(VOVworld) – จังหวัดฮึงเอียนขึ้นชื่อด้วยผลไม้พื้นเมืองคือลำไยที่มีเครื่องหมายการค้า Nhãn lồng ซึ่งเป็นผลไม้ที่เคยนำขึ้นทุนเกล้าถวายกษัตริย์มาแล้วและมีรสชาดหวาน หอม กรอบ อร่อยมานานแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม การรักษาพันธุ์ลำไยที่ล้ำค่านี้ให้คงคุณภาพและให้ผลผลิตสูงเป็นสิ่งที่ไม่ง่าย ในตลอด 10 ปีที่ผ่านมา จากการที่ได้ทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจ สวนลำไยของครอบครัวนาย เหงียนวันแก๋ง ในหมู่บ้านกิมดั่ง แขวงลามเซิน เมืองฮึงเอียนยังออกผลดีอย่างต่อเนื่องและสร้างรายได้สูง
จังหวัดฮึงเอียนขึ้นชื่อด้วยผลไม้พื้นเมืองคือลำไยที่มีเครื่องหมายการค้า Nhãn lồng
|
เมื่อเดินทางมาที่จังหวัดฮึงเอียนในช่วงต้นเดือนกรกฎาคมนี้ก็จะเห็นสวนลำไยที่กำลังเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยวและชาวบ้านในท้องถิ่นต่างมีความภาคภูมิใจเมื่อพูดถึงผลไม้พื้นเมืองลำไยที่มีชื่อเสียงของผืนแผ่นดินนี้ แต่หลายคนอาจจะไม่ทราบว่า ก่อนหน้านั้น เนื่องจากสภาพภูมิอากาศแปรปรวนจึงทำให้ลำไยในบางท้องถิ่นไม่ได้ผลดี มีแต่ครอบครัวผู้ที่รู้เทคนิคการปลูกดีเท่านั้นที่สามารถรักษาพันธุ์ลำไยที่ล้ำค่าที่มีคุณภาพและให้ผลผลิตสูงได้ เช่นครอบครัวของนาย เหงียนวันแก๋งในหมู่บ้านกิมดั่ง แขวงลามเซิน เมืองฮึงเอียน นาย แก๋งได้กล่าวว่า ถ้าปลูกลำไยต้องใช้เวลา 5 ปีกว่าจะได้ผล แต่ถึงกระนั้น เขาก็ยังคงทุ่มเทเพื่อการวิจัยและนำเอาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีใหม่มาประยุกต์ใช้เพื่อหาวิธีปลูกลำไยตามความต้องการของประชาชน ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลลำไย นาย แก๋งกล่าวว่า เพื่อปลูกลำไยให้ได้ผลผลิตสูงต้องนำเอาประสบการณ์พื้นบ้านมาใช้ร่วมกับเทคโนโลยีใหม่ เมื่อสภาพภูมิอากาศแปรปรวน ต้องสังเกตติดตามดูตลอดเวลาเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับเรื่องอุณหภูมิ ฝนตกหรือแดดออกได้ด้วย ถ้าหากในฤดูหนาวมีอากาศชื้นต้องมีวิธีการควบคุมการเจริญเติบโต้ของต้นด้วยการตัดราก ปิดกั้นไม่ให้น้ำซึมซับลงไปในดินซึ่งจะช่วยให้ฤดูต่อไปลำไยจะให้ผลดก โดยเฉพาะนายแก๋งยังสามารถปรับปรุงวิธีการปลูกเพื่อให้การเก็บลำไยนานกว่าปกติถึง 4 เดือนโดยมีเคล็ดลับคือการปรับเวลาออกดอก นาย เหงียนวันเท๊ ชาวบ้านในตำบลเยินเตี๊ยน อำเภอคว๊ายโจวที่ปลูกลำไยเป็นเวลานานได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับประสบการณ์ในการปลูกลำไยของนายแก๋งว่า“นายแก๋งเป็นผู้หนึ่งที่ปลูกลำไยมานานแล้วและมีประสบการณ์ในเรื่องนี้ ในหลายปีที่ผ่านมาครอบครัวของนายแก๋งสร้างรายได้ที่มั่นคงซึ่งถือเป็นรูปแบบใหม่ของการปลูกลำไยที่มีประสิทธิภาพจึงทำให้มีผู้มาเรียนรู้เป็นจำนวนมาก นายแก๋งยังเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ในการผลิตและตัวอย่างที่เห็นชัดๆคือ ลำไยของครอบครัวของเขาให้มีผลผลิตดี”
