(VOVworld) - การประยุกต์ใช้และถ่ายทอดวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมในชนบทและเขตเขาได้เกิดผลอย่างจริงจัง ซึ่งมีส่วนร่วมปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นและถือเป็น หนึ่งในมาตรฐานสำคัญของโครงการเป้าหมายแห่งชาติว่าด้วยการสร้างสรรค์ชนบท ใหม่ระยะปี 2010 – 2020
โครงการเลี้ยงหอยนางรมเชิงสินค้าเพื่อใช้ผลิตอาหารเสริมในจังหวัดบิ่งดิ่งห์
(Photo: binhdinh.gov.vn)
|
โครงการเลี้ยงหอยนางรมเชิงสินค้าเพื่อใช้ผลิตอาหารเสริมในจังหวัดบิ่งดิ่งห์ได้พัฒนาดีมากจนกลายเป็นอาชีพแขนงหนึ่งที่มีส่วนร่วมสร้างงานทำและแก้ปัญหาความยากจนให้แก่ชาวประมงในเขตริมฝั่งทะเล ก่อนหน้านั้น ชาวบ้านได้ใช้พันธุ์หอยนางรมทางธรรมชาติ ซึ่งให้ผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควรและก่อให้เกิดปัญหามลภาวะสิ่งแวดล้อม ปัจจุบัน ชาวบ้านได้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการผลิต รวมทั้งการใช้พันธุ์หอยนางรมแปซิฟิกและหอยนางรมพันธุ์บิ่งห์ดิ่งห์ ซึ่งช่วยเพิ่มผลผลิตจาก 3.2 ตันต่อเฮกต้าต่อปี ขึ้นเป็น 25 ตันต่อเฮกต้าต่อปี ส่วนราคาของหอยนางรมก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับหอยนางรมทางธรรมชาติ นาง ฝ่ามถิแทงเฮือง หัวหน้าโครงการเลี้ยงหอยนางรมเพื่อผลิตอาหารเสริมในจังหวัดบิ่งดิ่งห์เล่าให้ฟังว่า “จากการปฏิบัติโครงการดังกล่าว ชาวบ้านได้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตเป็น 3 – 8 เท่า และมีการรักษาอนามัยความปลอดภัยด้านอาหาร ส่วนหอยนางรมมีคุณภาพดีขึ้น ซึ่งตอบสนองความต้องการของตลาดและสถานประกอบการต่างๆ ปัจจุบัน แม้ไม่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการนี้อีก แต่หลายครอบครัวก็ได้ลงทุนในเบื้องต้นเพื่อปฏิบัติโครงการเลี้ยงหอยนางรมและมีความประสงค์ที่จะพัฒนาอาชีพแขนงนี้ต่อไป”
ส่วนที่จังหวัดบั๊กยาง ในหลายปีที่ผ่านมา ทางการจังหวัดได้ประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการเกษตรและสร้างสรรค์ชนบทใหม่ เกี่ยวกับการวิจัยวิทยาศาสตร์ การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการส่งเสริมการเกษตรระยะปี 2011 – 2014 ได้มีการปฏิบัติโครงการต่างๆ เช่น โครงการพัฒนาศูนย์เพาะพันธุ์เห็ด ศูนย์เพาะพันธุ์สัตว์นํ้าและศูนย์เพาะพันธุ์ไม้ผล โดยเฉพาะในการจัดทำรูปแบบทุ่งนาขนาดใหญ่ ได้มีการกำหนดให้ใช้เครื่องจักรกลในทุกขั้นตอนการผลิต พร้อมทั้งเชื่อมโยงกับสถานประกอบการในการผลิตและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ซึ่งการปฏิบัติรูปแบบทุ่งนาขนาดใหญ่ได้ช่วยลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจตั้งแต่ร้อยละ 10 – 15 นาย เหงวียนดึ๊กเกียน ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีจังหวัดบั๊กยางได้แสดงความเห็นว่า “ถ้าหากโครงการอื่นๆเกิดประสิทธิภาพเหมือนโครงการนี้ ก็จะส่งผลดีต่อการแก้ปัญหาความยากจนและการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ สิ่งที่น่าสนใจคือ การขยายผลโครงการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีในการผลิตนี้ได้ประสบความสำเร็จ”
ในหลายปีที่ผ่านมา กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ปฏิบัติโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีเกือบ 5 พันโครงการและโครงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกว่า 2500 โครงการใน 62 จังหวัด นาย เหงวียนกวน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เผยว่า “จากการปฏิบัติโครงการดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ที่ไหนปฏิบัติโครงการพัฒนาชนบทเขตเขา ที่นั่นจะบรรลุมาตรฐานของการสร้างสรรค์ชนบทใหม่อย่างรวดเร็ว อีกทั้งเป็นการช่วยเหลือให้ประชาชนชนกลุ่มน้อยยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ การรักษาความมั่นคงและการป้องกันประเทศ ตลอดจนการกำหนดให้เน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์แห่งชาติที่นายกรัฐมนตรีได้อนุมัติ คือ ข้าว ปลาไม่มีเกล็ดและผลิตภัณฑ์จากเห็ด”
ในระยะปี 2016 – 2025 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะผลักดันการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อใช้ประโยชน์จุดแข็งและศักยภาพของเขตต่างๆต่อไป โดยเฉพาะเขตชนบท เขตเขาและเขตชนกลุ่มน้อย พร้อมทั้งจัดทำรูปแบบการประยุกต์ใช้และถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เป็นรูปธรรมเพื่อปฏิบัติในชีวิตจริง ตลอดจนสร้างความผูกพันตามรูปแบบห่วงโซ่คุณค่า โดยถือสถานประกอบการเป็นปัจจัยสำคัญเพื่อประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีในการผลิต อีกทั้งช่วยให้ประชาชนสร้างฐานะจากการผลิตเกษตรอย่างยั่งยืน.