เปลี่ยนแปลงใหม่รูปแบบห้องสมุดในยุคแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0

Thanh Thủy
Chia sẻ
(VOVWORLD) - การไปอ่านหนังสือที่ห้องสมุดเป็นความคุ้นเคยของประชาชนหลายคนที่ต้องการหาความรู้เพื่อใช้ในการทำงานหรือะเป็นอาหารทางใจ แต่การพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีในหลายปีมานี้ได้ส่งผลกระทบในทางลบต่อการไปอ่านหนังสือที่ห้องสมุดและสร้างความท้าทายต่อห้องสมุดต่างๆในเวียดนาม

 

เปลี่ยนแปลงใหม่รูปแบบห้องสมุดในยุคแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 - ảnh 1 ห้องอ่านS.hub Kidsสำหรับเด็กของห้องสมุดวิทยาลัยโปลิเทคนิคนครโฮจิมินห์

การประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีในด้านต่างๆในเวลาที่ผ่านมาได้ทำให้รูปแบบห้องสมุดเปลี่ยนจากรูปแบบเดิมไปเป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์และห้องสมุดดิจิตอล ซึ่งสร้างโอกาสให้ผู้อ่านสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้ที่เปิดกว้างมากขึ้นเพราะฐานข้อมูลของห้องสมุดได้ช่วยให้ผู้อ่านสามารถเข้าถึงความรู้โดยไม่ต้องเดินทางไปยังห้องสมุด ซึ่งควบคู่กับการรวบรวมและเรียบเรียงเนื้อหาสิ่งพิมพ์และสื่อมัลติมีเดีย ห้องสมุดต่างๆได้เป็นฝ่ายรุกในการรวบรวมข้อมูลและเอกสารดิจิตอล จัดทำระบบ log-in แบ่งปันข้อมูลข่าวสาร พร้อมทั้งเก็บรักษาและบริหารจัดการข้อมูล ตลอดจนประชาสัมพันธ์และแนะนำให้ประชาชนทุกคนรู้จักระบบดังกล่าว

นอกเหนือจากการสร้างโอกาสต่างๆ การปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 ยังสร้างความท้าทายไม่น้อยให้แก่หน่วยงานห้องสมุด ซึ่งถ้าหากไม่เปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินงาน ห้องสมุดต่างๆของเวียดนามก็อาจล้าสมัยเมื่อเทียบกับห้องสมุดต่างๆในโลก นักประวัติศาสตร์เยืองจุงก๊วกได้เผยว่า“ปัจจุบัน พวกเรากำลังร่วมมือกับห้องสมุดดิจิตอลของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะห้องสมุดแห่งชาติฝรั่งเศสเพราะมีฐานข้อมูลที่สนับสนุนการวิจัยประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของเวียดนาม ซึ่งมีการอัพเดทข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น พวกเราจึงสามารถอ่านหนังสือต่างๆของห้องสมุดแห่งชาติฝรั่งเศสในกรุงฮานอยได้”

ทั้งนี้ การกำหนดบทบาทของห้องสมุดในปัจจุบัน รูปแบบห้องสมุดในอนาคต วิธีการบริหาร การเปลี่ยนแปลงใหม่วิธีการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการพัฒนาวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ การศึกษา เศรษฐกิจและสังคม ถือเป็นสิ่งที่เจ้าหน้าที่หน่วยงานห้องสมุดให้ความสนใจ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ห้องสมุดไม่เพียงแต่ช่วยเก็บรักษามรดกด้านข้อมูลของประชาชาติเท่านั้น หากยังช่วยรวบรวม เรียบเรียงและจัดสรรค์ข้อมูลต่างๆให้แก่ผู้อ่าน เป็นศูนย์กลางแห่งการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและการศึกษาในชุมชนและเป็นศูนย์รวมวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และการศึกษาที่ขาดไม่ได้ในการสนับสนุนโรงเรียน ซึ่งห้องสมุดบางแห่งได้เน้นสร้างบรรยากาศการอ่านหนังสือสำหรับเด็ก เช่น ห้องสมุดวิทยาลัยโปลิเทคนิคนครโฮจิมินห์ นาย หวิงก๊วกบ๊าว รองผู้อำนวยการห้องสมุดวิทยาลัยโปลิเทคนิคนครโฮจิมินห์ได้เผยว่า“ทางห้องสมุดฯเพิ่งเปิดตัวโครงการส่งเสริมการอ่านหนังสือสำหรับเด็กเพื่อตอบสนองความต้องการเรียนรู้และวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ของเด็กนักเรียนในนครโฮจิมินห์ ซึ่งเป็นการยกระดับห้องสมุดสำหรับเด็กและเรายังมีห้องสมุดเคลื่อนที่เพื่อสนับสนุนโรงเรียนในการจัดกิจกรรมต่างๆและการจัดสรรค์ข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กนักเรียนมากขึ้น”

ส่วนสำหรับจังหวัดเขตเขาที่ประสบความยากลำบาก ก็ต้องแสวงหารูปแบบห้องสมุดที่เหมาะสม นาย เจิ่นวันแทง เจ้าหน้าที่สำนักงานการศึกษาและฝึกอบรมจังหวัดลาวกายได้เผยว่า“พวกเราจะเน้นพัฒนารูปแบบห้องสมุดที่คล่องตัว ห้องสมุดกลางแจ้งและห้องสมุดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามโรงเรียนต่างๆ รวมทั้งห้องสมุดสำหรับเด็กนพิการ เด็กตาบอดและสร้างบรรยากาศเพื่อให้เด็กธรรมดาสามารถอ่านหนังสือให้เด็กตาบอดฟัง”

การอ่านหนังสือของประชาชนในยุคแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 จำเป็นต้องขยายการเชื่อมโยงและการแบ่งปันข้อมูลดิจิตอล ซึ่งความพยายามของห้องสมุดต่างๆได้มีส่วนร่วมพัฒนารูปแบบห้องสมุดใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น.

Feedback