หนังสือ Chau ban trieu Nguyen สะท้อนภาพรวมประเทศเวียดนามยุคหนึ่ง

Lan Anh-VOV5
Chia sẻ

( VOVworld )- หนังสือ Chau ban trieu Nguyen หรือหนังสือราชการของราชวงศ์เหงวียนได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางข้อมูลแห่งโครงการความทรงจำโลกภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมหรือยูเนสโกปี ๒๐๑๔   หนังสือ Chau ban trieu Nguyen หรือหนังสือราชการของราชวงศ์เหงวียนเป็นหนังสือราชการต้นฉบับเกี่ยวกับการปกครองและการบริหารของราชวงศ์เหงวียนในด้านชีวิต เศรษฐกิจ สังคม ด้านภายในประเทศและการต่างประเทศ  ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีค่าต่อการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของราชวงศ์เหงวียนและชีวิตสังคมเวียดนามในศตวรรษที่ ๑๙และช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ ๒๐



( VOVworld )- หนังสือ Chau ban trieu Nguyen หรือหนังสือราชการของราชวงศ์เหงวียนได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางข้อมูลแห่งโครงการความทรงจำโลกภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมหรือยูเนสโกปี ๒๐๑๔   หนังสือ Chau ban trieu Nguyen หรือหนังสือราชการของราชวงศ์เหงวียนเป็นหนังสือราชการต้นฉบับเกี่ยวกับการปกครองและการบริหารของราชวงศ์เหงวียนในด้านชีวิต เศรษฐกิจ สังคม ด้านภายในประเทศและการต่างประเทศ  ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีค่าต่อการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของราชวงศ์เหงวียนและชีวิตสังคมเวียดนามในศตวรรษที่ ๑๙และช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ ๒๐
หนังสือ Chau ban trieu Nguyen สะท้อนภาพรวมประเทศเวียดนามยุคหนึ่ง - ảnh 1
หนังสือ Chau ban trieu Nguyen
หรือหนังสือราชการของราชวงศ์เหงวียน
หนังสือ Chau ban trieu Nguyen หรือหนังสือราชการของราชวงศ์เหงวียนเป็นหนังสือราชการของกษัตริย์เหงวียน ๑๑ พระองค์ตั้งแต่ปีค.ศ.๑๘๐๒-๑๙๔๕ ซึ่งประกอบด้วยพระบรมราชโองการ เรียนพระราชปฏิบัติ หมายรับสั่งและพระราชสาส์นที่กษัตริย์ราชวงศ์เหงวียนได้ลงพระปรมาภิไธย โดยพระองค์เองเพื่อทรงแก้ไขปัญหาต่างๆไม่ว่าจะในด้านการเมือง การทหาร การทูต เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและสังคม  หนังสือ Chau ban trieu Nguyen หรือหนังสือราชการชองราชวงศ์เหงวียนมีทั้งหมด ๘๐๐ ชุดรวมหนังสือราชการ ๒๐,๐๐๐แผ่นถือเป็นแหล่งข้อมูลที่สมบูรณ์เพื่อศึกษาแนวทาง ทัศนะ นโยบายและกลไกการปกครองสมัยนั้นเพื่อพัฒนาประเทศ  นายห่าวันเหว่ว ผู้อำนวยการสำนักงานหอจดหมายเหตุแห่งชาติหมายเลข ๑ เปิดเผยว่า  “หนังสือ Chau ban trieu Nguyen หรือหนังสือราชการชองราชวงศ์เหงวียนเป็นหนังสือเกี่ยวกับนโยบายภายในประเทศและต่างประเทศที่สมบูรณ์ของกษัตริย์เหงวียนองค์แล้วองค์เล่า ซึ่งนักประวัติศาสตร์สามารถค้นหาจากที่นี่  การที่หนังสือชุดนี้ได้รับการรับรองเป็นมรดกของโลกจะทำให้มันมีคุณค่าในการศึกษาวิจัยไม่เฉพาะในเวียดนามเท่านั้น หากยังมีความหมายระดับโลกและภูมิภาคอีกด้วย อันเป็นการมีส่วนร่วมต่อการศึกษาประวัติศาสตร์เวียดนาม ประวัติศาสตร์ภูมิภาคและโลกด้วย

