ผลักดันการเชื่อมโยง-การพัฒนาท่าเรือที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

Hà Nho; Quang Dũng
Chia sẻ
(VOVWORLD) - การพัฒนาและการเชื่อมโยงรูปแบบท่าเรือที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมคือแนวโน้มในห่วงโซ่การบริการโลจิสติกส์ในเวียดนาม ซึ่งได้รับการปฏิบัติเป็นการนำร่องตั้งแต่ปีนี้ ก่อนที่จะกลายเป็นข้อกำหนดที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่หลังปี 2030 ในแนวโน้มดังกล่าว จังหวัดและนครในเขตตะวันออกภาคใต้ซึ่งมีความได้เปรียบเกี่ยวกับการขนส่งทางทะเลได้ปฏิบัติรูปแบบที่สร้างความสมดุลระหว่างความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างเข้มแข็ง
ผลักดันการเชื่อมโยง-การพัฒนาท่าเรือที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม - ảnh 1ท่าเรือ Gemalink (VNA)

 

ท่าเรือที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในเวียดนามถูกสร้างขึ้นบนหลักเกณฑ์ 6 ข้อ ได้แก่ จิตสำนึกเกี่ยวกับท่าเรือที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากร การบริหารจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงาน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การลดการปล่อยมลพิษ การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ซึ่งเพื่อได้รับการพิจารณารับรองเป็นท่าเรือที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ท่าเรือดังกล่าวจะต้อง ตอบสนองอย่างน้อยร้อยละ 60 ของหลักเกณฑ์เหล่านี้

ท่าเรือเตินก๋าง-ก๊าตล้ายในเมืองถูดึ๊ก นครโฮจิมินห์ เป็นท่าเรือแห่งแรกในเวียดนามที่ได้มาตรฐานท่าเรือที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของสภาเครือข่ายบริการท่าเรือเอเชียแปซิฟิกหรือ APEC ปี 2018 นี่คือท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดและทันสมัยที่สุดในเวียดนามมีพื้นที่ 160 เฮกตาร์และท่าเทียบเรือยาวกว่า 2,000 เมตร มีอุปกรณ์ขนถ่ายและเทคโนโลยีการจัดการที่ทันสมัย ซึ่งติดใน 21 ท่าเรือคอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่และทันสมัยที่สุดในโลก ที่จังหวัดบ่าเหรียะ-หวุงเต่า เมื่อปี 2021 ท่าเรือระหว่างประเทศเตินก๋าง-ก๊ายแมปได้รับรางวัลท่าเรือที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมปี 2020 จากสภาเครือข่ายบริการท่าเรือ APEC   กลายเป็นท่าเรือแห่งที่ 2 ในเวียดนามที่ได้รับรางวัลนี้

นอกจากนี้ก็ยังมีท่าเรือระหว่างประเทศ Gemalink สังกัดกลุ่มท่าเรือก๊ายแมป-ถิหวายที่เป็นท่าเรือที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นาย โด๋กงแคง ประธานกรรมการบริษัทหุ้นส่วนท่าเรือ Gemalink ได้เผยว่า ท่าเรือ Gemalink กำลังประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยต่าง ๆ  เช่น ซุปเปอร์เครน STS 8 ตัวจากสาธารณรัฐเกาหลี เครน E-RTG รวม 24 ตัวที่ใช้ไฟฟ้าทั้งหมดโดยทำงานแบบกึ่งอัตโนมัติ ผสานเทคโนโลยีควบคุมที่ยืดหยุ่นและห้องควบคุมอัจฉริยะ พร้อมซอฟต์แวร์การจัดการท่าเรือที่ทันสมัย ซึ่งช่วยให้ท่าเรือ Gemalink ดึงดูดสายการเดินเรือใหญ่หลายแห่งเนื่องจากมาตรฐานการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นี่ยังเป็นแนวโน้มของการพัฒนาท่าเรือที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อดึงดูดสายการเดินเรือต่างๆให้เข้าเทียบท่าเรือมากขึ้น

ผลักดันการเชื่อมโยง-การพัฒนาท่าเรือที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม - ảnh 2ประตูเข้าท่าเรือนานาชาติ ลองอาน

