เมื่อ๑๐ปีก่อน เวียดนามและสหรัฐได้ทำการเจรจาข้อตกลงการค้าทวิภาคี หรือ BTA หลังจากที่ผ่านความทรงจำเกี่ยวกับสงครามอันดุเดือดในอดีตและความร่วมมือระหว่างสองประเทศที่ยังไม่แน่นแฟ้นเท่าไหร่นักแต่ภายหลังการเจรจามาเป็นเวลาหลายปีBTAก็มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการในวันที่๑๐ธันวาคมปี๒๐๐๑ ตามข้อมูลสถิติของทั้งเวียดนามและสหรัฐนั้น สหรัฐได้กลายเป็นตลาดส่งออกอันดับ๑ของเวียดนามภายหลัง๒ปีที่ปฏิบัติ BTA และภายหลัง๑๐ปีมูลค่าการค้าต่างตอบแทนได้เพิ่มจาก๑.๕พันล้านเหรียญสหรัฐเป็นกว่า๒หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปเป็นสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกอันดับ๑ รองลงมาคือเครื่องเฟอร์นิเจอร์ เครื่องหนังและรองเท้า ส่วนมูลค่าการนำเข้าของสินค้าแทบทุกประเภทก็เพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ๒๐ เช่น เครื่องจักร อุปกรณ์จักรกล และอาหารสัตว์เป็นต้นซึ่งที่น่าสนใจคือเวียดนามเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลย์การค้าสหรัฐ
บรรดาผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจเห็นว่า นอกจากผลประโยชน์ทางการค้าและการลงทุนจากการลงนามBTAแล้วข้อตกลงนี้ยังช่วยขยายการพบปะระหว่างพลเมืองของทั้งสองประเทศโดยเฉพาะประสบการณ์จากการเจรจาBTAยังเป็นประโยชน์ในกระบวนการเจรจาเพื่อขอเข้าเป็นสมาชิกWTOเมื่อปี๒๐๐๗กับสหรัฐซึ่งเป็นหุ้นส่วนสำคัญในWTO ในการเสวนา“ข้อตกลงทางการค้าทวิภาคีและความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างเวียดนามกับสหรัฐที่หวลมองอดีตเพื่อมุ่งสู่อนาคต” ที่ได้มีขึ้น ณ กรุงฮานอย เมื่อวันที่๙ที่ผ่านมา ท่านVũ Khoan อดีตรองนายกรัฐมนตรีเวียดนามได้เปรียบเทียบBTAว่าเสมือนสะพานข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกที่ยาวที่สุดในโลกซึ่งช่วยผลักดันด้านการค้าและเปิดโอกาสความร่วมมือในด้านอื่นๆระหว่างสองประเทศ
“สะพานนี้ไม่เพียงแต่ช่วยผลักดันการค้าเท่านั้นหากยังช่วยขยายการพบปะแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำของทั้งสองประเทศซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างมากโดยใน๑๐ปีที่ผ่านมาได้มีการพบปะระดับสูงอย่างต่อเนื่องซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศได้รับการยกระดับขึ้นอีกขั้นหนึ่ง”
จากผลสำเร็จของการปฏิบัติข้อตกลงการค้าทวิภาคีใน๑๐ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันทั้งสองประเทศกำลังร่วมมือกันอย่างแน่นแฟ้นเพื่อกำหนดหลักการเกี่ยวกับการค้าและการลงทุนเพื่อผลักดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ นอกจากนี้ เวียดนามและสหรัฐกำลังร่วมกับอีก๗ประเทศหุ้นส่วนทำการเจรจาข้อตกลงความเป็นหุ้นส่วนข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก หรือTPP ซึ่งเป็นพื้นฐานให้แก่การผสมผสานทางเศรษฐกิจของทั้งภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกและจะช่วยผลักดันด้านผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้แก่ทั้งเวียดนามและสหรัฐในหลายปีที่จะถึง เช่น การสร้างงานทำและการขยายสัมพันธไมตรีและความร่วมมือระหว่างสองประเทศ ถ้า BTA เวียดนามสหรัฐมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจของเวียดนาม ทีพีพี ก็จะช่วยเวียดนามผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจโลกอย่างกว้างลึกยิ่งขึ้น อำนวยความสะดวกให้แก่การส่งออก การค้า การบริการ การแปรรูปสถานประกอบการภาครัฐเป็นบริษัทหุ้นส่วน การเปิดตลาดใหม่ๆ รวมไปถึงพันธกรณีเกี่ยวกับด้านที่สำคัญต่างๆ โดยเฉพาะ สินค้าของเวียดนามที่ส่งออกไปยังสหรัฐเช่น สิ่งทอเสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องหนังรองเท้าและสัตว์น้ำจะได้รับการยกเว้นภาษีดังที่นางJean Grier ผู้เชี่ยวชาญระดับสูงสำนักงานตัวแทนการค้าสหรัฐได้กล่าวว่า เวียดนามเเละประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆในเอเชียจะได้รับผลประโยชน์ทางการค้ามากมายโดยเฉพาะการเจาะตลาดของประเทศที่เข้าร่วมข้อตกลงทีพีพีและไม่ได้รับผลกระทบจากมาตรการคุ้มครองตลาด
“ผลประโยชน์อันดับแรกและสำคัญที่สุดคือสินค้า การบริการและผู้ส่งออกของเวียดนามจะมีโอกาสเข้าถึงตลาดของทุกฝ่ายที่เข้าร่วมทีพีพี รวมทั้งสหรัฐ อีกด้านหนึ่งคือ เมื่อปฏิบัติตามข้อกำหนดของทีพีพี เวียดนามสามารถประหยัดรายจ่าย เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ยกระดับประสิทธิภาพ ความเปิดเผย และความมีเสถียรภาพ ป้องกันและปราบปรามการคอรัปชั่น อย่างไรก็ดี เวียดนามยังคงเป็นประเทศกำลังพัฒนาดังนั้นเพื่อค้ำประกันความยุติธรรมให้แก่นักลงทุนเวียดนาม สหรัฐจะดำเนินมาตรการชั่วคราวในเวลาอันสั้นเพื่อช่วยเวียดนามปฏิบัติภาระหน้าที่ของตนในทีพีพีอย่างค่อยเป็นค่อยไป”
ผลประโยชน์ของชาติและแนวโน้มของยุคได้เร่งรัดให้เวียดนามและสหรัฐกระเถิบเข้าใกล้กันมากขึ้น ภายหลัง๑๐ปีที่ปฏิบัติ BTA ปัจจุบันเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดเพื่อให้ทั้งสองประเทศผลักดันความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น ซึ่งนาย David B Shear เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำเวียดนามก็ได้กล่าวเช่นนี้และแสดงความมั่นใจว่า การรำลึกครบรอบ๑๐ปีข้อตกลงทางการค้าทวิภาคีเวียดนาม สหรัฐจะเป็นนิมิตหมายสำคัญเพราะทั้งสองประเทศได้มีความสัมพันธ์อย่างก้าวกระโดดในเวลาที่ผ่านมาจนนำไปสู่ความหวังว่า ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสองประเทศจะพัฒนาอย่างดีงามในอีก๑๐ปีข้างหน้าซึ่งจะมีส่วนร่วมยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศให้กลายเป็นความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์./.