Nhãn lồng เป็นผลไม้ที่เคยนำขึ้นทุนเกล้าถวายกษัตริย์และมีรสชาดหวาน หอม กรอบ อร่อย
|
ในตลอดเกือบ 20 ปีของการปลูกลำไย ปัจจุบันนี้ ครอบครัวของนายแก๋งมีพื้นที่ปลูกลำไยพันธุ์พิเศษนี้ประมาณ 2 เฮกต้าร์ซึ่งในนั้นมีพื้นที่จำนวน 1 เฮกต้าร์ที่ให้ผลผลิตที่สูงขึ้นทุกๆปีและในปีนี้ มีต้นลำไยเกือบ 300 ต้นกำลังเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยวซึ่งคาดว่า จะมีผลผลิตประมาณ 20 ตัน สร้างมูลค่ากว่า 500 ล้านด่ง นายแก๋งได้สร้างงานทำให้แก่แรงงานนับสิบคนซึ่งมีรายได้ตั้งแต่ 1 แสน 5 หมื่นด่งถึง 2 แสนด่งต่อวัน วิธีการปลูกลำไยของนายแก๋งยังได้รับการคัดเลือกให้เป็นตัวอย่างเพื่อให้สมาชิกของเกษตรกรทั้งภายในจังหวัดและต่างจังหวัดมาเรียนรู้ นาย เหงียนต๊วนเวียด สมาชิกสมาคมเกษตรกรจังหวัดฮึงเอียนได้เผยว่า“ครอบครัวของนายแก๋งเป็นครอบครัวเกษตรกรหนึ่งที่ผลิตและประกอบธุรกิจยอดเยี่ยมของจังหวัดฮึงเอียนโดยได้เข้าร่วมการอนุรักษ์พันธุ์ลำไยพื้นเมืองที่ล้ำค่าของจังหวัด พร้อมทั้งให้การช่วยเหลือเกษตรกรในจังหวัดผลิตลำไยให้มีคุณภาพ จากสภาพครอบครัวที่ยากจน หลังจากได้พัฒนาการปลูกลำไยมาเป็นหลายปี ครอบครัวของนายแก๋งได้กลายเป็นครอบครัวที่มีฐานะดี”
ด้วยความพยายามที่จะนำวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการปลูกลำไยมาประยุกต์ใช้ทำให้นายแก๋งได้กลายเป็นเกษตรกรที่สร้างฐานะที่มั่นคงอย่างรวดเร็วของจังหวัดฮึงเอียนที่ได้รับการยกย่องและได้รับรางวัลสดุดีหลายรางวัล แต่สำหรับนายแก๋ง ความปลื้มปิติยินดีมากที่สุดของเขาก็คือสวนลำไย ถึงแม้อากาศในปีนี้จะแปรปรวนแต่ก็ยังมีผลผลิตสูงซึ่งคาดว่าจะสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวเป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งมีส่วนร่วมพัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นตามมาตรฐานในการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ที่กำหนดไว้“ลำไยเป็นผลไม้พื้นเมืองของจังหวัดฮึงเอียน พวกเราจึงทราบดีว่า การพัฒนาลำไยก็เป็นการสร้างฐานะ ดังนั้น พวกเราต้องนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่เป็นจริงถึงจะประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะปลูกผลไม้ชนิดใดก็ตามจะต้องเอาใจใส่อย่างจริงจังและถือเป็นอาชีพหลักของเกษตรกรถึงจะสามารถสร้างฐานะที่มั่นคงได้”
สมาคมเกษตรกรที่จังหวัดฮึงเอียนกำลังเรียนรู้ประสบการณ์ของนายแก๋งเพื่อนำไปขยายผลช่วยให้ฤดูเก็บลำไยของทุกปีได้ผลดี สร้างรายได้สูงและความมั่นคงแก่ครอบครัวนับพันครอบครัว มีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยการปลูกผลไม้พื้นเมืองประจำท้องถิ่น./.