียนับวันเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสามารถเห็นได้จากดัชนีความเลื่อมล้ำด้านรายได้ที่เพิ่มจาก๐.๓๕จุดเมื่อปี๒๐๐๕ขึ้นเป็น๐.๔๑เมื่อปี๒๐๑๒ อันเป็นการบ่งชี้ถึงความไร้เสถียรภาพทางสังคม ในขณะที่ตัวเลขจากสำนักงานสถิติแห่งชาติอินโดนีเซียปรากฎว่า จำนวนประชากรที่ใช้ชีวิตต่ำกว่ามาตรฐานความยากจนของรัฐบาลคิดเป็นร้อยละ๑๑.๕ของประชากรทั้งหมด
ในฐานะเป็นประเทศอิสลามที่ใหญ่ที่สุดในโลกและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันที่๙กรกฎาคมนี้จึงมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งในกระบวนการพัฒนาประเทศอินโดนีเซียในศตวรรษที่๒๑ ดังนั้นการเลือกผู้นำคนใหม่ที่มีความสามารถเพื่อบริหารประเทศนั้นถือเป็นการตัดสินใจที่ไม่ง่ายนักสำหรับผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอินโดนีเซีย./.