แก้ไขอุปสรรคเพื่อให้หมู่บ้านศิลปาชีพพัฒนา

Phạm Hải- Tô Tuấn
Chia sẻ
(VOVWORLD) - ปัจจุบัน นครเกิ่นเทอมีหมู่บ้านศิลปาชีพ ๔ แห่ง ประกอบด้วย หมู่บ้านทำขนมแบ๊งช้าง ถ่วนฮึง หมู่บ้านถักอวน เทิอมเริม หมู่บ้านปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ฟ้อเถาะ บ่าโบะ และหมู่บ้านผลิตขนมลูกอม บารี๊ก ซึ่งมีครอบครัวเกือบ ๑ พันครอบครัว โดยมีแรงงานกว่า ๓ พันคน และมีรายได้กว่า ๑ แสนล้านด่งต่อปี มีส่วนร่วมปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานในท้องถิ่นให้ดีขึ้น
แก้ไขอุปสรรคเพื่อให้หมู่บ้านศิลปาชีพพัฒนา - ảnh 1หมู่บ้านปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ฟ้อเถาะ บ่าโบ 

นาย โห่ดั๊กกวี๊ เจ้าของโรงงานถักอวนในแขวงเตินฮึง เขตทตนด ซึ่งประกอบอาชีพนี้มาหลายปียังคงครุ่นคิดเกี่ยวกับการพัฒนาอาชีพถักอวน การมีส่วนร่วมในตลาด ผลิตภัณฑ์ได้รับการจำหน่ายอย่างยั่งยืน เพื่อช่วยให้คุณภาพชีวิตของแรงงานดีขึ้นมีความมั่นใจ ความรู้สึกผูกพันและหลงไหลกับอาชีพนี้มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การขาดข้อมูลเกี่ยวกับตลาดและแหล่งเงินทุนได้ทำให้การผลิตและประกอบธุรกิจของนาย กวี๊ ประสบอุปสรรค ในขณะเดียวกัน ความต้องการของลูกค้าก็มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้การทำอาชีพนี้ขาดความยั่งยืน นาย โห่ดั๊กกวี๊ เผยว่า “การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต้องได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐ เช่นการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและใบอนุญาตขนส่งสินค้าเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่โรงงานในการจำหน่ายสินค้า”

แก้ไขอุปสรรคเพื่อให้หมู่บ้านศิลปาชีพพัฒนา - ảnh 2 หมู่บ้านศิลปาชีพต่างๆไม่เพียงแต่สร้างงานทำให้แก่แรงงานในเขตชนบทเท่านั้น หากยังอนุรักษ์เอกลักษณ์ของท้องถิ่น

ทุกปี หมู่บ้านปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ฟ้อเถาะ บ่าโบะในแขวงลองหว่า เขตบิ่งถุย นครเกิ่นเทอได้ป้อบดอกไม้หลายชนิดนับหมื่นกระถางให้แก่ตลาด จนหลายครอบครัวสามารถหลุดพ้นจากความยากจนและค่อยๆสร้างฐานะในบ้านเกิด จากความต้องการของตลาดและความนิยมของผู้บริโภคได้ทำให้ครอบครัวต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิตแบบดั้งเดิมไปเป็นการผลิตที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง นาย ดว่านหุยบ๊น รองหัวหน้าสหกรณ์ของหมู่บ้านศิลปาชีพไม้ดอกไม้ประดับฟ๊อเถาะ บ่าโบะได้เผยว่า ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตจำเป็นต้องลงทุนสูง เช่นการสร้างโรงเรือนกระจก ระบบสปริงเกอร์รดน้ำอัตโนมัติ ซึ่งเกษตรกรสามารถดูแลดอกไม้ได้โดยไม่ต้องสนใจฤดูกาลเหมือนเมื่อก่อน แต่สิ่งที่ครอบครัวประสบอุปสรรคมากที่สุดคือค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติ เพราะรายได้ของครอบครัวส่วนใหญ่อยู่ที่ประมาณ ๕ ถึง ๖ ล้านด่งต่อเดือนเท่านั้น ในขณะที่ต้นทุนการปรับปรุงอาจสูงถึงนับร้อยล้านด่ง นาย ดว่านหุยบ๊น เสนอว่า “รัฐควรให้การสนับสนุนส่วนหนึ่งเพื่อก่อสร้างโรงเรือนกระจกที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เพราะไม่ต้องใช้พื้นที่เยอะ แต่ได้ผลผลิตมากขึ้น มีคุณภาพดีขึ้น ซึ่งจะทำให้สหกรณ์และหมู่บ้านศิลปาชีพคงอยู่และพัฒนาต่อไปได้”

แก้ไขอุปสรรคเพื่อให้หมู่บ้านศิลปาชีพพัฒนา - ảnh 3ต้องมีกลไกและนโยบายที่เหมาะสมเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน 

หลังจากได้รับการรับรองเป็นหมู่บ้านศิลปาชีพ หมู่บ้านแห่งนี้จะได้รับสิทธิพิเศษและการช่วยเหลือพัฒนาตามมติของรัฐบาลและคำสั่งของนคร แต่อย่างไรก็ตาม ในเวลาที่ผ่านมา การเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยียังคงประสบอุปสรรค ซึ่งยังไม่สามารถสร้างก้าวกระโดดเพื่อให้หมู่บ้านศิลปาชีพพัฒนา นาย ฝ่ามหลากเตียน รองประธานคณะกรรมการประชาชนแขวงเตินฮึง เขตทตนดได้กล่าวถึงอุปสรรคของหมู่บ้านถักอวน เทิอมเทิมว่า ขณะนี้ ชาวบ้านต้องการการสนับสนุนเงินทุนตามมติของรัฐบาล ซึ่งหมู่บ้านถักอวนยังสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนนี้

นาย ดว่านหงอกหว่างเลิม รองผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการเกษตรสังกัดสำนักงานพาณิชย์และอุตสาหกรรมนครเกิ่นเทอได้เผยว่า ทางนครได้วางแผนพัฒนาหมู่บ้านศิลปาชีพ และมีนโยบายให้สิทธิพิเศษ ให้การช่วยเหลือเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค นาย ดว่านหงอกหว่างเลิม ได้เผยว่า“ทางนครจะประสานกับกรมพัฒนาชนบทแนะนำผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้านศิลปาชีพ โดยก่อนอื่นคือเข้าร่วมงานแสดงสินค้าทั้งภายในและนอกนคร และส่งเสริมการค้า นอกจากนั้นจะประสานกับธนาคารนโยบายสังคมเพื่อให้การช่วยเหลือด้านสินเชื่อ แก้ไขอุปสรรคให้แก่หมู่บ้านศิลปาชีพเพื่อสามารถกู้เงินและพัฒนาหมู่บ้านศิลปาชีพในท้องถิ่น”

หมู่บ้านศิลปาชีพต่างๆไม่เพียงแต่สร้างงานทำให้แก่แรงงานในเขตชนบทเท่านั้น หากยังร่วมอนุรักษ์เอกลักษณ์ของท้องถิ่น ซึ่งเป็นจุดแข็งเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนอีกด้วย ดังนั้นต้องมีกลไกและนโยบายที่เหมาะสมเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เชื่อมโยงเพื่อขยายพื้นที่เพื่อให้หมู่บ้านศิลปาชีพพัฒนาอย่างยั่งยืน.

Feedback