(Photo: Vietnamplus) |
กระบวนการเจรจาเพื่อให้อังกฤษถอนตัวจากสหภาพยุโปรหรืออียู ซึ่งเรียกว่า Brexit ได้เริ่มขึ้นนับตั้งแต่หลังการลงประชามติในอังกฤษเมื่อปี 2016 ซึ่งตั้งแต่วันนั้นจนถึงปัจจุบัน กระบวนการเจรจาระหว่างอียูกับอังกฤษไม่ได้เป็นไปอย่างราบรื่น โดยเฉพาะในปี 2018 ความขัดแย้งภายในรัฐบาลอังกฤษเองได้ทำให้ข้อตกลงไม่ได้รับการอนุมัติในการประชุมรัฐสภาและตกเข้าสู่ภาวะชะงักงัน และแผนการ Brexit ที่ไม่มีข้อตกลงฉบับใดๆ(No deal) หรือไม่มี Brexit(No Brexit at all) หรือการลงประชามติครั้งที่ 2 คือทางเลือกที่กำลังได้รับการกล่าวถึง
Brexit บรรลุข้อตกลงแต่ประสบอุปสรรคในรัฐบาลอังกฤษ
ถึงแม้กระบวนการเจรจาจะเต็มไปด้วยความลำบากและอุปสรรค แต่ด้วยความพยายามจากทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะในช่วงปลายปี 2018 ปัญหาที่ยังคั่งค้างอยู่และความขัดแย้งได้รับการแก้ไข ถึงแม้มีทัศนะที่แข็งกร้าวหลายครั้ง แต่สุดท้าย ทั้งอังกฤษและอียูก็มีการประนีประนอมกัน
เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายนปี 2018 นักเจรจาของทั้งสองฝ่ายได้บรรลุร่างข้อตกลง รวมกว่า 500 หน้ากระดาษ มี 185 มาตรา พิธีสาร 3 ฉบับและภาคผนวกจำนวนมาก เนื้อหาหลักของข้อตกลงคือปัญหาเกี่ยวกับกลไกพลเมืองอังกฤษและอียู “หลัง Breixt” และเงินชดเชยมูลค่า 4 หมื่น 5 พันล้านยูโร เนื้อหาใหม่ล่าสุดและเป็นเนื้อหาที่สำคัญที่สุดคือปัญหาชายแดนไอร์แลนด์เหนือ เพื่อค้ำประกันการไม่ฟื้นฟูพรมแดนถาวรระหว่างไอร์แลนด์เหนือสังกัดสหราชอาณาจักรกับสาธารณรัฐไอร์แลนด์สังกัดอียู ทั้งสองฝ่ายได้เสนอมาตรการคือธำรงทั้งสหราชอาณาจักร มิใช่เฉพาะไอร์แลนด์เหนือในสหภาพภาษียุโรปในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน ถึงแม้ยังไม่ได้มีการระบุช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านที่ชัดเจน แต่ในด้านทฤษฎีจะยืดเยื้อไปจนกว่าอังกฤษและอียูจะเสร็จสิ้นข้อตกลงเกี่ยวกับความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจในอนาคตหลัง Brexit แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านนี้ ไอร์แลนด์เหนือนอกจากต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของกลุ่มตลาดเดียวยุโรป ก็จะถูกควบคุมอย่างเข้มงวดมากขึ้นเกี่ยวกับข้อกำหนดของอียูเมื่อเทียบกับสหราชอาณาจักร
การที่ลอนดอนบรรลุข้อตกลงด้านเทคนิคกับอียูถือเป็นชัยชนะสำคัญของรัฐบาลอังกฤษ และดูเหมือนว่า กระบวนการนี้จะเป็นไปอย่างราบรื่นและเสร็จสิ้นตามกรอบเวลาที่กำหนดคือเดือนมีนาคมปี 2019 แต่บรรดาส.สและนักการเมือง รวมทั้งหัวหน้าพรรครัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านได้ตำหนิข้อตกลงดังกล่าว โดยการเมืองของอังกฤษเริ่มเกิดมรสุมเมื่อรัฐมนตรี 4 คนได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งเพื่อคัดค้านนายกรัฐมนตรี เทเรซา เมย์ เกี่ยวกับการเจรจา Brexit
สิ่งที่น่าสนใจคือ ผลการสำรวจความคิดเห็นประชามติปรากฎว่า ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอังกฤษกว่าครึ่งหนึ่งสนับสนุนการจัดการลงประชามติเกี่ยวกับ Brexit อีกครั้ง และชาวอังกฤษเกือบร้อยละ 50 ไม่อยากถอนตัวจากอียู ซึ่งทำให้การเมืองอังกฤษตกเข้าสู่ภาวะลำบากเป็นอย่างมาก
ยังไม่สามารถตัดสินใจได้ว่า จะอยู่หรือถอนตัวจากอียู
ตามแผนการ Brexit อังกฤษจะถอนตัวออกจากอียูในวันที่ 29 มีนาคมปี 2019 ซึ่งถ้าถึงวันนั้นแล้วยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงฉบับใดๆ และทั้งสองฝ่ายไม่ขยายระยะเวลาเพิ่มเติม อังกฤษก็จะกลายเป็นประเทศนอกอียูที่ไม่มีระยะเปลี่ยนผ่าน ตามแผนการนี้ หลังวันที่ 29 มีนาคมปี 2019 ลอนดอนจะเสียสิทธิเข้าถึงตลาดร่วมยุโรปและไม่มีชื่อในข้อตกลงการค้าของอียูกับประเทศอื่นๆ จนถึงขณะนี้ ดูเหมือนว่า รัฐบาลอังกฤษได้มองถึงแผนการ Brexit ที่ไม่มีข้อตกลงฉบับใดๆ พร้อมทั้งประกาศว่า จะลงคะแนนอนุมัติร่าง Brexit ในกลางเดือนมกราคมปีหน้า ซึ่งถ้าเป็นไปตามนี้ ความเสียหายด้านเศรษฐกิจจากกระบวนการ Brexit ของอังกฤษจะมีสูงมากโดยในรายงานล่าสุด บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือหรือ Fitch ได้ประเมินว่า อัตราการขยายตัวจีดีพีของอังกฤษจะลดลงเกือบร้อยละ 4 ในขณะที่จีดีพีของ 27 ประเทศสมาชิกอียูลดลงร้อยละ 0.5 ซึ่งไม่รวมถึงความเป็นไปได้ที่อาจเกิดความวุ่นวายทางสังคม
เพื่อให้กระบวนการ Brexit เสร็จสิ้นลงด้วยดี ก่อนอื่น นายกรัฐมนตรี เทเรซา เมย์ ต้องสร้างความไว้วางใจต่อบรรดาส.ส และนำประเทศอังกฤษฟันฝ่ามรสุมในช่วงต้นปีใหม่ แต่สถานการณ์ที่เป็นจริงในปัจจุบันสะท้อนให้เห็นว่า นี่คือหน้าที่ที่ไม่สามารถปฏิบัติได้ ดั่งเช่นความเห็นของเจ้าหน้าที่อังกฤษคนหนึ่งที่กล่าวถึงสถานการณ์ในปัจจุบันว่า “เราอยู่ในภาวะชะลอตัว พวกเราต้องเผชิญกับเงื่อนไขด้านเวลาและนาฬิกากำลังนับถอยหลังอย่างรวดเร็วในขณะที่ฝ่ายต่างๆมุ่งถึงสิ่งที่แตกต่างกันและไม่มีการประนีประนอม."