( VOVworld )-การประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรปครั้งที่ ๙ หรืออาเซม-๙ ณ กรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาว ตั้งแต่วันที่ ๕ – ๖ เดือนนี้ถือเป็นเหตุการณ์ที่มีความสำคัญเป็นพิเศษที่ได้รับความสนใจจากกระแสประชาคมระหว่างประเทศ การประชุมนี้มีขึ้นในสถานการณ์ที่ทั้สองทวีปและโลกกำลังประสบกับความท้ายทายและความสะดวกปนเปกันมากมาย โดยเฉพาะเศรษฐกิจโลกมีการฟื้นตัวอย่างล่าช้า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ความมั่นคงด้านอาหารและการพิพาททางศาสนาที่นับวันรุนแรงมากขึ้น ดังนั้น ที่ประชุมจึงได้เน้นหารือในประเด็นการขยายความร่วมมือและการสนทนาเพื่อแสวงหามาตรการธำรงสันติภาพ ความมีเสถียรภาพ การผลักดันการฟื้นฟูเศรษฐกิจและรับมือกับความท้าทายในโลก
|
ท่านเหงวียนเติ้นหยุงนายกฯกับบรรดาหัวหน้าคณะผู้แืทนร่วมการประชุมอาเซม-๙ |
ในสภาวการณ์ที่วิกฤตหนี้สาธารณะของเขตยูโรโซนยังไม่มีวี่แววที่จะคลี่คลายลง การที่ทั้งสองทวีปกระเถิบเข้าใกล้กันเพื่อเป้าหมายเดียวกันจึงเป็นการส่งสัญญาณในทางบวกต่อสถานการณ์เศรฐกิจโลกที่มีแต่ภาพทึบมานาน นี่มิใช่เป็นครั้งแรกที่เวทีนี้เน้นปัญหาความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ซึ่งในการประชุมอาเซม ณ กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยมเมื่อปี ๒๐๑๐ ที่ผ่านมา ก็ได้เน้นหารือประเด็นหลักๆคือ การปฏิรูปกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอมเอฟภายหลังวิกฤตหนี้สาธารณะของยุโรปและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเอเชียอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ดี วิกฤตในเขตยูโรโซนนับวันเลวร้ายลงแม้ประเทศต่างๆในทวีปนี้จะมีความพยายามเป็นอย่างมากก็ตาม ดังนั้นความร่วมมือระหว่างสองทวีปในปัจจุบันได้กลายเป็นปัญหาเร่งด่วนยิ่งกว่าเวลาใดทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ การที่บรรดาผู้นำยุโรปเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้เป็นการยืนยันได้ว่า อาเซมเป็นเวทีสำคัญเพื่อแสวงหาลู่ทางแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะและรับมือกับความท้ายทายของโลกในปัจจุบัน ซึ่งสื่อต่างประเทศใหญ่ๆหลายรายได้ระบุถึงสาเหตุที่มีผู้นำและประมุขของหลายประเทศในยุโรปได้เข้าร่วมการประชุมอาเซม-๙นี้ว่า นี่คือลู่ทางที่แจ่มใสของเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเอเชียที่จะช่วยผลักดันการเติบของเศรษฐกิจโลก เป็นโอกาสทองให้ทั้งสองทวีปได้แลกเปลี่ยนมาตรการหลักๆเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรปที่กำลังเข้าสู่ทางตันเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของโลกอย่างสมดุลและยั่งยืน ก่อนที่การประชุมจะเปิดขึ้น ท่านโจส์ มานูแอล บาร์โรโซ ประธานคณะกรรมการยุโรปได้ย้ำว่า ยุโรปมั่นใจว่า เศรษฐกิจของเอเชียจะพัฒนายิ่งขึ้นจนกลายเป็นเศรษฐกิจที่สำคัญ ส่วนท่านกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯและรมว.