(VOVworld)-ปัจจุบันขณะที่เกษตรกรในหลายท้องถิ่นยังไม่สามารถพึ่งพาการผลิตเกษตรเป็นหลักเพื่อการดำรงชีวิตเพราะรายได้ยังไม่มั่นคงนั้น ชาวบ้านที่อ.เอียนแค้ง จ.นิงบิ่งสามารถสร้างฐานะจากการพัฒนาเกษตรแบบทรีอินวันที่สร้างรายได้นับร้อยล้านด่งต่อปีต่อ1เฮกต้า นั่นคือการประสานระหว่างการปลูกข้าว ปลูกพืชและเลี้ยงปลา
การเลี้ยงปลาเลี้ยงหอย ปลูกข้าวและปลูกผักไม้เลื้อยเช่นบวบ ฟักเขียว มะระ แตงกวา เป็นต้น
|
ต.แค้งแถ่ง เป็นหนึ่งใน3ต.แรกของอ.เอียนแค้งจ.นิงบิ่งที่ได้รับเลือกให้เป็นท้องถิ่นนำร่องปฏิบัติโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ โดยระบบโครงสร้างพื้นฐานทั้งไฟฟ้า คมนาคม โรงเรียน สถานีอนามัยได้รับการก่อสร้างอย่างโอ่โถงสวยงาม คุณภาพชีวิตของประชาชนได้รับการยกระดับให้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งผลสำเร็จนี้มาจากการพัฒนาการผลิตเกษตรแบบทรีอินวัน ซึ่งเป็นการผสานระหว่างการผลิตเกษตรในพื้นที่เดียวกันคือ การเลี้ยงปลาเลี้ยงหอย ปลูกข้าวและปลูกผักไม้เลื้อยเช่นบวบ ฟักเขียว มะระ แตงกวา เป็นต้น โดยภายหลังปฏิบัติมาได้5ปีเกษตรกรในท้องถิ่นมีรายได้เฉลี่ยกว่า100ล้านด่งต่อเฮกต้าต่อปี นาย ฝามวันหลาย ชาวต.แค้งแถ่งเผยว่าปี2013 ครอบครัวของเขาสามารถทำรายได้ถึง500ล้านด่ง“ไม่เพียงแต่มีมะระที่เป็นสินค้าเกษตรส่งออกเท่านั้นหากยังมีฟักเขียว แตงกวา และพริกอีกด้วย เราต้องพยายามปลูกพืชผักให้มีความหลากหลายมิใช่ปลูกอย่างใดอย่างหนึ่งถึงจะมีรายได้สูงและมั่นคง”
ส่วนครอบครัวนางฝามแทงเซิน ในปี2013เพียงพื้นที่ปลูกมะระก็สามารถทำกำไรได้8ล้านด่งต่อเฮกต้า นอกจากนั้นก็มีรายได้อีกหลายสิบล้านด่งจากการปลูกฟักเขียวและพริก เธอเผยว่า“นับตั้งแต่ประยุกต์ใช้รูปแบบการผลิตเกษตรนี้เศรษฐกิจครอบครัวเราดีขึ้นสองสามเท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนๆ ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นและเราสามารถสร้างบ้านที่ใหญ่โตนี้จากรายได้ของการทำสวน”
การพัฒนาการผลิตเกษตรแบบทรีอินวัน ซึ่งเป็นการผสานระหว่างการผลิตเกษตรในพื้นที่เดียวกัน
|
โดยเริ่มจาก5ครอบครัวที่เริ่มทดลองการผลิตเกษตรในรูปแบบทรีอินวัน จนถึงขณะนี้ทั้งต.แค้งแถ่งมี67ครอบครัวเข้าร่วม ซึ่งตามความเห็นของนายฝามวันเยิน เลขาธิการพรรคสาขาต. ประสิทธิภาพจากการปรับเปลี่ยนพื้นที่การปลูกข้าวอย่างเดียวมาเป็นการปลูกผสมกับพืชผักระยะสั้นที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงได้มีส่วนร่วมในการลดครอบครัวยากจนในท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเมื่อ3ปีก่อนอัตราครอบครัวยากจนของต.แค้งแถ่งคิดเป็นร้อยละ9.6จากจำนวนกว่า2พันครอบครัวแต่ปัจจุบันเหลือเพียงร้อยละ3เท่านั้น นายฝามวันเยินเผยว่า“เป้าหมายสำคัญที่สุดที่เราตั้งไว้คือผลักดันการผลิต ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะสำหรับครอบครัวที่ยากจนเราจะมีมาตรการช่วยเหลือทั้งด้านเงินทุนเพื่อการผลิต การสร้างงานทำและการเข้าถึงรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ และเราได้ตั้งเป้าหมายลดอัตราครอบครัวที่ยากจนลงเหลือร้อยละ0.5”
จากแนวทางกล้าคิดกล้าทำในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตเกษตรจนถึงปัจจุบันทั้งอ.เอียนแค้งมีการพัฒนารูปแบบการผลิตเกษตรแบบผสมประมาณกว่า250โครงการโดยเฉพาะโครงการผลิตเกษตรแบบทรีอินวันนั้นถือว่ามีประสิทธิผลที่สุด อันเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่าเกษตรกรสามารถสร้างฐานะจากการพัฒนาการผลิตบนพื้นที่นาที่มีอยู่ถ้าหากรู้จักการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตให้เหมาะสมเพื่อเพิ่มคุณค่าการผลิตเกษตร ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในชนบทให้สูงขึ้น./.