กรีซก่อนที่จะออกจากอียู

Anh Huyen - VOV5
Chia sẻ
(VOVworld) – วันที่ 30 มิถุนายนเป็นเวลาเส้นตายที่กรีซต้องชำระหนี้ให้แก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟและเป็นวันที่วงเงินช่วยเหลือสำหรับกรีซหมดอายุ แม้ไม่มีกฎหมายกำหนดให้กรีซต้องออกจากยูโรโซนถ้าหากไม่สามารถชำระหนี้ได้แต่กรีซก็ยากที่จะเป็นสมาชิกของเขตนี้ได้อีก ซึ่งถึงแม้กรีซจะมีส่วนร่วมในจีดีพีของเขตยูโรโซนเพียงร้อยละ 2 เท่านั้นแต่การออกจากเขตยูโรโซนก็จะเป็นตัวอย่างไม่ดีต่อประเทศอื่นๆในภูมิภาคและส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภาพลักษณ์ยูโรโซนที่กำลังพัฒนาไปสู่ภูมิภาคที่เจริญรุ่งเรือง

(VOVworld) – วันที่ 30 มิถุนายนเป็นเวลาเส้นตายที่กรีซต้องชำระหนี้ให้แก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟและเป็นวันที่วงเงินช่วยเหลือสำหรับกรีซหมดอายุ แม้ไม่มีกฎหมายกำหนดให้กรีซต้องออกจากยูโรโซนถ้าหากไม่สามารถชำระหนี้ได้แต่กรีซก็ยากที่จะเป็นสมาชิกของเขตนี้ได้อีก ซึ่งถึงแม้กรีซจะมีส่วนร่วมในจีดีพีของเขตยูโรโซนเพียงร้อยละ 2 เท่านั้นแต่การออกจากเขตยูโรโซนก็จะเป็นตัวอย่างไม่ดีต่อประเทศอื่นๆในภูมิภาคและส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภาพลักษณ์ยูโรโซนที่กำลังพัฒนาไปสู่ภูมิภาคที่เจริญรุ่งเรือง

กรีซก่อนที่จะออกจากอียู - ảnh 1
กรีซต้องออกจากยูโรโซนถ้าหากไม่สามารถชำระหนี้ได้ (Photo Telegraph)
ปริมาณหนี้สินที่มากถึง 3 แสน 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐทำให้กรีซกำลังอยู่ในช่วงเวลาที่ลำบากที่สุดและดูเหมือนว่า กิจกรรมต่างๆในประเทศนี้กำลังหยุดชงักลง วันที่ 30 มิถุนายน กรีซต้องชำระหนี้ 1.5 พันล้านยูโรให้แก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ หรือไม่ก็ต้องประกาศภาวะผิดนัดชำระหนี้ถ้าหากไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามเวลาที่กำหนด ซึ่งจะส่งผลให้กรีซไม่ได้รับเงินช่วยเหลือใดๆจากไอเอ็มเอฟอีก และนั่นก็หมายความว่า กรีซต้องกลับไปใช้สกุลเงินท้องถิ่นของตนและออกจากยูโรโซน
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก
บรรยากาศในกรีซกำลังย่ำแย่ขึ้นทุกขณะเพราะประชาชนต่างพากันถอนเงินสดจากธนาคาร เนื่องจากมีความกังวลว่าระบบธนาคารพาณิชย์จะล้มละลาย ดังนั้นตั้งแต่คืนวันที่ 28 มิถุนายน ทางการกรีซได้สั่งปิดทำการธนาคารทุกแห่งและควบคุมเงินทุนอย่างเข้มงวดจนถึงสิ้นวันที่ 6 กรกฎาคม เพื่อปกป้องสถาบันการเงินที่ไม่สามารถชำระเงินได้ นอกจากนี้ ธนาคารกลางยุโรปหรืออีซีบีแจ้งว่า จะระงับเงินช่วยเหลือฉุกเฉินที่กำลังช่วยพยุงระบบธนาคารของกรีซ
แม้จะมีสัดส่วนในระบบเศรษฐกิจโลกไม่มากนักแต่กรีซก็เป็นสมาชิกของกลุ่มประเทศที่ใช้เงินยูโร ดังนั้น ความผันผวนทางการเงินของกรีซได้ส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินเกือบทั่วโลก หลังจากที่การเจรจาครั้งสุดท้ายระหว่างกรีซกับเจ้าหนี้ประสบความล้มเหลว ตลาดหุ้นเอเชียเมื่อวันที่ 29 มิถุนายนได้ร่วงลงอย่างหนัก โดยดัชนี Nikkei 225 ของญี่ปุ่นได้ลดลงร้อยละ 2.9 ดัชนีหลักทรัพย์เชียงไฮ้ลดลงกว่าร้อยละ 7 ดัชนีหลักทรัพย์หั่งเส็งของฮ่องกงลดลงร้อยละ 2.6 ดัชนี S&PและASX 200 ของออสเตรเลียและ Kospi ของสาธารณรัฐเกาหลีก็ลดลงเช่นกัน ส่วนเงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นๆ ในขณะเดียวกัน ราคาทองคำยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากนักลงทุนเทขายทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงสูงและหันไปซื้อทรัพย์สินที่มีเสถียรภาพมากกว่า เช่น เงินดอลลาร์สหรัฐและทองคำ
การหยั่งเสียงประชามติจะสามารถช่วยให้กรีซคงอยู่ในยูโรโซนได้หรือไม่
ในขณะเดียวกัน รัฐสภากรีซได้อนุมัติให้จัดการหยั่งเสียงประชามติในวันที่ 5 กรกฎาคมเพื่อให้ประชาชนกรีซตัดสินใจว่าจะให้รัฐบาลยอมรับหรือปฏิเสธการทำตามเงื่อนไขของเจ้าหนี้ที่ให้ต้องปฏิบัตินโยบายรัดเข็มขัดต่อไปเพื่อแลกกับวงเงินช่วยเหลือหรือไม่ แต่นักวิเคราะห์เห็นว่า เรื่องนี้ก็ยากที่จะช่วยให้กรีซหลุดพ้นจากภาวะผิดนัดชำระหนี้และออกจากยูโรโซนเพราะว่าชาวกรีซไม่ต้องการปฏิบัตินโยบายรัดเข็มขัดอีกต่อไป
ชาวกรีซมีความเบื่อหน่ายต่อนโยบายรัดเข็มขัดที่กำลังส่งผลให้คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ลดลงเป็นอย่างมากในตลอด 5 ปีที่ผ่านมา โดยอัตราผู้ว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 26 ซึ่งเป็นแรงงานรุ่นใหม่ถึงร้อยละ 50 ระบบเศรษฐกิจที่อ่อนแอยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัว ดังนั้น แม้ผลการหยั่งเสียงประชามติครั้งนี้จะเป็นเช่นไรก็จะไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้เพราะสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในหลายวันมานี้ทำให้เศรษฐกิจของกรีซยากที่จะฟื้นตัวได้ ดังนั้น มาตรการแก้ไขจึงไม่ได้อยู่แค่ว่าอียูจะให้เงินช่วยเหลือแก่กรีซอีกหรือไม่ แต่อยู่ที่ว่ากรีชจะมีมาตรการเช่นไรเพื่อหลุดพ้นจากวิกฤตที่ยืดเยื้อในหลายปีมานี้
กรีซก่อนที่จะออกจากอียู - ảnh 2
นายกรัฐมนตรีกรีซหารือกับนายกรัฐมนตรีอิตาลีและนายกรัฐมนตรีเยอรมนี
หารือเกี่ยวกับการที่กรีซจะคงอยู่ในเขตยูโรโซนอีกหรือไม่ (Photo AP)

