(VOVworld) – เอียนโจวคืออำเภอเขตเขาของจังหวัดเซินลาที่มีชนกลุ่มน้อยอาศัยเป็นจำนวนมาก ในเวลาที่ผ่านมา จากการใช้เงื่อนไขที่เอื้ออำนวยของสภาพภูมิอากาศและที่ดินเพื่อพัฒนาการเกษตรและไม้ผล โดยเฉพาะการปลูกกล้วย เกษตรกรในท้องถิ่นจึงได้มีแนวทางใหม่ในการสร้างฐานะเพื่อแก้ปัญหาความยากจนและสร้างสรรค์ชนบทใหม่
รูปแบบการปลูกกล้วยในอำเภอ เอียนโจว จังหวัดเซินลา ช่วยให้ประชาชนหลุดพ้นจากความยากจน
|
ควบคู่กับการปลูกมะม่วง กล้วยคือไม้ผลที่มีรสชาติหอมอร่อยและขึ้นชื่อของอำเภอเอียนโจว ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการผลิตจากกล้วยน้ำว้า เช่น ไวน์กล้วยและกล้วยอบแห้งได้กลายเป็นอาหารพื้นเมืองที่รู้จักอย่างแพร่หลายในหมู่นักท่องเที่ยวจากทุกสารทิศที่เดินทางมาเยือนอำเภอนี้
ครอบครัวของนาง ห่าถิด๋อ ในหมู่บ้านดงขว่าย ตำบล ตู๊นาง อำเภอ เอียนโจว คือหนึ่งในครอบครัวที่ประกอบอาชีพปลูกกล้วยมาหลายปี นาง ด๋อได้เผยว่า ในอำเภอ เอียนโจว อาชีพปลูกกล้วยได้รับการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น การปลูกกล้วยมีประโยชน์มากมาย เช่นช่วยเก็บรักษาความชุ่มชื้นไว้ในดิน เครือกล้วยให้กล้วยหลายลูก ปลีกล้วยสามารถนำไปขาย ส่วนลำต้นของกล้วยใช้ทำอาหารสัตว์ หลังจากเห็นว่า การปลูกข้าวโพดบนเนินเขาให้ผลผลิตต่ำเนื่องจากที่ดินไม่อุดมสมบูรณ์และต้องใช้เวลาในการดูแลมากกว่าการปลูกกล้วย ดังนั้น ตั้งแต่ปี 2010 ครอบครัวของนาง ด๋อได้เปลี่ยนพื้นที่เนินเขาที่ปลูกข้าวโพดที่ให้ผลผลิตต่ำกว่า 1 เฮกต้าร์มาเป็นการปลูกต้นกล้วยกว่า 300 ต้น เนื่องจากไม่ต้องใช้เวลาในการดูแลมาก ทุกปี เธอสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตจากต้นกล้วยได้ 3-4 ครั้งต่อปีและราคาขายกล้วยอยู่ที่ประมาณ 4 พัน-6พันด่งต่อกิโลกรัม ผู้ปลูกกล้วยสามารถเก็บเกี่ยวกล้วยได้ประมาณ 5 ตันต่อเฮกต้าร์ต่อปีและสร้างรายได้นับสิบล้านด่ง นาง ห่าถิด๋อได้เผยว่า “การปลูกกล้วยไม่ต้องลงทุนปุ๋ยและพันธุ์ ดิฉันผลิตพันธุ์กล้วยเองแล้วก็นำไปปลูก ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเยอะในการดูแลแถมให้ผลผลิตสูง ส่วนการปลูกข้าวโพดต้องลงทุนพันธุ์ ปุ๋ยและใช้เวลาในการดูแลมากแถมทำให้ที่ดินสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ ภายหลังฤดูเก็บเกี่ยว ต้องใช้เงินเก็บทั้งหมดซื้อพันธุ์ข้าวโพดและปุ๋ย”
