การเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง – แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนของ เขตที่ราบสูงเตยเงวียน

Quốc Học
Chia sẻ

(VOVworld) - เขตที่ราบสูงเตยเงวียนประกอบด้วยจังหวัดกอนตุม ยาลาย ดั๊กลั๊ก ดั๊กนงและเลิมด่ง มีศักยภาพในการพัฒนาการเกษตรเนื่องจากดินบะซอลต์ที่นี่เหมาะกับการปลูกพืชต่างๆ  ดังนั้น ในแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจ จังหวัดต่างๆในเขตที่ราบสูงเตยเงวียนได้เน้นพัฒนาการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและผลักดันกระบวนการสร้างสรรค์ชนบทใหม่

(VOVworld) - เขตที่ราบสูงเตยเงวียนประกอบด้วยจังหวัดกอนตุม ยาลาย ดั๊กลั๊ก ดั๊กนงและเลิมด่ง มีศักยภาพในการพัฒนาการเกษตรเนื่องจากดินบะซอลต์ที่นี่เหมาะกับการปลูกพืช ต่างๆ  ดังนั้น ในแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจ จังหวัดต่างๆในเขตที่ราบ สูงเตยเงวียนได้เน้นพัฒนาการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อยกระดับคุณภาพ ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและผลักดันกระบวนการสร้างสรรค์ชนบทใหม่

การเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง – แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนของ เขตที่ราบสูงเตยเงวียน - ảnh 1
การปลูกกาแฟในจังหวัดดั๊กนง(Photo: baodaknong.org.vn)
จังหวัดเลิมด่งเป็นจังหวัดตัวอย่างเกี่ยวกับการพัฒนาการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในเขตที่ราบสูงเตยเงวียนและมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับสูงในตลอด 5 ปีที่ผ่านมา  ซึ่งการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงถือเป็นก้าวกระโดดในการพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัด คิดเป็น 1 ใน 3 ของมูลค่าการผลิต  นาย เหงวียนเถียนเญิน ประธานแนวร่วมปิตุภูมิเวียดนามได้ประเมินเกี่ยวกับการพัฒนาของจังหวัดเลิมด่งว่า “สถานการณ์การผลิตเกษตรในจังหวัดเลิมด่งในเวลาที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เห็นถึงประสิทธิผลของการขยายตัวรูปแบบใหม่ โดยอัตราการขยายตัวในด้านการเกษตรของจังหวัดเลิมด่งอยู่ในระดับสูงเนื่องจากการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการผลิต ซึ่งถือเป็นจุดเด่นในการพัฒนาการเกษตรของจังหวัด นอกจากนี้ ทางการจังหวัดยังให้ความสนใจต่อการใช้พันธุ์พืชที่ให้ผลผลิตสูง การเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการกับเกษตรกรและการจัดตั้งสหกรณ์รูปแบบใหม่”
ส่วนที่จังหวัดดั๊กนง ได้มีการประยุกต์ใช้เทคโนโยลีที่ทันสมัยในการผลิตในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งช่วยเพิ่มมูลค่าการผลิตเกษตรจาก 45 ล้านด่งขึ้นเป็น 70 ล้านด่งต่อ 1 เฮกต้า  ส่วนรายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรก็เพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 36.5 ล้านด่งต่อคน  ปัจจุบัน จังหวัดดั๊กนงถือการเกตรกรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเป็นหนึ่งใน 3 ด้านสำคัญที่ต้องให้ความสนใจลงทุนพัฒนาในอนาคต  ส่วนจังหวัดกอนตุมก็ถือการพัฒนาการเกษตรเป็นแนวทางการพัฒาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนเช่นกัน โดยจังหวัดกอนตุมได้กำหนดให้ทำการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการปรับปรุงโครงสร้างการเกษตรเพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรต่างๆอย่างเต็มที่ ผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ระบบนิเวศ  พัฒนาการเกษตร ป่าไม้และสัตว์นํ้าเชิงพาณิชย์ เน้นพัฒนาพืชสมุนไพรและการปศุสัตว์ พัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้าในอ่างเก็บน้ำของโรงไฟฟ้าพลังน้ำและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ที่ดินและพื้นที่ป่า
ส่วนจังหวัดดั๊กลั๊กและจังหวัดยาลาย ซึ่งเป็นท้องถิ่นที่มีศักยภาพสูงจากดินบะซอลต์จึงได้เน้นพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรและป่าไม้ โดยเฉพาะการผลิต แปรรูปและส่งออกกาแฟ นาย เจืองเฟือกแอง ผู้อำนวยการสำนักงานการเกษตรและพัฒนาชนบทจังหวัดยาลายได้เผยว่า ในเวลาที่ผ่านมา จังหวัดยาลายได้ประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีในการผลิตเกษตรและประกอบธุรกิจเพื่อเพิ่มผลผลิต คุณภาพสินค้าและขีดความสามารถในการแข่งขัน  ดังนั้น คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนจึงดีขึ้น ส่วนการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ในตำบลและอำเภอต่างๆก็ประสบผลที่น่ายินดี นาย เจืองเฟือกแองกล่าวว่า“ในเวลาข้างหน้า หน่วยงานการเกษตรจะผลักดันการประชาสัมพันธ์เพื่อยกระดับความรู้ สร้างความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์และความมั่นใจในการปฏิรูปโครงสร้างการเกษตรตามแนวทางเพิ่มมูลค่า พัฒนาอย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ให้แก่ผู้ประกอบการและเกษตรกร”
ตามแผนการพัฒนาเขตที่ราบสูงเตยเงวียนจนถึงปี 2030 ที่นายกรัฐมนตรีได้อนุมติ เขตที่ราบสูงเตยเงวียนจะกลายเป็นเขตพัฒนาพืชอุตสาหกรรมที่สำคัญ ดังนั้น จังหวัดต่างๆในเขตที่ราบสูงเตยเงวียนกำลังปฏิบัติยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในท้องถิ่นควบคู่ไปกับการฝึกอบรมแหล่งบุคลากรที่มีคุณภาพสูง มีนโยบายให้สิทธิพิเศษต่อเกษตรกร โดยเฉพาะชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆเพื่อให้ชาวบ้านเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิต ประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการพัฒนาการเกษตร.

Feedback