ประเพณีการบูชาผู้ให้กำเนิดอาชีพในหมู่บ้านศิลปาชีพต่างๆในเวียดนาม

Ngọc Anh
Chia sẻ
(VOVWORLD) - ประเพณีการบูชาผู้ให้กำเนิดอาชีพพื้นเมืองคือเกียรติประวัติที่ดีงามในหมู่บ้านศิลปาชีพต่างๆของเวียดนาม สะท้อนให้เห็นถึงความกตัญญูรู้คุณของชาวบ้านต่อผู้ให้กำเนิดอาชีพ สำหรับการจัดพิธีบูชาผู้ให้กำเนิดอาชีพ ชาวบ้านมีความประสงค์ว่า จะช่วยให้อาชีพพัฒนาและชีวิตมีความอิ่นหนำผาสุก ทุกปี หมู่บ้านศิลปาชีพต่างๆจะมีพิธีบวงสรวงผู้ให้กำเนิดอาชีพเพื่อยกย่องสดุดีและแสดงความสำนึกในบุณคุณต่อผู้ให้กำเนิดอาชีพ
ประเพณีการบูชาผู้ให้กำเนิดอาชีพในหมู่บ้านศิลปาชีพต่างๆในเวียดนาม - ảnh 1ศาลาบูชาผู้ให้กำเนิดอาชีพ เจืองกงแถ่ง (vnexpress.net

ผู้ให้กำเนิดอาชีพยังได้รับการยกย่องเป็นเทพเจ้ากำเนิดอาชีพ เป็นผู้ที่มีส่วนร่วมมากมายในการสร้างและเผยแพร่อาชีพให้แก่ประชาชน ดังนั้น ผู้กำเนิดอาชีพจึงได้รับการยกย่องสดุดีเพื่อแสดงความสำนึกในบุญคุณจากคนรุ่นหลัง ผู้ให้กำเนิดอาชีพมักจะเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ แต่บางทีก็ไม่มีตัวตน เพราะเป็นบุคคลที่สร้างขึ้นโดยตำนานพื้นบ้าน

เวียดนามมีหมู่บ้านศิลปาชีพเกือบ 5 พัน 4 ร้อยแห่ง โดยในนั้นเป็นหมู่บ้านศิลปาชีพที่เก่าแก่เกือบ 2 พันแห่ง และเกือบทุกหมู่บ้านมีการบูชาผู้ให้กำเนิดอาชีพ โดยทั่วไปแล้ว ในหมู่บ้านศิลปาชีพต่างๆในเวียดนาม ชาวบ้านสามารถตั้งหิ้งบูชาผู้ให้กำเนิดอาชีพที่บ้านของตนเอง  แต่ส่วนใหญ่จะตั้งที่ศาลาบูชาในหมู่บ้านของตนและยังมีหมู่บ้านหลายแห่ง ชาวบ้านได้ยกย่องสดุดีผู้ให้กำเนิดอาชีพเป็นเทพเจ้าดูแลหมู่บ้าน ดร. เหงียนวีขาย รองประธานสภาที่ปรึกษาของสมาพันธ์หมู่บ้านศิลปาชีพเวียดนามได้เผยว่า “หมู่บ้านศิลปาชีพและการบูชาผู้ให้กำเนิดอาชีพมีความผูกพันกัน เพราะจากหมู่บ้านศิลปาชีพพัฒนาขยายไปสู่ย่านอาชีพและการกลับสู่แหล่งที่มาของอาชีพเป็นสิ่งที่อยู่คู่กัน ซึ่งสามารถขยายผลคุณค่าวัฒนธรรมทั้งด้านนามธรรมและรูปธรรม การบูชาผู้ให้กำเนิดอาชีพไม่เพียงแต่มีที่เวียดนามเท่านั้น หากยังมีในหลายประเทศอีกด้วย โดยเฉพาะในย่านเอเชียอย่างที่ประเทศญี่ปุ่น จีนและสาธารณรัฐเกาหลี เป็นต้น แต่การบูชาผู้ให้กำเนิดอาชีพเวียดนามมีเอกลักษณ์เฉพาะคือเป็นการบูชาผู้ให้กำเนิดอาชีพที่มีความผูกพันกับงานเทศกาล กิจกรรมพบปะสังสรรค์ระหว่างเขตชมรมและ สมาคมที่ประกอบอาชีพอื่นๆเพื่อร่วมกันคงอยู่และพัฒนา”

ประเพณีการบูชาผู้ให้กำเนิดอาชีพในหมู่บ้านศิลปาชีพต่างๆในเวียดนาม - ảnh 2ศาลาประจำหมู่บ้านกิมเงินในกรุงฮานอย 