นาย บุ่ยวันกวี๊ ประธานสมาพันธ์ท่าเรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เผยว่า อุตสาหกรรมการขนส่งทางเรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 3 ของยอดการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั่วโลก โดยปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กว่า 940 ล้านตันต่อปี ดังนั้น แนวโน้มการพัฒนาท่าเรือสีเขียวจึงเป็นมาตรฐานบังคับ แต่อย่างไรก็ตาม  การพัฒนาท่าเรือที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในเวียดนามยังคงเป็นเรื่องยากเนื่องจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การป้องกันและรับมืออุบัติเหตุทางทะเลที่ท่าเรือยังมีความจำกัดและต้องใช้แหล่งเงินทุนเป็นจำนวนมาก เพื่อแก้ไขปัญหานี้ นาง ฝ่ามถิบิ๊กเหวะ ประธานบริษัท Western Pacifi วิเคราะห์ว่า

“สิ่งแรกคือการกำหนดแนวทางการลงทุนขั้นพื้นฐานจากรัฐบาล สร้างแรงดึงดูดใจลงทุนในโรงงานและระบบ และเมื่อมีแหล่งจัดสรรเพียงพอก็จะดึงดูดสายการเดินเรือเข้าเทียบท่าเรือ สำหรับความต้องการ  ท่าเรือไม่เพียงแต่ให้บริการสินค้านำเข้าและส่งออกเท่านั้น หากด้วยลักษณะภูมิประเทศที่ทอดยาวของเวียดนาม การเชื่อมโยงท้องถิ่นในภูมิภาคผ่านท่าเรือจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากและเป็นปัจจัยหลัก ดังนั้น ดิฉันคิดว่า การลงทุนท่าเรือและโครงสร้างพื้นฐานของท่าเรือไม่เพียงแต่เน้นถึงนักลงทุนรายย่อย สถานประกอบการเอกชนหรือบริษัทต่างชาติเท่านั้น หากยังต้องกำหนดแนวทางการลงทุนเบื้องต้นจากรัฐบาลเพื่อสร้างแรงดึงดูดใจด้วย”

นอกจากความพยายามเพื่อการ “พัฒนาเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” แล้ว แนวโน้มของการเชื่อมโยงระบบท่าเรือสีเขียวกับระบบการขนส่งทางน้ำยังช่วยส่งเสริมความได้เปรียบของการขนส่งสินค้าในเวียดนามอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น ภายหลัง 8 ปีของการดำเนินงาน ท่าเรือนานาชาติลองอานได้สร้างก้าวกระโดดมากมายในการขนส่งทางน้ำ ยืนยันถึงการเป็นศูนย์กลางในการนำเข้าและส่งออกสินค้าของภูมิภาค มีส่วนร่วมสร้างพื้นฐานเพื่อขยายระเบียงโลจิสติกส์การขนส่งทางน้ำ เชื่อมโยงเศรษฐกิจชายฝั่งทะเลกับจังหวัดต่างๆในเขตตะวันตกภาคใต้ นาย หวอก๊วกทั้ง ประธานกรรมการของกลุ่มบริษัทด่งเติม เผยว่า

“โครงการก่อสร้างท่าเรือลองอานไม่เพียงแต่เป็นประโยชน์ต่อจังหวัดลองอานเท่านั้น หากยังเป็นประโยชน์ต่อเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงอีกด้วย ในปีหน้า เราจะส่งเสริมโครงการระบบขนส่งทางน้ำ การขนส่งสินค้าทางน้ำในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงด้วยต้นทุนต่ำ แข่งขันกับการขนส่งทางบกเพื่อมีส่วนร่วมทำให้สถานประกอบการในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงมีต้นทุนต่ำที่สุด”

ตามความเห็นของนาง โห่ถิแทงหว่า หัวหน้าสถาบันวิจัยและพัฒนาโลจิสติกส์ของเวียดนาม เพื่อใช้โอกาสในอนาคต จังหวัดและนครต่างๆ ทั่วประเทศที่มีท่าเรือต้องวิจัยรูปแบบการดำเนินงานของท่าเรือต่างๆทั่วโลก ผลักดันการเชื่อมโยงการขนส่งทางทะเล โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลของบริการโลจิสติกส์ และพัฒนาท่าเรือที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการแก่ลูกค้า.

คำติชม