หนังสือราชการชองราชวงศ์เหงวียนเป็นเอกสารต้นแบบเกี่ยวกับการบริหารราชการของรัฐศักดินาเวียดนาม โดยมีความกระทัดรัด ชัดเจนและแสดงถึงอำนาจสูงสุดของราชสำนัก ส่วนในด้านสาธารณสุขไม่ได้ระบุรายละเอียดเท่าไหร่ แม้กระทั่งสถาบันแพทย์หลวงซึ่งดูแลสุขภาพของพระบรมวงศานุวงค์ก็ไม่ได้รับการระบุในหนังสือประวัติศาสตร์มากนัก  อย่างไรก็ตาม หนังสือราชการชองราชวงศ์เหงวียนได้ระบุรายละเอียดสถานการณ์โรคระบาดต่างๆในชุมชนเช่น ช่วงเวลาเกิดโรคระบาด โดยในสมัยกษัตริย์มินห์เหม่นห์ที่ ๒๑ค.ศ.๑๘๔๐ ได้เกิดโรคระบาด ณ จังหวัดแทงฮ้วาตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิ ถุนายน โดยชาวบ้าน ๔ อำเภอได้แก่ ดงเซิน เหิ่วหลก งาเซินและหมีฮว้าโดนควันพิษทำให้เสียชีวิตกว่า ๑,๐๐๐ คน  ในสมัยกษัตริย์มินห์เหม่งห์เช่นกันมีรายงานเกี่ยวกับโรคระบาด ณ อำเภอเถื่อเทียน โดยบางบ้านมีคนเสียชีวิตถึง ๕ คน  ในด้านเศรษฐกิจ หนังสือราชการของราชวงศ์เหงวียนยังระบุกิจกรรมการค้าระหว่างเวียดนามกับประเทศต่างๆอย่างละเอียด โดยเฉพาะเกษตรกรรมถือเป็นเสาหลักของประเทศ คุณเหงวียน ทู หว่าย หัวหน้าฝ่ายค้นหาและปรับปรุงเอกสารฮั่นนมของสำนักงานหอจดหมายเหตุแห่งชาติหมายเลข ๑ เปิดเผยว่า  “ หนังสือราชการของราชวงศ์เหงวียนได้ระบุถึงเกษตรกรรมมากพอสมควรเพราะเวียดนามเป็นประเทศเกษตรกรรมดังนั้นกษัตริย์ทุกพระองค์ล้วนให้ความสำคัญต่อด้านนี้ โดยแต่ละเดือน ทางจังหวัดต้องมีรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์อากาศและราคาข้าวต่อราชสำนัก  สมัยที่ราชวงศ์เหงวียนปกครองประเทศได้เกิดน้ำท่วมบ่อย ระบบทำนบไม่แข็งแรงทำให้ชาวบ้านต้องเดือดร้อน การเก็บเกี่ยวไม่ได้ผล ขาดแคลนอาหาร  นี่คือสาเหตุที่ทางการท้องถิ่นต้องรายงานทุกเดือน เพื่อให้ราชสำนักมีการช่วยเหลืออย่างทันการณ์ หากเก็บเกี่ยวข้าวไม่ได้ผลก็จะช่วยเหลือพันธุ์ข้าวเพื่อปลูกข้าวให้ทันฤดูกาล
หนังสือ Chau ban trieu Nguyen สะท้อนภาพรวมประเทศเวียดนามยุคหนึ่ง - ảnh 2
หนังสือ Chau ban trieu Nguyen มีทั้งหมด ๘๐๐ ชุด

นอกจากนี้  หนังสือ Chau ban trieu Nguyen หรือหนังสือราชการของราชวงศ์เหงวียนยังระบุว่า หมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลและเจื่องซาหรือสเปรสลีอยู่ในการควบคุมดูแลของราชวงศ์เหงวียน โดยมีระบบการปกครอง การส่งกองเรือไปยังหว่างซาหรือพาราเซลและเจื่องซาหรือสเปรสลีเพื่อทำการสำรวจและจัดทำแผนที่กับเอกสาร หรือหนังสือชมเชยบรรดาผู้ที่มีคุณูปการต่อหมู่เกาะสองแห่งดังกล่าว นับเป็นเอกสารสำคัญพิเศษที่ยืนยันอธิปไตยของเวียดนามเหนือหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลและเจื่องซาหรือสเปรสลี นายห่าวันเหว่ว เปิดเผยต่อไปว่า  “ หนังสือราชการของรางวงศ์เหงวียนมีเนื้อหาที่หลากหลาย และมีเอกสารจำนวนหนึ่งเกี่ยวกับเวียดนามที่ปฏิบัติอธิปไตยเหนือหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลและเจื่องซาหรือสเปรสลี  ดังนั้น หนังสือชุดนี้มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และสังคม อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือเพื่อต่อสู้ทางการเมืองและอธิปไตยของเวียดนามเหนือทะเลและเกาะแก่ง

 จากความถูกต้อง ความโดดเด่นและเนื้อหาที่มีคุณค่า   หนังสือ Chau ban trieu Nguyen หรือหนังสือราชการชองราชวงศ์เหงวียนมีอิทธิพลต่อภูมิภาคและโลกจึงได้รับการชื่นชมจากบรรดาผู้เชี่ยวชาญขององค์การยูเนสโกและได้กลายเป็นมรดกลำดับที่ ๑๖ ทางข้อมูลของโครงการความทรงจำโลกภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกปี ๒๐๑๔ ./.




Feedback