อาชีพทุกแขนงต่างมีผู้ให้กำเนิดอาชีพ บางทีหลายอาชีพมีผู้ให้กำเนิดอาชีพคนเดียวกัน มีอาชีพเดียวกัน และมีสถานที่หลายแห่งที่บูชาผู้ให้กำเนิดอาชีพคนเดียวกัน ปัจจุบันยังไม่มีรายงานสถิติว่า มีผู้ให้กำเนิดอาชีพกี่คน แต่คาดว่า น่าจะมีประมาณ 130 คน โดยฮานอยเป็นท้องถิ่นที่มีหมู่บ้านศิลปาชีพมากที่สุดของประเทศ เช่นหมู่บ้านแกะสลักฝังมุก จวนเหงาะ ที่มีผู้ให้กำเนิดอาชีพคือนาย เจืองกงแถ่ง ซึ่งเป็นนายพลในสมัยราชวงศ์หลี ผู้ให้กำเนิดอาชีพของหมู่บ้านผ้าไหมหว่านฟุกคือนาง อา หลา ถิ เนือง เมื่อศตวรรษที่ 9  ส่วนหมู่บ้านช่างภาพ ลายซ้า มีผู้ให้กำเนิดอาชีพคือนาย แค๊งกี๊ และผู้ให้กำเนิดอาชีพร้อยแขนงคนแรกคือกษัตริย์หุ่ง ที่มีคุณูปการในการก่อสร้างประเทศ นาย เหงียนดึ๊กโต๊ลิว นักวิจัยวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์เผยว่า “พวกเรามีผู้ให้กำเนิดอาชีพรุ่นบุกเบิก 2 ท่านคือกษัตริย์หุ่งและพระราชินี ไตเทียนลังถิเตียว หลังจากนั้น ก็มีผู้ให้กำเนิดอาชีพคนอื่น เช่นผู้ให้กำเนิดอาชีพทำเครื่องเงินเครื่องทอง การหล่อทองแดงและอาชีพหัตถกรรม โดยศาลา กิมเงินในกรุงฮานอยเป็นสถานที่บูชาผู้ให้กำเนิดอาชีพร้อยแขนงคือกษัตริย์หุ่งที่มีข้อคิดริเริ่มและสอนให้ชาวบ้านรู้จักหลายอาชีพ เช่นการก่อสร้างบ้าน การทำเกษตรและการเขียนตัวอักษร”

การบูชาผู้ให้กำเนิดอาชีพคือขนบธรรมเนียมประเพณีและพิธีที่ศักสิทธิ์ของชาวบ้าน โดยงานสักการะบูชามักจะจัดขึ้นตรงกับวันเกิดหรือวันถึงแก่อสัญกรรมของผู้ให้กำเนิดอาชีพหรือจัดพร้อมกับงานเทศกาลของหมู่บ้าน ชาวบ้านเชื่อว่า การบูชาผู้ให้กำเนิดอาชีพก็เป็นการบูชาบรรพบุรุษ เป็นสายสัมพันธ์เชื่อมโยง สร้างความผูกพันระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ สะท้อนให้เห็นถึงขนบธรรมเนียมประเพณีดื่มน้ำต้องรำลึกถึงแหล่งที่มาของน้ำ ความกตัญญูรู้คุณของชาวเวียดนามต่อผู้ที่มีส่วนอุทิศให้ชาติบ้านเมือง นาย หวูหงอกโทย อาจารย์และนักวิจัยวัฒนธรรมได้เผยว่า “ความกตัญญูรู้คุณมีความผูกพันกับการบูชาผู้ให้กำเนิดอาชีพ เป็นการแสดงให้เห็นถึงจิตใจแห่งความกตัญญูรู้คุณของคนรุ่นหลังต่อผู้บุกเบิกเส้นทางให้แก่เรา ถ้าหากพวกเราไม่มีจิตใจแห่งความกตัญญูรู้คุณ แน่นอนว่า ในอนาคตก็ไม่สามารถพัฒนาได้”

เวียดนามมีสุภาษิตหลายคำที่สื่อความหมายแห่งการรำลึกถึงรากเหง้า เช่น “ดื่มน้ำต้องรำลึกถึงแหล่งที่มาของน้ำ” แม้จะอยู่ห่างไกล แต่ใจยังคงจดจำรากเหง้า ดังนั้น ช่างศิลป์และช่างฝีมือมีความผูกพันกับสถานที่ที่ตนเกิด เติบโตและได้เรียนอาชีพ และเมื่อต้องอยู่ไกลบ้านเกิดไม่ว่าเหตุผลใดก็ตาม แต่พวกเขายังคงมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์อาชีพ ความกตัญญูรู้คุณต่อผู้กำเนิดอาชีพก็ไม่ถูกลืมเลือนหากพวกเขาได้สะท้อนความสำนึกในบุญคุณนั้นผ่านการประกอบอาชีพ เผยแพร่อาชีพและสร้างขนบธรรมเนียมประเพณีการบูชาผู้ให้กำเนิดอาชีพเพื่อให้วัฒนธรรมที่ดีงามนี้ได้พัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป.

Feedback