( VOVworld )-
พุทธศาสนาได้รับการเผยแพร่เข้าในประเทศเวียดนามตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑ ก่อนคริสตศักราชและกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตทางจิตใจของชาวเวียดนาม แต่จนถึงคริสตศตวรรษที่ ๑๓ พุทธศาสนาในเวียดนามจึงมีนิกายของตนเองอย่างเป็นทางการนั่นคือ พุทธศาสนานิกายจุ๊กเลิมที่มีทฤษฎีและวิธีการปฏิบัติธรรมโดยกษัตริย์เจิ่นเหญินตงเป็นผู้สร้างขึ้น ซึ่งแนวคิดแห่งการเผยแพร่ศาสนาพุทธให้ปฏิบัติในชีวิตของชาวบ้านของนิกายจุ๊กเลิมเอียนตื่อมีเอกลักษณ์วัฒนธรรมและเป็นบุคลิกแห่งเวียดนาม
|
วัดหวิงเงียม นครโฮจิมินห์
|
เดือนสิงหาคมค.ศ. ๑๒๙๙ ก่อนหน้านั้นกว่า ๗๐๐ ปี กษัตริย์เจิ่นเญินตงได้บรรพชาที่ภูเอียนตื่อโดยมีฉายาว่า เฮืองเวินด่ายเดิ่วด่า ซึ่งถือเป็นการให้กำเนิดพุทธศาสนานิกายจุ๊กเลิมเอียนตื่อ ต่อมาศาสนาพุทธนิกายจุ๊กเลิมเอียนตื่อได้พัฒนาจนถึงจุดสูงสุดโดยมีพระสายวิปัสนาอัจฉริยะสามรูปผู้สร้างและริเริ่มนั่นคือ พระมหาเถระเญินตง ฟ้าปลวาและเหวี่ยนกวาง จากการสร้างพุทธศาสนานิกายจุ๊กเลิมเอียนตื่อนั้น กษัตริย์เจิ่นเญินตงสามารถรวมพุทธศาสนานิกายต่างๆและสมาคมพุทธศาสนาสมัยราชวงศ์เจิ่นเป็นหนึ่งเดียว ศาสตราจารย์ปรัชญาท้ายกิมลานเห็นว่า มรดกที่กษัตริย์เจิ่นเญินตงทิ้งไว้นั้นมีคุณค่าไม่เพียงแต่ในด้านแนวคิดปรัชญาทางพุทธศาสนาเท่านั้น หากยังมีลักษณะล้ำยุค ศาสตราจารย์กิมลานเปิดเผยว่า “ ในด้านแนวคิดนั้น พระองค์ท่านทรงสามารถสร้างพุทธศาสนานิกายหนึ่งของเวียดนามและทรงใช้พระไตรปิฎกอย่างคล่องตัวและมีความคิดสร้างสรรค์จึงสามารถสร้างวิถีชีวิตที่มีอารยธรรมของคนเวียดยุคราชวงศ์เจิ่น พระองค์ทรงมีวิถีชีวิตที่สมถะ แม้จะเป็นกษัตริย์แต่ท่านทรงดูแลคนอื่นและมีความเมตตาอารีย์ ใช้สติปัญญาและมีชีวิตที่ทรงมีคุณธรรมยิ่ง”
ภายหลังพัฒนามากว่า ๗๐๐ ปี ศาสนาพุทธนิกายจุ๊กเลิมเอียนตื่อมีเอกลักษณ์วัฒนธรรมเวียดนามซึ่งโดดเด่นคือแนวคิด พุทธศาสนามีส่วนร่วมในทางโลกโดยศาสนาผูกพันกับโลกอย่างเหนียวแน่น ซึ่งพุทธศาสนิกชนที่นับถือนิกายจุ๊กเลิมเอียนตื่อจะต้องสร้างสรรค์ชีวิตที่ดีทั้งทางโลกและทางธรรม ดร.