ชาวบ้านเก็บเกี่ยวต้นธูปฤาษี |
ตำบล แค๊งอาน อำเภอ อูมิงห์ จังหวัดก่าเมา อยู่ในเขตกันชนของอุทยานแห่งชาติ อูมิงหะ ชีวิตของประชาชนขึ้นอยู่กับการปลูกป่าเป็นหลักโดยทุกๆ 5 ปีจะสามารถใช้ประโยชน์จากป่าได้ ซึ่งในระหว่างรอ ชาวบ้านจะปลูกข้าว 2 ฤดูต่อปีเพื่อดำรงชีวิต แต่พื้นที่ลุ่มนี้ประสบปัญหาดินเปรี้ยว ดังนั้นการปลูกข้าวจึงได้ผลไม่สูงนัก ในหลายปีที่ผ่านมา ชาวท้องถิ่นประสบอุปสรรคเป็นอย่างมากในการหาแนวทางใหม่เพื่อก้าวรุดหน้าไป โดยบางครอบครัวได้เปลี่ยนมาปลูกต้นธูปฤาษีและได้เกิดประสิทธิผลเป็นอย่างมาก
ต้นธูปฤาษีคือพืชที่เติบโตในพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยเฉพาะ ในทะเลสาบหรือพื้นที่ใกล้แม่น้ำที่น้ำไหลช้า ซึ่งสามารถทนความเค็มและน้ำท่วมลึก อีกทั้งยังเป็นยารักษาโรค
ครอบครัวนาย ตังวันทั้ง เป็นหนึ่งในครอบครัวแรกที่เดินหน้าปลูกต้นธูปฤาษีในหมู่บ้าน 14 ตำบล แค๊งอาน ซึ่งหลังจากปลูกพืชนี้ ชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัวนาย ทั้ง ก็ดีขึ้น ปัจจุบัน ในพื้นที่ 1.5 เฮกตาร์ เฉลี่ยแต่ละเดือน ครอบครัวนาย ตังวันทั้ง มีรายได้ 10 ล้านด่งจากการปลูกพืชชนิดนี้ ซึ่งสูงกว่าหลายเท่าเมื่อเทียบกับการปลูกกล้วยและข้าว
เมื่อก่อน ครอบครัวนาย แกว๊ก มิง หว่า กำนันผู้ใหญ่บ้านเลขที่ 14 ตำบล แค๊งอาน ประสบความลำบากมาก โดยในพื้นที่ 1 เฮกตาร์ เมื่อก่อน ถ้าปลูกข้าว จะเก็บเกี่ยวข้าวได้ประมาณ 2 ตันเท่านั้น หลังจากหักค่าใช้จ่ายก็เหลือรายได้ไม่กี่ล้านด่ง แต่ใน 2 ปีที่ผ่านมา นาย หว่า ได้ปลูกต้นธูปฤาษีและมีรายได้สูงกว่าหลายเท่าเมื่อเทียบกับการปลูกข้าว จนสามารถหาซื้อข้าวของเครื่องใช้ต่างๆและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น “การปลูกต้นธูปฤาษีสร้างรายได้ดีมาก โดยสูงกว่า 3-4 เท่าเมื่อเทียบกับการปลูกข้าวและชาวบ้านมีรายได้ 2 แสนด่งต่อวัน”
การปลูกต้นธูปฤาษีกำลังช่วยให้ชาวท้องถิ่นหลายคนหลุดพ้นจากความยากจน |
ชาวท้องถิ่นเผยว่า ต้นธูปฤาษีปลูกง่าย เหมาะสมกับพื้นที่ดินเปรี้ยวของเขต อูมิง เมื่อเริ่มฤดูฝน ต้นธูปฤาษีจะเจริญเติบโตอย่างแข็งแรง ชาวบ้านจะทำการปลูกและรอถึงช่วงเวลาเก็บเกี่ยว ปัจจุบัน ต้นธูปฤาษีแปรรูปมีราคาตั้งแต่ 2 หมื่นถึง 2 หมื่น 5 พันด่งต่อกิโลกรัม ซึ่งช่วยให้ชาวท้องถิ่นมีรายได้สูงกว่าหลายเท่าเมื่อเทียบกับการปลูกข้าว รูปแบบการปลูกต้นธูปฤาษีได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความมีประสิทธิภาพ และทางการปกครองท้องถิ่นกำลังกำหนดแนวทางขยายผลการปลูกพืชนี้ นาย แกว๊ก มิง หว่า เผยต่อไปว่า “พวกเรากำหนดการขยายผลรูปแบบการปลูกต้นธูปฤาษีในท้องถิ่นและสถานที่อื่นๆ ชาวบ้านก็เห็นด้วยเนื่องจากเกิดประสิทธิผลในระดับสูง ในพื้นที่ปลูกต้นธูปฤาษี เรายังสามารถเลี้ยงปลาเพื่อเพิ่มรายได้ คณะกรรมการประชาชนตำบลได้เห็นด้วยและกำลังปฏิบัติรูปแบบเลี้ยงปลาผสานกับการปลูกต้นธูปฤาษี ”
ปัจจุบัน อาหารที่ทำจากต้นธูปฤาษีได้กลายเป็นเมนูใหม่ของผืนแผ่นดินนี้ อาจกล่าวได้ว่า รูปแบบการปลูกต้นธูปฤาษีกำลังเปิดศักยภาพให้แก่เกษตรกรในตำบล แค๊งอานและอำเภออูมิงห์ในการสร้างงานทำและเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน ขณะนี้ พื้นที่ปลูกต้นรูปฤาษีในตำบลแค๊งอานได้รับการขยายอย่างต่อเนื่อง จากความต้องการยกระดับคุณค่าของต้นธูปฤาษีและค้ำประกันแหล่งจำหน่ายให้แก่ผลิตภัณฑ์ ทางการตำบล แค๊งอาน ได้รณรงค์และอำนวยความสะดวกให้แก่การปลูกต้นธูปฤาษีและจัดตั้งสหกรณ์จำหน่ายต้นธูปฤาษีให้แก่ชาวท้องถิ่น
ขณะนี้ ผู้รับซื้อต้นธูปฤาษีในนครโฮจิมินห์และจังหวัดต่างๆในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงได้จัดตั้งสาขารับซื้อในอำเภอ อูมิงห์ โดยมีความประสงค์ว่า จะนำผลิตภัณฑ์จากต้นธูปฤาษีเจาะตลาดภายในประเทศและมุ่งสู่การส่งออกในอนาคต.