เช่นเดียวกับครอบครัวของนาง ด๋อ จนถึงขณะนี้ กล้วยเอียนโจวถูกปลูกในพื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลตู๊นาง สับหวัด เจี่ยงฮักและเจี่ยงดง รวมพื้นที่เกือบ 400 เฮกต้าร์โดยครอบครัวที่ปลูกกล้วยได้เล็งเห็นถึงประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจจากการปลูกไม้ผลนี้เนื่องจากต้นกล้วยสามารทนความแห้งแล้งได้ดี มีต้นทุนต่ำ ไม่ต้องใช้เวลาในการดูแลมาก การปลูกต้นกล้วยตรงตามมาตรฐานจะให้ผลผลิตตั้งแต่ 25-30 ตันต่อเฮกต้าร์ต่อปี สร้างรายได้สูงกว่า 2.5 เท่าเมื่อเทียบกับการปลูกข้าวโพด ครอบครัวเกษตรกรหลายครอบครัวได้มีรายได้ตั้งแต่ 80-100 ล้าน ด่งต่อปี แต่ปัจจุบัน เกษตรกรในท้องถิ่นขาดการวางแผนในการปลูก ขาดการลงทุนและความรู้เกี่ยวกับเทคนิคและสิ่งที่น่าสนใจคือราคาขายยังคงขึ้นอยู่กับตลาด นาย ห่ายือเหว่ รองประธานคณะกรรมการประชาชนอำเภอเอียนโจวได้เผยว่า เพื่อพัฒนาอาชีพปลูกกล้วยและประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากต้นกล้วยภายใต้ยี่ห้อของเอียนโจวต้องได้รับการช่วยเหลือจากทางการท้องถิ่น โดยเฉพาะการประชาสัมพันธ์และการแสวงหาตลาดจำหน่าย“ต้นกล้วยเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วหลังจากปลูก 1 ปีก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ แต่มีอุปสรรคคือ การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกล้วยต้องขึ้นอยู่กับตลาดภายนอก พวกเรามีความประสงค์ว่าในเวลาที่จะถึง งานด้านการประชาสัมพันธ์จะได้รับการผลักดันเพื่อแสวงหาหุ้นส่วนจำหน่ายที่ยั่งยืนให้แก่เกษตรกรเพื่อพัฒนาพื้นที่ปลูกต้นกล้วย ตลอดจนการพัฒนาพันธุ์กล้วยให้แก่เกษตรกร”
เพื่อพัฒนาอาชีพปลูกต้นกล้วยของอำเภอ ขยายตลาดและยกระดับรายได้ให้แก่เกษตรกร ตั้งแต่ปี 2012 อำเภอเอียนโจวได้ร่วมกับบริษัทหุ้นส่วนไวน์เวียดนาม-ฝรั่งเศสก่อสร้างเขตปลูกต้นกล้วยที่มีคุณภาพสูงตามรูปแบบเชื่อมโยง 4 ฝ่าย ประกอบด้วย ภาครัฐ นักวิทยาศาสตร์ ผู้ประกอบการและเกษตรกรโดยแหล่งเงินทุนมาจากการสนับสนุนของรัฐและสถานประกอบการ ปริมาณการจำหน่ายกล้วยของบริษัทฯบรรลุตั้งแต่ 18-25 ตันต่อเดือนและมีราคาขายตั้งแต่ 3 พัน-5 พันด่งต่อกิโลกรัม กล้วยน้ำว้านำไปผลิตไวน์ กล้วยอบแห้งและอบกรอบมีชื่อเสียงของเอียนโจว นาย เลวันเหวี่ยน ผู้อำนวยการบริษัทหุ้นส่วนไวน์เวียดนาม-ฝรั่งเศสมีความประสงค์ว่า จะขยายโรงงานผลิตไวน์เพื่อช่วยให้สถานประกอบการพัฒนาอย่างเข้มแข็ง สร้างงานทำและรายได้ที่มั่นคงให้แก่ชาวท้องถิ่น“ผมมีความปรารถนาว่า จะขยายโรงงานผลิตไวน์เพื่อจัดซื้อผลิตภัณฑ์ของเกษตรกรและขยายเขตปลูกกล้วยเพื่อช่วยให้เกษตรกรประกอบอาชีพปลูกกล้วยอย่างยั่งยืน มีส่วนร่วมยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดีขึ้น”
ปี 2014 อำเภอเอียนโจวได้ปลูกกล้วยที่ให้ผลผลิตสูงในพื้นที่อีก 25 เฮกต้าร์ให้แก่ชาวบ้านต่อไปด้วยความคาดหวังว่า จาการเชื่อมโยง 4 ฝ่ายที่ยั่งยืน ต้นกล้วยจะกลายเป็นไม้ผลที่ช่วยแก้ปัญหาความยากจนให้แก่เกษตรกรที่นี่อย่างจริงจัง./.