(VOVworld)-นายวลาดีมี ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียเพิ่งเสร็จสิ้นการเยือน ๓ ประเทศในตะวันออกกลางได้แก่ อิสราเอล ปาเลสไตยและราชอาณาจักรจอร์แดนเพื่อหารือสถานการณ์ซีเรียและอิหร่านรวมถึงความเป็นไปได้ในการแสวงหามาตรการแก้ไขการพิพาทระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ด้วยสันติวิธี แม้จะปรากฎตัวในจุดที่ร้อนแรงที่สุดของโลกเพียง ๔๘ ชั่วโมงเท่านั้น แต่การเยือนครั้งนี้ของเจ้าของวังเครมลินก็ถือเป็นการส่งสัญญาณที่ชัดเจนโดยยืนยันถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบายการต่างประเทศของรัสเซียอย่างแข็งขันเพื่อเสริมสร้างฐานะของรัสเซียในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือและสร้างความหวังใหม่แห่งสันติภาพให้แก่ภูมิภาคตะวันออกกลาง
|
ประธานาธิบดีรัสเซียและนายกฯอิสราเอล ( Ria ) |
อิสราเอลเป็นประเทศแรกในการเยือนตะวันออกกลางของนายปูติน โดยได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากวงการสื่อสารมวลชนเพราะตามกำหนดการนอกจากหารือปัญหาความร่วมมือทวิภาคีแล้ว ประธานาธิบดีวลาดีมี ปูตินยังเจรจากับนายกฯอิสราเอล เบนจามิน เนทันยาฮู ในประเด็นร้อนๆของภูมิภาคไม่ว่าจะเป็นกระบวนการสันติภาพในตะวันออกกลาง ปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่านและวิกฤตการณ์ในซีเรีย
รัสเซียเป็นพันธมิตรของอิหร่านและซีเรียซึ่งสองประเทศนี้เป็นอริกับอิสราเอล ดังนั้นวงการวิเคราะห์ทางการเมืองต่างเห็นว่า การเลือกอิสราเอลเป็นประเทศแรกในการเยือนภูมิภาคตะวันออกกลางของประธานาธิบดีวลาดีมี ปูตินถือว่ามีนัย โดยก่อนอื่นมอสโคว์อยากแสวงหาความสนับสนุนและขว้างหินถามทางเกี่ยวกับท่าทีของฝ่ายๆในมาตรการแก้ไขปัญหาซีเรียของตนโดยเฉพาะท่าทีของอิสราเอล เทล อาวิฟและมอสโคว์ได้มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมมาเป็นเวลานานเนื่องจากมีชาวสหภาพโซเวียดกว่า ๑ ล้านคนกำลังอาศัยอยู่ในอิสราเอลแต่ความสัมพันธ์ทางการเมืองกลับตึงเครียดเพราะอิสราเอลอยู่ในกลุ่มประเทศอาหรับบางประเทศที่ต่อต้านอดีตสหภาพโซเวียดด้วยเหตุนี้ การเลือกเยือนภูมิภาคที่กำลังร้อนระอุในปัจจุบันนั้น นายปูตินอยากย้ำถึงบทบาทสำคัญของตะวันออกกลางในนโยบายการต่างประเทศของตน ซึ่งยิ่งไปกว่านั้นคือผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ โดยปี ๒๐๑๑ การค้าระหว่างสองประเทศมีมูลค่าประมาณ ๓ พันล้านเหรียญสหรัฐและมีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้น อิสราเอลเป็นประเทศชั้นนำในด้านเทคนิกที่อยู่ในเป้าหมายของรัสเซียในการดำเนินโครงการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงปัญญาซึ่งเริ่มดำเนินกิจการแล้วคือโครงการไฮเทคสกอลโกโว ส่วนอิสราเอลก็อยากอาศัยประโยชน์ของมอสโคว์ในการช่วยเทล อาวิฟขุดเจาะบ่อแก๊ซธรรมชาติในทะเลเมดิเตอเรเนียน อาจกล่าวได้ว่า แม้สองประเทศรัสเซียและอิสราเอลยังมีความคิดเห็นแตกต่างกันในปัญหาระหว่างประเทศบางประเด็นก็ตาม แต่การพบปะระหว่างผู้นำในครั้งนี้สำคัญยิ่งเพราะสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนทัศนะคติในระดับสูงและมีความเข้าใจกันยิ่งขึ้นซึ่งได้ประสบความสำเร็จเกินความคาดหมาย โดยความร่วมมือระหว่างอิสราเอลกับรัสเซียได้พัฒนาอย่างรวดเร็วในด้านพลังงาน การเกษตร เภสัชและอุตสาหกรรมอวกาศ ซึ่งเป็นรูปธรรมคือในปี ๒๐๑๓ รัสเซียจะตั้งสถานีติดตั้งดาวเทียมในอิสราเอลและสั่งซื้อเครื่องบินไร้คนขับของอิสราเอลมูลค่า ๕๐ ล้านเหรียญสหรัฐ