ผลเสียจากการที่กรีซออกจากยูโรโซน
ปัจจุบันนี้ อียูได้เตรียมแผนการเพื่อรับมือกับกรณีที่กรีซออกจากยูโรโซน ซึ่งจะทำให้ระบบเศรษฐกิจกรีซก้าวเข้าวิกฤตที่ยาวนานและลำบากที่สุด  เพราะกรีซจะต้องกลับไปใช้สกุลเงินท้องถิ่นที่มีมูลค่าต่ำกว่าหลายเท่าเมื่อเทียบกับเงินยูโร ส่วนการที่กรีซออกจากยูโรโซนก็จะส่งผลกระทบไม่น้อยต่อยุโรปและตลาดนานาประเทศ ผลกระทบโดมิโนที่ร้ายแรงอาจเกิดขึ้นหลังจากที่กรีซผิดนัดชำระหนี้ ตลาดการเงินของบรรดาประเทศที่อ่อนแอในยุโรปจะสั่นคลอน ความกังวลเกี่ยวกับการอ่อนตัวของค่าเงินจะทำให้บริษัทและนักลงทุนแห่ถอนเงินออกจากประเทศเหล่านี้และยิ่งไปกว่านั้นจะส่งผลกระทบต่อความพยายามรักษาเขตยูโรโซนและส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ “ความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน” ที่อียูกำลังมุ่งสู่
เพื่อทำให้กรีซได้อยู่ในเขตยูโรโซนต่อไปก็หมายความว่า การรักษาเสถียรภาพของภูมิภาค เจ้าหนี้อียูมีมาตรการเดียวคือต้องผ่อนปรนและยอมช่วยเหลือกรีซต่อไปหลังจากเวลาเส้นตายในการชำระหนี้ได้ผ่านไป แต่อียูจะต้องรับมือกับแรงกดดันจากการคัดค้านเกี่ยวกับการใช้เงินภาษีของประชาชนในยูโรโซนเพื่อให้การช่วยเหลือกรีซ พร้อมทั้งจะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีต่อประเทศอื่นๆคืออาจได้เงินช่วยเหลือโดยไม่ต้องลดการใช้จ่าย แต่อย่างไรก็ตาม นี่ถือเป็นช่วงเวลาที่เปราะบางเพื่อให้เกิดปาฏิหาริย์ที่จะช่วยเหลือกรีซในนาทีสุดท้าย./.

Feedback