เกษตรกรในเขตเขาเป็นฝ่ายรุกมากขึ้นในการผลิต |
อีก 1 เดือนก็จะถึงฤดูเก็บส้มของอำเภอเหมื่องเคือง ในช่วงนี้ นาง หว่างถิฮวา ในตำบลหลุ่งเค้าญินได้อัพเดทสถานการณ์ของสวนส้มผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ทุกวัน ในตลอด 2 ปีที่ผ่านมา การอัพเดทนี้ได้ช่วยให้ครอบครัวของเธอสามารถขายส้มได้อย่างสะดวก ถึงแม้อยู่ในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 อย่างหนักก็ตาม นาง หว่างถิฮวา กล่าวว่า
“ฉันทำคลิปวิดีโอตั้งแต่ช่วงที่ส้มออกดอกเพื่อแนะนะวิธีการดูแลต้นส้มและการเก็บผลผลิตที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด”
ภาพสตรีชาวม้งและชาวปายี้ในอำเภอชายแดนเหมื่องเคือง livestream ขายสินค้าได้กลายเป็นสิ่งที่คุ้นเคยในเครือข่ายสังคมออนไลน์ ซึ่งวิธีการนี้ได้นำประสิทธิภาพมาให้แก่การผลิตและการจำหน่ายสินค้าการเกษตร จากการเข้าถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่างๆ ชาวบ้านมีความกล้าคิดกล้าทำในการผลิตและประกอบธุรกิจมากขึ้น โดยสามารถติดต่อกับลูกค้าโดยตรง ตอบสนองความต้องการจากลูกค้าเพื่อยกระดับประสิทธิภาพในการผลิตและประกอบธุรกิจ นาง มาถิชี้ ในอำเภอเหมื่องเคืองกล่าวว่า
“เมื่อดิฉัน livestream ผู้ชมรู้สึกชื่นชอบแล้วแชร์ให้เพื่อนๆ ซึ่งคลิปวิดีโอของเราสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้คนต่างๆ ช่วยให้เราสามารถขยายตลาดได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง”
ไม่เพียงแต่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการผลิตและจำหน่ายสินค้าเกษตรผ่านอินเตอร์เน็ตเท่านั้น ชาวบ้านหล่าวกายยังเข้าใจความหมายต่างๆ เช่น รหัส QR อี – คอมเมิร์ซ การเขียนจดหมายบันทึกการเกษตรและซอฟแวร์ใช้เครื่องมือการเกษตรต่างๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป นาย เจิ่นแหมงทั้ง ชาวบ้านตำบล บ๋านแซน อำเภอเหมื่องเคือง กำลังทดลองใช้โดรนเพื่อพ่นยาฆ่าแมลงให้แก่ต้นชา
“ยกตัวอย่างเช่น ในการใช้ซอฟแวร์ใช้อากาศยานไร้คนขับพ่นยาฆ่าแมลง เราสั่งให้ผู้ผลิตต้องทำบันทึกอิเล็กทรอนิกเก็บข้อมูลว่า ต้องพ่นยาภายในระยะเวลากี่วัน เช่น 15 หรือ 20 วัน เมื่อเปิดบันทึกนั้น เราจะทราบว่า ถึงเวลาต้องพ่นยาแล้วหรือยัง”
สำหรับการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลในการเกษตร นาย เลแทงฮวา หัวหน้าสำนักงานการเกษตรและพัฒนาชนบทอำเภอเหมื่องเคืองกล่าวว่า
“ในเวลาข้างหน้า เราจะให้คำปรึกษาเพื่อสร้างสรรค์ฟาร์มปลูกสินค้าเกษตรของเหมื่องเคืองต่างๆ เพื่อแนะนำและประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตร พร้อมทั้งเปิดการฝึกอบรมให้แก่ชาวบ้านเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี 4.0 ในการผลิตและขายสินค้า”
สินค้าเกษตรในอำเภอเหมื่องเคืองมีรหัส QR สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้และมีระบบรดน้ำอัตโนมัติ นี่คือผลงานเบื้องต้นที่น่ายินดีในการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลในจังหวัดหล่าวกาย โดยเฉพาะในอำเภอเหมื่องเคือง ซึ่ง “เกษตรกรดิจิทัล” ในเขตเขามีความคล่องตัว มั่นใจ และพร้อมก้าวข้ามความท้าทายต่างๆ เพื่อไปสู่ความสำเร็จในยุคดิจิทัล.