ในการเยือนปาเลสไตน์ ประธานาธิบดีปูตินได้มีการเจรจากับนาย มาห์มุด อาบบาสประธานาธิบดีปาเลสไตน์ ณ เมืองเบธเลเฮมโดยเน้นหารือมาตรการแก้ไขทางการเมืองให้แก่การพิพาทระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตย รัสเซียเข้าร่วมการเคลื่อนไหวต่างของกลุ่ม ๔ ฝ่ายซึ่งประกอบด้วยรัสเซีย สหรัฐ สหประชาชาติและสหภาพยุโรปอย่างกระตือรือร้นเพื่อเร่งรัดกระบวนการสันติภาพในตะวันออกกลางเพื่อเป้าหมายสุดท้ายคือ การจัดตั้งรัฐปาเลสไตน์ที่เอกภาพและเอกราช มีพื้นที่เยรูซาเลมตะวันออกรวมอยู่ด้วย ดังนั้น ในการเยือนตะวันออกกลางครั้งนี้ นายปูตินได้ย้ำว่าพร้อมที่จะรับรองรัฐปาเลสไตน์ที่เอกราช พร้อมทั้งเรียกร้องให้อิสราเอลและปาเลสไตน์รื้อฟื้นการเจรจา ซึ่งถือเป็นลู่ทางเดียวเพื่อแก้ไขปัญหาระหว่างสองประเทศดังกล่าว แต่กระแสข่าวต่างวิเคราะกันห์ว่า การผลักดันก้าวเดินที่แข็งขันให้แก่ตะวันออกกลางไม่ใช่เรื่องง่ายนัก โดยการเจรจาตรงระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ได้รับการฟื้นฟูตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมาแต่ก็ต้องชะงักลงทันทีเนื่องจากนายกฯอิสราเอล เนทันยาฮูและประธานาธิบดีมาห์มุด อาบบาสได้มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างมาก ซึ่งฝ่ายเทล อาวิฟพร้อมที่จะรื้อฟื้นการเจรจาโดยปราศจากเงื่อนไขล่วงหน้า ส่วนประธานาธิบดี มาห์มุด อาบบาสได้แถลงว่า จะเจรจากับอิสราเอลก็ต่อเมื่ออิสราเอลยุติการก่อสร้างเขตที่อยู่อาศัยให้แก่ชาวยิวในฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดนและเบรูซาเลมตะวันออก ซึ่งอิสราเอลกำลังยึดครองรวมทั้งฉนวนกาซาด้วย ในการเยือนภูมิภาคนี้ นายปูตินได้แสดงความยินดีต่อทัศนะคติที่แสดงให้เห็นความรับผิดชอบของประธานาธิบดีอาบบาส พร้อมทั้งเตือนว่า ปฏิบัติการแต่เพียงฝ่ายเดียวก่อนที่จะสามารถแสวงหาได้มาตรการแก้ไขอย่างสันติได้นั้นล้วนมีผลในทางกลับกัน นับเป็นคำปราศรัยที่ถือว่าเอาใจทุกฝ่ายอีกทั้งยังแสดงให้เห็นว่ารัสเซียพร้อมที่จะสวมบทนักสร้างสันติภาพในตะวันออกกลาง
ประเทศสุดท้ายในการเยือนตะวันออกกลางของประธานาธิบดี วลาดีมี ปูตินคือราชอาณาจักรจอร์แดน โดยนายปูตินได้เจรจากับมกุฎราชกุมาร อับดูลเลาะ อัล ฮุสเซนเพื่อขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างสองประเทศและหารือเรื่องรัสเซียก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในจอร์แดน การเยือนตะวันออกกลางเพียง ๒ วันของประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีมี ปูตินได้สร้างความหวังหลายประการ โดยเฉพาะการแสวงหาปมแก้ไขให้แก่กระบวนการสันติภาพในตะวันออกลาง การปรากฎตัวของนายปูตินในตะวันออกกลางซึ่งมีซีเรียที่เป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดนั้น มอสโควได้ส่งสัญญาณเกี่ยวกับบทบาทของตนในการแสวงหามาตรการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเมืองในซีเรีย อีกทั้งเป็นการส่งสัญญาณเป็นนัยไปยังประธานาธิบดีสหรัฐบารัก โอบามาที่ยังไม่เคยเยือนประเทศพันธมิตรที่ใกล้ชิดคืออิสราเอลว่า มอสโคว์กำลังสร้างฐานะที่มั่นคงในภูมิภาคที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ ./.