การผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวแห้งด้วยเครื่องจักรกลที่ทันสมัย |
เวลา 04.00 น. หมู่บ้านทำเส้นก๋วยเตี๋ยวแห้ง โหละเกือง เริ่มวันใหม่ท่ามกลางบรรยากาศที่คึกคัก ด้วยเสียงเครื่องโม่แป้ง เครื่องตัดเส้นก๋วยเตี๋ยวแห้ง และเสียงหัวเราะของคนงาน ครอบครัวนาง ฝ่ามถิเฉียน เป็นหนึ่งในครอบครัวในหมู่บ้าน โหละเกืองเอ ที่ผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวแห้งแบบครบวงจร โดยมีทั้งเครื่องโม่แป้ง เครื่องตัดเส้น และเครื่องอบแห้ง 17 เครื่อง โดยทุกวัน โรงงานของครอบครัวนาง เฉียน ขายเส้นก๋วยเตี๋ยวแห้งได้3 ตันต่อวัน “เมื่อก่อน พวกเราผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวแห้งแบบโบราณด้วยมือ เมื่อ 2 ปีก่อนก็ใช้เครื่องจักรผลิตแบบครบวงจรโดยพ่อค้าแม่ค้ามารับซื้อถึงที่บ้าน เมื่อก่อน ขายที่หมู่บ้านและเขตใกล้เคียง แต่ตอนนี้ ได้ขยายตลาดมีขายที่ภาคใต้ด้วย”
หมู่บ้านโหละเกืองเอและโหละเกืองบี แขวงตื๊อมิงห์มี 140 ครอบครัว ที่ประกอบอาชีพทำเส้นก๋วยเตี๋ยวแห้ง และมีประมาณ 10 ครอบครัวที่มีเครื่องจักรผลิตแบบครบวงจร ส่วนครอบครัวที่เหลือจะใช้วิธีการผลิตแบบดั้งเดิมเป็นส่วนใหญ่ สำหรับขั้นตอนการทำ เริ่มด้วยการร่อนแป้งแล้วนำไปใส่เครื่องตีให้เข้ากัน จากนั้นนำไปตากแดดให้แห้งแล้วตัดเป็นเส้น ๆ ด้วยมือ แต่ไม่ว่าจะผลิตด้วยวิธีแบบไหน เส้นก๋วยเตี๋ยวแห้ง โหละเกือง ก็ยังคงมีชื่อเสียงเนื่องจากเส้นบาง นุ่มเหนียวและใส ทำปรุงอาหารจะหอมและอร่อย คุณ หวุถิถวี จากหมู่บ้าน โหละเกืองเอ เปิดเผยถึงเคล็ดลับในการผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวแห้งที่อร่อยนี้ว่า“ความเหนียวของแป้งต้องพอดีถึงจะได้เส้นที่อร่อย ซึ่งถือเป็นเคล็ดลับที่ทำกันมาอย่างยาวนาน เมื่อก่อนจะทำการนวดแป้งด้วยการตำ แป้งดีก็จะได้เส้นก๋วยเตี๋ยวที่ไม่เหละหรือเปื่อย ส่วนตอนนึ่งแผ่นแป้งที่ที่ดูกรีดให้บางๆนั้นจะต้องหรี่ไฟให้ความร้อนสม่ำเสมอถึงจะได้แผ่นแป้งที่สุกดี”
การผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวแห้งแบบดั้งเดิม
|
เส้นก๋วยเตี๋ยวแห้ง โหละเกือง มีชื่อเสียงไม่เพียงแต่ในจังหวัดหายเยืองเท่านั้น หากยังเป็นที่รู้จักในท้องถิ่นหลายแห่งของประเทศอีกด้วย เมื่อปี 2006 โหละเกือง ได้รับการรับรองเป็นหมู่บ้านศิลปาชีพและจนถึงปี 2018 เมืองหายเยืองได้ประสานกับสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจังหวัดหายเยืองสร้างเครื่องหมายการค้าเส้นก๋วยเตี๋ยวแห้ง โหละเกือง
แต่อย่างไรก็ตาม พร้อมกับการพัฒนาและการขยายตลาด หมู่บ้านโหละเกือง ก็เช่นเดียวกับหมู่บ้านศิลปาชีพอื่นๆ ที่กำลังเผชิญกับความท้าทายจากการพัฒนาตัวเมือง การที่เมืองหายเยืองได้รับการรับรองเป็นตัวเมืองอันดับ 1 สังกัดจังหวัดหายเยืองเป็นโอกาสเพื่อให้เมืองแห่งนี้พัฒนา อีกทั้งวางหน้าที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์และพัฒนาหมู่บ้านศิลปาชีพ นาย ฟานกวี๊แทง รองหัวหน้าหน่วยดูแลเศรษฐกิจของเมืองหายเยืองเผยว่า “ในเวลาที่จะถึง เมืองหายเยืองจะเน้นผลิตเชิงพาณิชย์และให้บริการเพื่อพัฒนา ทุกปี เมืองหายเยืองได้ประสานกับธนาคารนโยบายจัดงบตั้งแต่ 300-500 ล้านด่งเพื่อช่วยเหลือครอบครัวผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวแห้งและครอบครัวประกอบอาชีพช่างไม้กู้เงินเพื่อพัฒนา เมืองหายเยืองยังให้ความสนใจถึงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและแก้ไขปัญหามลภาวะสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้านศิลปาชีพ”
ไม่เพียงแต่ให้ความสนใจและช่วยเหลือการผลิตให้แก่ชาวท้องถิ่น หากในเวลาที่จะถึง จังหวัดหายเยืองจะพัฒนาหมู่บ้านศิลปาชีพทำเส้นก๋วยเตี๋ยวแห้ง โหละเกือง ควบคู่กับการพัฒนาการท่องเที่ยวและเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวมาเรียนรู้ขั้นตอนการผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวแห้งอีกด้วย คุณ เหงียนถิเวียดงา ผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรม การกีฬาและการท่องเที่ยวจังหวัดหายเยืองยืนยันว่า “จังหวัดหายเยืองมีหมู่บ้านศิลปาชีพหลายแห่ง แต่ปัจจุบันก็อยากพัฒนาหมู่บ้านควบคู่กับการพัฒนาการท่องเที่ยว ถ้าอยากกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ต้องมีการประสานงานอย่างใกล้ชิดระหว่างสำนักงานวัฒนธรรม การกีฬาและการท่องเที่ยวกับคณะกรรมการประชาชนเมืองหายเยืองและสำนักงานพาณิชย์และอุตสาหกรรม ถ้าเปิดทัวร์เที่ยวหมู่บ้านศิลปาชีพได้ ก็จะดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมากให้มาเที่ยวหมู่บ้านและมีส่วนร่วมประชาสัมพันธ์เครื่องหมายการค้าของหมู่บ้านศิลปาชีพผ่านการท่องเที่ยว”
หมู่บ้านทำเส้นก๋วยเตี๋ยวแห้ง โหละเกือง ได้รับการก่อตั้งในช่วงปี 1960 ของศตวรรษที่ 20 จนถึงปัจจุบัน หมู่บ้านแห่งนี้กำลังเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างเข้มแข็งพร้อมกับการพัฒนาของเมืองหายเยือง จังหวัดหายเยือง.