คลังของไทยได้มีความคิดเห็นว่า เศรษฐกิจของบางประเทศในเขตยูโรโซนกำลังประสบกับความยากลำบากในปัจุบัน ดังนั้นความร่วมมือระหว่างเอเชียและยุโรปจึงมีความสำคัญมากขึ้น ส่วนองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจเพื่อการพัฒนาหรือโออีซีดีได้ประเมินว่า แม้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือเอเอสอีเอบีจะมีเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวไม่มากนักก็ตามแต่มีความเป็นไปได้สูงที่จะฟื้นฟูเป็นอย่างดีหลังวิกฤตการเงินโลก แม้องค์การโออีซีดีจะไม่ได้พยากรณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซียนแต่วงการที่เกี่ยวข้องของสิงคโปร์ได้คาดการณ์ว่า ปีนี้ เศรษฐกิจของสิงคโปร์จะเติบโตที่ร้อยละ ๑๕ ส่วนอินโดนีเซียและมาเลเซียคาดว่า เศรษฐกิจจะเติบโตร้อยที่ละ ๖ สำหรับประเทศใหญ่ในเอเชียเช่นจีนนั้น ปีนี้ เศรษฐกิจอาจจะเติบโตร้อยละ ๗.๙ เท่านั้นและอินเดียเติบโตร้อยละ ๖ ทั้งนี้คือข้อมูลพยากรณ์ล่าสุดของบริษัทประเมิมความน่าเชื่อถือฟิทช์
จากสิ่งที่เกิดขึ้นในการประชุมอาเซมครั้งนี้ได้เป็นการยืนยันถึงความตั้งใจอันแน่วแน่ของบรรดาผู้นำทั้งสองทวีปในการที่จะสร้างพลังขับเคลื่อนใหม่ให้แก่ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างสองทวีป ส่วนที่ฟอรั่มนักธุรกิจเอเชีย-ยุโรปครั้งที่ ๑๓ หรือเออีบีเอฟ-๑๓ได้ประสบความสำเร็จโดยได้ตกลงในข้อเสนอต่างๆเพื่อยื่นเสนอต่อที่ประชุมอาเซม-๙ โดยมีสาส์นเกี่ยวกับบรรยากาศทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ การยกเลิกกำแพงกีดกันทางการค้า การบริการและการลงทุน รัฐบาลประเทศสมาชิกอาเซมจำต้องสนับสนุนการแข่งขันระหว่างบริษัทต่างๆด้วยการยุติเลือกปฏิบัติและหันมาปฏิบัติตามหลักการที่ได้ตกลงกัน การแข่งขันอย่างโปร่งใสตลอดจนบรรยากาศทางนิตินัยที่มีเสถียรภาพเพื่อการพัฒนาของบริษัทต่างๆ
นอกจากนี้ ยังเห็นโอกาสของความร่วมมือมากมาย โดยในการประชุมลับนัดแรกเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจและการเงิน บรรดาผู้นำเอเชียและยุโรปได้ยืนยันที่จะผลักดันให้เศรษฐกิจระหว่างสองทวีปมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ยั่งยืนและเสมอภาค โดยเน้นร่วมมือด้านการเงิน ขยายความเชื่อมโยง การอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน การสร้างงาน การฟื้นฟูความเชื่อมั่นของตลาด การปรับปรุงระบบการเงินอย่างโปร่งใส ผู้นำสองทวีปยังเห็นพ้องที่จะพยายามปรับปรุงการบริหารเศรษฐกิจโลกและสถาบันการเงินระหว่างประเทศโดยเน้นกองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารโลก โดยให้ความสนใจต่อบทบาทและรับฟังความคิดเห็นของประเทศที่เศรษฐกิจเกิดใหม่และกำลังพัฒนา พร้อมทั้งสนับสนุนระบบการค้าพหุภาคีและเสร็จสิ้นการเจรจารอบโดหา
การประชุมอาเซมครั้งที่ ๙ นี้ยังมีเหตุการที่น่าจดจำอีกคือ การขยายองค์การด้วยการรับสมาชิกหน้าใหม่ ๓ ประเทศ ซึ่งทำให้องค์การนี้มีประเทศสมาชิกทั้งหมด ๕๑ ประเทศ การเติบโตของอาเซมอย่างเข้มแข็งได้เป็นการเติมพลังอันเข้มแข็งให้แก่ฟอรั่มที่ใหญ่อันดับสองของโลกนี้ และเป็นกลไกเชื่อมโยงระหว่างสองภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุดของโลกในปัจจุบัน ซึ่งเป็นฟอรั่มที่เป็นรองเพียงสมัชชาใหญ่สหประชาชาติเท่านั้น ปัจจุบัน อาเซมมีประชากรเป็นร้อยละ ๖๐ ของประชากรโลก มูลค่าการค้าเป็นร้อยละ ๖๐ และเศรษฐกิจมีการเติบโตเป็นร้อยละ ๕๐ ของโลก จากสิ่งที่เกิดขึ้นในการประชุมผู้นำอาเซมครั้งที่ ๙ นี้ ได้ช่วยให้มองเห็นลู่ทางที่แจ่มใสในความร่วมมือระหว่างสองทวีป โดยการจับมือของบรรดาผู้นำสองทวีปจะมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาวิกฤตโลกเพื่อความมีเสถียรภาพและความเจริญรุ่งเรืองของโลก ./.