จังหวัดบ่าเหรียะ-หวุงเต่า พัฒนาการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงตามแนวทางที่ยั่งยืน

Le Hoa
Chia sẻ
(VOVWORLD) -การเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงถูกกำหนดให้เป็น 1 ใน 4 เสาหลักด้านเศรษฐกิจของจังหวัดบ่าเหรียะ-หวุงเต่าตามมติสมัยที่ 7 ของพรรคสาขาจังหวัดบ่าเหรียะ-หวุงเต่า วาระปี 2020-2025 ซึ่งในเวลาที่ผ่านมา ถึงแม้ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและความท้าทายจากการผสมผสานเข้ากับกระแสโก แต่ทางการจังหวัดฯ ยังคงเดินตามแผนการที่กำหนดไว้จนประสบผลที่น่ายินดีในเบื้องต้น ซึ่งเป็นการยืนยันถึงการส่งเสริมบทบาทของการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการพัฒนาจังหวัดฯ
จังหวัดบ่าเหรียะ-หวุงเต่า พัฒนาการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงตามแนวทางที่ยั่งยืน - ảnh 1บ่อเลี้ยงกุ้งที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงของสหกรณ์ เจอะ เบ๊น อำเภอลงเดี่ยน
 
 

สหกรณ์การเกษตรซวนเจื่องในตำบลบิ่งบา อำเภอโจวดึ๊ก ได้รับการก่อตั้งเมื่อปี 2002 รวมพื้นที่ปลูกแก้วมังกร 12 เฮกตาร์ ซึ่งในตอนแรก ทางสหกรณ์ฯ ได้รณรงค์ให้สมาชิกผลิตตามมาตรฐาน VietGap และมาตรฐานระดับโลกอื่นๆ เช่น Global Gap เพื่อสามารถจำหน่ายผลผลิตได้อย่างมีเสถียรภาพโดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง ถึงปลายปี 2021 จากเงื่อนไขที่นับวันเข้มงวดมากขึ้นของประเทศนำเข้าสินค้าการเกษตรต่างๆ โดยเฉพาะสหรัฐ ทางสหกรณ์ฯ ได้ร่วมมือกับสหกรณ์ฯ อื่นๆ ในท้องถิ่นแนะนำให้เกษตรกรทำเกษตรอินทรีย์และเข้าร่วมโครงการ OCOP เพื่อสามารถค้ำประกันรายได้ให้แก่สมาชิก นาย จิ่งวันเตี๊ยน สมาชิกในสหกรณฯ กล่าวว่า

“เกษตรกรเรากำลังพยายามเชื่อมโยงกันเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในตลาด ซึ่งปัจจุบันนี้ ทางสหกรณ์ฯ กำลังปลูกตามแนวทางอินทรีย์ โดยไม่ใช้สารเคมีมากเกินจำเป็น เราแบ่งการปลูกเป็น 4 โซน โดยแต่ละโซนเก็บผลผลิตได้ประมาณ 4 ตัน ส่วนราคาก็ดีและมีเสถียรภาพ ซึ่งดีกว่าการปลูกพริกไทย”

ภายใต้การปฏิบัตินโยบายสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงของทางการจังหวัดฯ สหกรณ์การเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ลองแถ่งฟ๊าด จังหวัดด่งนาย ได้ลงทุนประมาณ 3.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อเลี้ยงไก่แบบอุตสาหกรรมที่ตำบล หว่าโหย อำเภอ เซียนหมก จังหวัดบ่าเหรียะ-หวุงเต่า โดยขณะนี้ใช้พื้นที่ผลิตประมาณ 1.2 เฮกตาร์เพื่อการเลี้ยงไก่ตั้งแต่ 180,000 – 240,000 ต่อครั้งในโรงเรือนระบบปิดแบบควบคุมอุณหภูมิด้วยการระเหยน้ำซึ่งช่วยป้องกันเชื้อโรคจากภายนอก นาย เลวันเกวี๊ยด ประธานคณะกรรมการผู้บริหาร ผู้อำนวยการของสหกรณ์ฯ เผยว่า ถ้าหากเปรียบเทียบกับวิธีการเลี้ยงแบบดั่งเดิ่ม วิธีการเลี้ยงแบบใหม่นี้ได้ผลผลิตมากกว่า 3 เท่า โดยผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของสหกรณ์ฯ สามารถส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่น มีรายได้เกือบ 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี

“การเลี้ยงแบบนี้จะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม โดยสามารถควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือนให้เหมาะสมกับอายุของไก่ ช่วยให้ไก่โตเร็วและไม่ติดโรค”

จังหวัดบ่าเหรียะ-หวุงเต่า พัฒนาการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงตามแนวทางที่ยั่งยืน - ảnh 2ลำใยเนื้อสีเหลืองที่อำเภอเดิ๊ดด๋อ

