( VOVworld ) - โครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ที่ดำเนินมาได้ ๓ ปีได้มีส่วนร่วมต่อการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของชนบทหลายแห่งของประเทศ แต่จากสถานการณ์ที่เป็นจริงแสดงให้เห็นว่าบางโครงการยังไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่และชาวบ้านยังไม่ได้รับประโยชน์เท่าที่ควร
|
โฉมของชนบทได้เปลี่ยนแปลงดูดีขึ้น |
เดือนเมษายนปี ๒๐๐๙ นายกฯได้ประกาศใช้มาตรฐาน ๑๙ ข้อเพื่อเป็นพื้นฐานในการร่างโครงการแห่งชาติว่าด้วยการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ในยุคพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรมและทันสมัย มาตรฐาน ๑๙ ข้อดังกล่าวได้แก่ การวางผังและการปฏิบัติ การคมนาคม ชลประทาน ไฟฟ้า โรงเรียน สถานที่ทางวัฒนธรรม ตลาดชนบท ที่ว่าการไปรษณีย์ ที่พักอาศัย รายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากร อัตราครอบครัวยากจน สัดส่วนแรงงาน รูปแบบการผลิต การศึกษา การสาธารณสุข วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ระบบการเมืองและสังคมที่เข้มแข็ง ความมั่นคงและความเป็นระเบียบเรียบร้อยทางสังคม ภายหลังปฏิบัติมาเป็นเวลาได้ ๓ ปี สิ่งที่เห็นได้ชัดคือโฉมหน้าของชนบทหลายแห่งดูพัฒนามากขึ้น ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ในระหว่างดำเนินโครงการได้เกิดปัญหาที่ต้องแก้ไข อาทิเช่น ตำบลซองเฝื่อง ชาญกรุงฮานอย ดำเนินโครงการดังกล่าวจนได้มาตรฐาน ๑๖ ข้อในจำนวนทั้งหมด ๑๙ ข้อ โดยการก่อสร้างถนนหนทางร้อยละ ๗๐ มาจากการสมทบทั้งทรัพย์สินและแรงกายของชาวบ้าน แต่สิ่งปลูกสร้างบางแห่งยังไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่เนื่องจากไม่เหมาะกับสถานการณ์ในพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นตลาดหรือสถานที่ทางวัฒนธรรม ซึ่งตลาดทูเคว้วของตำบลซองเฝื่องที่ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปีที่แล้ว แต่จนถึงบับนี้มีคนมาจับจ่ายซื้อของน้อยมากเพราะชาวบ้านนิยมจ่ายตลาดริมถนนเนื่องจากมีความสะดวกสบายกว่า คุณเหงวียนถิ่เหย แม่ค้าคนหนึ่งเผยว่า “ ตอนแรกตลาดได้จัดระเบียบและมีการค้าขายอย่างคึกคัก ต่อมาคนไม่ค่อยมาจับจ่ายเพราะทางเข้าตลาดถูกคนอื่นมาเบียดบังพื้นที่ ”
|
ชาวบ้านร่วมกันทำถนน |
ส่วนสถานวัฒนธรรมก็ตกอยู่ในสภาพเช่นเดียวกับตลาดดังกล่าว ผู้บริหารตำบลซองเฝื่องเห็นว่า หากชาวบ้านไม่ไปจ่ายที่ตลาดหรือใช้สถานวัฒนธรรมก็เป็นการฟุ่มเฟือยมหาศาล นายบุ่ยวันดึ๊ก ประธานคณะกรรมการประชาชนตำบลซองเฝื่องเผยว่า “ นี่เป็นรูปแบบใหม่ที่เพิ่งดำเนินกสนชาวบ้านจึงยังไม่ค่อยเข้าใจและไม่เข้าร่วม โครงการที่กำลังดำเนินอยู่ในกรอบของแผนการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ต้องมีส่วนร่วมของชาวบ้านถึงจะประสบความสำเร็จ ”
ผู้บริหารของสำนักงานเกษตรและพัฒนาชนบทฮานอยเผยว่า ปีนี้จะมีตำบล ๓ แห่งได้มาตรฐานสร้างสรรค์ชนบทใหม่ แต่ถือเป็นตัวเลขที่น้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนตำบล ๔๐๐ แห่งของฮานอยกำลังดำเนินโครงการดังกล่าว นายด่าวซุยเติม รองผู้อำนวยการสำนักงานเกษตรและพัฒนาชนบทฮานอยเห็นว่า ตำบลบางแห่งที่ใกล้จะได้มาตรฐานครบทุกข้อก็มีปัญหาอยู่ตรงที่ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ “ ผมได้มองเห็นปัญหานี้ ซึ่งขบวนการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ในทั่วประเทศอาจจะกลายเป็นขบวนการธรรมดา โดยไม่เพียงแต่สร้างถนน ระบบน้ำบริโภคและสถานที่ผลิตเกษตรเท่านั้น หากยังต้องสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นจริงเพื่อยกระดับคุณภาพ ซึ่งถ้า ทำได้เช่นนี้ก็จะตรงกับเป้าหมายของการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ ”
|
ทหารช่วยชาวบ้านเกี่ยวข้าวตามโครงการสร้างชนบทใหม่ |
จากประสบการณ์ในการดำเนินโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ ใน ตำบล ๙,๐๐๐ แห่งทั่วประเทศ กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทได้เสนอการปรับปรุงมาตรฐานอย่างน้อย ๕ ข้อเกี่ยวกับสัดส่วนแรงงานและรายได้ให้สอดคล้องกับแต่ละพื้นที่ นายเหงวียนดังควาว รัฐมนตรีช่วยเกษตรและพัฒนาชนบทกล่าวถึงการปรับปรุงมาตรฐานว่า “ การปรับปรุงมาตรฐาก็นเพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคและสิ่งที่ไม่เหมาะสม ไม่ใช่การลดมาตรฐาน การปรับปรุงก็ไม่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติตามเป้าหมายของโครงการ
จากประสบการณ์ในการสร้างสรรค์ชนบทใหม่แสดงให้เห็นว่า งบประมาณของรัฐไม่ใช่ปัจจัยชี้ขาด หากคือการระดมพลังของชาวบ้านที่จะนำไปสู่ความสำเร็จอย่างแน่นอน ซึ่งหากชาวบ้านเข้าใจแนวทางว่าพวกเขาจะได้รับประโยชน์โดยตรงจากโครงการก็จะเต็มใจเข้าร่วม ถึงขณะนั้นโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ก็จะมีประสิทธิภาพอย่างจริงจัง ส่งผลให้ชนบทและการเกษตรพัฒนาอย่างยั่งยืน ./.