การพัฒนารูปแบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในจังหวัดบ่าเหรีย-หวุงเต่า

Van-VOV5
Chia sẻ

(VOVWORLD) -นอกจากจุดแข็งในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จังหวัดบ่าเหรีย-หวุงเต่าเป็นหนึ่งในท้องถิ่นของเวียดนามที่มีเงื่อนไขที่สะดวกเพื่อพัฒนาอาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เกษตรกรในท้องถิ่นได้ประสบความสำเร็จในการปฏิบัติรูปแบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งสร้างประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจสูงและเป็นแนวทางการพัฒนาของหน่วยงานการเกษตรของจังหวัดฯในเวลาที่จะถึง

การพัฒนารูปแบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในจังหวัดบ่าเหรีย-หวุงเต่า - ảnh 1ครอบครัวนาย เหงวียนยวีหายประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของนอร์เวย์ในการเลี้ยงปลาในกระชังวงกลม (Photo:baobariavungtau) 

 จังหวัดบ่าเหรีย-หวุงเต่ามีพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำประมาณ 6,300 เฮกตาร์ เพื่อให้อาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำพัฒนาอย่างยั่งยืนและมีขอบเขตใหญ่ โดยเฉพาะ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในเขตทะเลไกล สำนักงานการเกษตรและพัฒนาชนบทจังหวัดบ่าเหรีย-หวุงเต่าได้ส่งเสริมให้ประชาชนเป็นฝ่ายรุกในการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการผลิต ส่วนทางการจังหวัดฯมีแนวทางก่อสร้างศูนย์การวิจัยและผลิตพันธุ์สัตว์น้ำในท้องถิ่น โดยเฉพาะ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 4.0 ช่วยให้การบริหารงานทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดความเสี่ยง เพิ่มผลผลิตและคุณภาพ เป็นฝ่ายรุกในการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและยั่งยืนมากขึ้น

นาย เหงวียนยวีหาย เจ้าของกระชังปลาตำบลลองเซินได้เผยว่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เขาได้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของนอร์เวย์ในการเลี้ยงปลาในกระชังวงกลม  ปัจจุบัน นาย เหงวียนยวีหายกำลังเลี้ยงปลาจาละเม็ด 25,000 ตัวและปลาช่อนทะเล 5,000 ตัว ซึ่งการเลี้ยงปลาในกระชังวงกลมตามเทคโนโลยีของนอร์เวย์สร้างประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจสูงกว่าร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับวิธีการเลี้ยงปลาในกระชังธรรมดา

สำหรับการเลี้ยงกุ้ง ทางการจังหวัดฯเน้นพัฒนาพื้นที่เลี้ยงกุ้งอุตสาหกรรมในอำเภอเดิ๊ดด๋อ เมืองบ่าเหรียหวุงเต่าและการเลี้ยงกุ้งในกระชังในเมืองหวุงเต่า  ปัจจุบัน จังหวัดบ่าเหรียหวุงเต่ามีพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้งขาวและกุ้งกุลาดำประมาณ 3,900 เฮกตาร์ ซึ่งสถานประกอบการ สหกรณ์และประชาชนในท้องถิ่นได้เป็นฝ่ายรุกในการลงทุนพัฒนารูปแบบการเพาะเลี้ยงกุ้งที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและขยายพื้นที่การเพาะเลี้ยง  อัตราการเพาะเลี้ยงกุ้งประสบความสำเร็จอยู่ที่กว่าร้อยละ 90 และสร้างประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจสูงหลายเท่าเมื่อเทียบกับการเลี้ยงกุ้งในบ่อดิน  นาย เหงวียนจีทึก ผู้เพาะเลี้ยงกุ้งในจังหวัดบ่าเหรีย-หวุงเต่าได้เผยว่า

“ การเพาะเลี้ยงกุ้งที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ผสานการใช้น้ำสะอาด การใช้กุ้งพันธุ์ดี ทำความสะอาดก้นบ่อและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทำให้การเพาะเลี้ยงกุ้งตามรูปแบบนี้มีความยั่งยืน แม้ต้องใช้เงินทุนสูงแต่ก็ให้ผลผลิตสูงและมีรายได้สูงขึ้น”

การพัฒนารูปแบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในจังหวัดบ่าเหรีย-หวุงเต่า - ảnh 2รูปแบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในท้องถิ่นได้เริ่มเห็นประสิทธิผล  (Photo:baobariavungtau)

รูปแบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในท้องถิ่นได้เริ่มเห็นประสิทธิผล เป็นแนวทางใหม่และมีศักยภาพใหญ่เพราะช่วยให้ผู้เพาะเลี้ยงมีความมั่นใจในสภาวการณ์ที่สภาพภูมิอากาศมีความผันผวนแปรปรวน   พร้อมทั้ง  เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต  ในเวลาที่จะถึง หน่วยงานการเกษตรจะขยายการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการด้านปริมาณ ทำการวิจัย ปรับปรุงเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ นาย เจิ่นวันเกื่อง ผู้อำนวยการของสำนักงานการเกษตรและพัฒนาชนบทจังหวัดบ่าเหรียหวุงเต่าได้เผยว่า

“จังหวัดบ่าเหรียหวุงเต่ามีความได้เปรียบคือมีเขตโกนด๋าว ซึ่งเป็นหนึ่งในเขตที่มีศักยภาพมากแต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าที่ควร สองคืออาจใช้ประโยชน์ในเขตริมฝั่งทะเลจากอำเภอบิ่งโจว์จนถึงเมืองหวุงเต่า  โดยก่อนอื่น หน่วยงานต้องเน้นปฏิบัติรูปแบบนำร่อง คัดเลือกสถานประกอบการที่มีศักยภาพ ลงพื้นที่ตรวจสอบการลงทุนและการผลิตเพื่อกำหนดและพัฒนาเขตที่มีศักยภาพ”

จังหวัดบ่าเหรีย-หวุงเต่ายังอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการเพิ่มความหลากหลายของวิธีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่และปริมาณที่เหมาะสม ผลักดันการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีใบรับรองแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์หลัก เช่น  กุ้งกุลาดำและกุ้งขาว เป็นต้น นาย เหงวียนหึวที หัวหน้าฝ่ายการเพาะเลี้ยงสังกัดสำนักงานสัตว์น้ำจังหวัดบ่าเหรียหวุงเต่าได้เผยว่า

“การพัฒนาหน่วยงานเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นแนวทางร่วม ทางการจังหวัดฯได้ประกาศเอกสารเพื่อพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ลดการจับสัตว์น้ำในทะเล หน่วยงานการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจะพัฒนาตามแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง โดยก่อนอื่นคือหน่วยงานเลี้ยงกุ้ง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังในเขตปากแม่น้ำ”

การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำถูกกำหนดให้เป็นแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของจังหวัดบ่าเหรียหวุงเต่า ซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อนให้แก่การพัฒนาเศรษฐกิจ  การพัฒนาการเกษตรและชนบทของจังหวัดให้มีความทันสมัย.

Feedback