ปัจจุบัน จังหวัดบ่าเหรียะ-หวุงเต่าได้ดึงดูดสถานประกอบการ นักลงทุน องค์กรและบุคคล 484 แห่งเข้าร่วมการผลิตเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งรวมทั้งสถานประกอบการด้านการเกษตร 342 แห่ง สถานประกอบการด้านปศุสัตว์ 127 แห่งและสถานประกอบการด้านสัตว์น้ำอีก 17 แห่ง

อำเภอโจวดึ๊กในจังหวัดบ่าเหรียะ-หวุงเต่า ได้รับเลือกเป็นต้นแบบในการผลิตเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งถึงขณะนี้ มีหลายรูปแบบที่ประสบความสำเร็จ โดยสินค้าที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงคิดเป็นร้อยละ 40 ของโครงสร้างเศรษฐกิจในท้องถิ่น นาย เหงียนเติ๊นบ๋าน ประธานคณะกรรมการประชาชนอำเภอ โจวดึ๊ก เผยว่า ทางอำเภอฯ กำลังส่งเสริมการผลิตเกษตรสะอาด เช่น การเลี้ยงสุกรในโรงเรือนระบบปิดแบบควบคุมอุณหภูมิด้วยการระเหยน้ำ การปลูกและเลี้ยงปศุสัตว์โดยไม่ใช้สารเคมี

“ในเวลาขางหน้า ทางอำเภอฯ จะเน้นการผลิตเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงตามแนวทางเชื่อมโยงห่วงโซ่มูลค่าและจุดแข็งในการผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่า ช่วยให้เกษตรกรมีกำไรเพิ่มขึ้นในพื้นที่การเกษตรราวกว่า 8,000 เฮกตาร์ของอำเภอฯ ในอนาคต”

นาง เลถิจางด่าย ประธานคณะกรรมการประชาชนอำภอเซวียนหมก เผยว่า ก่อนที่การท่องเที่ยวจะพัฒนา เมื่อก่อน เซวียนหมกเป็นท้องถิ่นที่พัฒนาการเกษตรเป็นหลัก แต่หลังจากที่พรรคสาขาของจังหวัดประกาศมติที่ 09 เกี่ยวกับการวางผังพื้นที่ผลิตเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อปลูกยางพารา พริกไทยและผลไม้ชนิดต่างๆ ระยะปี 2020-2025 สินค้าต่างๆ ของอำเภอก็สามารถสร้างสรรค์เครื่องหมายการค้าได้ในเบื้องต้น

“ที่เซวียนหมก การวางผังพื้นที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อการผลิตเกษตรได้ประสบผลสำเร็จในเบื้องต้น จึงมีสถานประกอบการต่างๆ ลงนามสัญญารับซื้อผลิตภัณฑ์ทั้งหมด นอกจากนี้ ทางอำเภอฯ ก็ประยุกต์ใช้มาตรฐานที่เข้มงวดต่างๆ เช่น Viet Gap และ Life Gap ในการผลิตผลิตภัณฑ์เฉพาะถิ่น อาทิ ลำใยเนื้อสีเหลืองเญินเติม พริกไทยเบ่าไมและน้ำลูกยอ เป็นต้น”

สำนักงานการเกษตรและพัฒนาชนบทจังหวัดบ่าเหรียะ-หวุงเต่า เผยว่า โครงการ 04 ของพรรคสาขาจังหวัดฯ เกี่ยวกับการพัฒนาการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงระยะปี 2020-2025 สามารถผลักดันการพัฒนาการเกษตรและชนบทในเบื้องต้นแล้ว ซึ่งถึงขณะนี้ มูลค่าของสินค้าเกษตรที่มีการเทคโนโลยีขั้นสูงในการดูแลอยู่ที่เฉลี่ยเกือบ 110 ล้านด่งต่อเฮกตาร์ เพิ่มขึ้น 13.8 ล้านด่งเมื่อเทียบกับปี 2015

ในระยะปี 2021- 2025 จังหวัดบ่าเหรียะ-หวุงเต่า ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มมูลค่าการผลิตเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงขึ้นเป็นกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าการเกษตรทั้งหมดและมีอย่างน้อย 10 เขตและสถานประกอบการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง 5 แห่ง โดยพื้นที่วางแผนพัฒนาการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงทั้งหมดจะได้จะถูกเวนคืนเพื่อปฏิบัติโครงการผลิตต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้จังหวัดบ่าเหรีย- หวุงเต่า ส่งเสริมรูปแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงอย่างมีประสิทธิภาพ มีส่วนร่วมพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืน เอื้อประโยชน์ให้แก่สหกรณ์ สถานประกอบการและเกษตรกร.

Feedback