( VOVworld )-
ศิลปะละครเพลงหยู่เกของชนเผ่าเขมรภาคใต้เวียดนามก่อเกิดเมื่อต้นศตวรรษที่ ๑๙ เป็นศิลปะพื้นเมืองแขนงหนึ่งที่มีการผสมผสานระหว่างศิลปะชั้นสูงและศิลปะพื้นเมืองของภูมิภาค และได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมพื้นเมืองของชนชาติต่างๆที่อาศัยตามบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง อีกทั้งเป็นมรดกวัฒนธรรมที่สะท้อนประวัติศาสตร์ระยะหนึ่งของเขตนี้
ละครเพลงหยู่เก( Du Ke )ของชนเผ่าเขมรภาคใต้เวียดนาม
แม้จะมีข้อมูลอ้างอิงเกี่ยวกับที่มาของละครเพลงหยู่เกหลายเหตุหลายผล แต่ล้วนแสดงให้เห็นว่า ศิลปะละครเพลงหยู่เกก่อเกิดที่เขตที่ราบแม่น้ำโขงช่วงต้นศตวรรษที่ ๑๙และได้รับอิทธิพลจากศิลปะละครเพลงโบราณสองแขนงคือ งิ้วโบราณของชาวฮัวและศิลปะละครเพลงก่ายเลืองของชนชาติกิงเวียดนาม ศิลปินยอดเยี่ยม นักดนตรีเซินเลือง อุปนายกสมาคมวรรณกรรมและศิลปะของชนเผ่าเวียดนาม ท่านเป็นหัวหน้าโครงการวิจัย “ การศึกษาศิลปะละครเพลงหยู่เกภาคใต้ในพื้นที่จังหวัดซอกจัง ” เปิดเผยว่า “ ชนเผ่าเขมรภาคใต้เวียดนามได้ประดิษฐ์ละครเพลงหยู่เกขึ้นมาเอง ซึ่งเป็นผลงานวัฒนธรรมที่มาจากความสัมพันธ์และการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมพื้นเมืองระหว่างชนชาติกิง ชนชาติฮัวและชนเผ่าเขมร ดังนั้นพวกเราต้องอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าของศิลปะละครแขนงนี้ ซึ่งก็ตรงกับเป้าหมายของพรรคและรัฐ เพราะคุณค่าวัฒนธรรมทางจิตใจมีความเป็นอมตะและไม่มีสิ่งใดมาทดแทนได้ ประชาชาติใดที่สูญเสียวัฒนธรรม ประชาชาตินั้นก็จะสูญเสียทุกอย่าง ”
ละครเพลงหยู่เกยังถูกนำไปแสดงที่กัมพูชาและได้รับความนิยมจากชาวกัมพูชาจนพัฒนามาตราบเท่าทุกวันนี้ ศิลปินที่เผยแพร่และก่อตั้งคณะร้องละครเพลงหยู่เกคณะแรกในประเทศเพื่อนบ้านกัมพูชาหลายท่านเป็นศิลปินจากค่ายซอกจังและจ่าวิงห์ ส่วนคณะร้องเพลงหยู่เกของเวียดนามก็มีหลายคณะไม่ว่าจะเป็นค่ายมืออาชีพหรือค่ายสมัครเล่นแบบครอบครัวที่ไปแสดงในกัมพูชาต่างได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้ชมชาวกัมพูชา ท่านกิมดิ่งห์ ศิลปินยอดเยี่ยมและหัวหน้าคณะศิลปะเขมรแอ๊งบิ่นห์มินห์ จังหวัดจ่าวิงห์เปิดเผยว่า “ คณะศิลปะเขมรแอ๊งบิ่นห์มินห์แสดงในหลายจังหวัดภายในประเทศและแสดงในกัมพูชาตั้งแต่ปีค.ศ.๑๙๗๙รวม๑๓ ครั้ง โดยผู้ชมชาวเขมรชื่นชอบศิลปะละครเพลงหยู่เกของชนเผ่าเขมรภาคใต้เวียดนาม ซึ่งการแสดงบางรอบมีผู้เข้าชมนับหมื่นคน ”
เช่นเดียวกับละครเพลงก่ายเลืองที่เป็นมรดกวัฒนธรรมพื้นเมืองของเขตตภาคใต้เวียดนาม ศิลปะละครเพลงหยู่เกเป็นมรดกอันล้ำค่าและเป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมเฉพาะของชนเผ่าเขมรที่ต้องได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ซึ่งสัญญาณที่น่ายินดีคือ งานมหกรรมละครเพลงหยู่เกครั้งแรก ณ จังหวัดจ่าวิงห์มีคณะศิลปะจำนวนมากเข้าร่วม ส่วนโรงเรียนวัฒนธรรมและศิลปะจังหวัดจ่าวิงห์ได้เปิดสอนศิลปะละคระเพลงหยู่เกรุ่นแรกเพื่อผลิตศิลปินในด้านนี้ให้แก่จังหวัด โดยรุ่นแรกมีนักเรียน ๒๖ คน คุณเลถิ่ห่า อาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัฒนธรรมและศิลปะจังหวัดจ่าวิงห์เปิดเผยว่า นักเรียนรุ่นนี้เรียนดี เทคนิกการแสดงก็ดีด้วย และสำคัญคือพวกเขาหลงไหลในศิลปะการแสดงหยู่เก ส่วนคณะศิลปะละครเพลงหยู่เกแอ๊งบิ่นห์มินห์ก็อำนวยความสะดวกทุกอย่างให้แก่พวกเขา
เมื่อเร็วๆนี้ จังหวัดจ่าวิงห์ได้จัดการประชุมสัมมนาเกี่ยวกับละครเพลงหยู่เกของชนเผ่าเขมรภาคใต้เวียดนามเพื่อระดมสมองของนักวิชาการในการรวบรวมทำเอกสารขอให้องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโกรับรองละครเพลงหยู่เกเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติ
ในขณะที่ทำเอกสารและรอการรับรองจากองค์การยูเนสโกนั้น ศิลปะละครหยู่เกที่มีเอกลักษณ์ของชนเผ่าเขมรก็กำลังได้รับการอนุรักษ์และเผยแพร่สู่สายตาผู้ชมมากขึ้น เพราะศิลปะการแสดงนี้ถือเป็นมรดกวัฒนธรรมพื้นเมืองของชาติ ./.