เหวียนหิวเซิน นักวิจัยวัฒนธรรมของเวียดนามเปิดเผยว่า “ กษัตริย์เจิ่นเญินตงทรงสร้างพุทธศาสนานิกายจุ๊กเลิมเอียนตื่อจากความรู้ที่ได้เรียนมาจากสมเด็จพระบรมอัยกาธิราชเจิ่นท้ายตงและสมเด็จพระราชบิดาและได้พัฒนาเป็นนิกายจุ๊กเลิมเอียนตื่อ โดยมีลักษณะโดดเด่นคือ แนวคิดให้พุทธศาสนามีส่วนร่วมทั้งทางโลกและทางธรรม ผูกพันกับประเทศและชาติ ผูกพันกับตนเองและปลูกฝังในจิตใจจิตสำนึกตลอดจนผูกพันกับชีวิตสังคม ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่า พุทธศาสนานิกายจุ๊กเลิมเอียนตื่อของพระมหาเถระเจิ่นเญินตงได้เข้าสู่ชีวิตสังคม ”
|
โกนเซิน
|
จิตใจแห่งการเผยแพร่และปฏิบัติพุทธศาสนานิกายจุ๊กเลิมเอียนตื่อในทางโลกนั้นหมายความว่า ทุกคนไม่ว่าจะเป็นนักบวชที่บรรพชาหรือบวชที่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นเพศหญิงหรือเพศชายต้องดำเนินชีวิตที่ดี ทั้งนี้ได้ส่งผลในทางบวกต่อแนวคิดของชาติในเวลาต่อมา ดร.เหงวียนหิวเซินเห็นว่า แนวคิดเข้าสู่โลกของพุทธศาสนานิกายจุ๊กเลิมเอียนตื่อได้รับการสืบสานจากพระภิกษุสามเณรรุ่นต่างๆจนถึงปัจจุบัน ดร.เหงวียนหิวเซินกล่าว “ เมื่อเอ่ยถึงพุทธศาสนานิกายจุ๊กเลิมเอียนตื่อต้องเอ่ยถึงวัดหวิงเงียม โกนเซินและฮวาเงียม วัดเหล่านี้กับพระไตรปิฎกมีพลังชีวิตที่เข้มแข็งและได้รับการเผยแพร่สู่ชีวิตของมนุษย์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพุทธศานสนานิกายจุ๊กเลิมเอียนตื่อผูกพันกับหลักธรรมะและชาติและพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยเหตุนี้ได้มีการก่อสร้างวัดหวิงเงียม ฮวาเงียมและวัดนิกายจุ๊กเลิมเอียนตื่อในเมืองใหญ่ๆของประเทศเช่น เว้และไซ่ง่อน ตลอดจนในต่างประเทศเช่น อินเดียและบางประเทศยุโรปตะวันออก ”
เป็นอันว่าพุทธศาสนานิกายจุ๊กเลิมเอียนตื่อได้ร่วมกับประชาชาติในภารกิจการพัฒนาประเทศ ซึ่งได้สร้างเอกลักษณ์ของนิกายนี้และส่งผลดีต่อชีวิตการเมือง วัฒนธรรมและสังคมของประเทศ ตลอดจนการกำหนดแนวทางการปกป้องอธิปไตยของชาติ การบุกเบิกขยายพื้นที่ประเทศและการพัฒนาวัฒนธรรมด่ายเวียดสมัยราชวงศ์เจิ่นล้วนได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนานิกายจุ๊กเลิมเอียนตื่อ
|
สถูปหินภายในบริเวณวัดหวิงเงียม
|
ทั้งนี้และทั้งนั้นแสดงให้เห็นว่า จิตใจแห่งการมีส่วนร่วมในสังคมของพุทธศาสนานิกายจุ๊กเลิมเอียนตื่อมีคุณลักษณะแห่งความเป็นเวียดนาม วัฒนธรรมและบุคลิกเวียดนาม ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาทางประวัติศาสตร์ในยุคนั้น ยุคปัจจุบันและจะพัฒนาตามการพัฒนาของประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชาติตลอดไป ./.