การประชาสัมพันธ์ผลิตภัณธ์ของบริษัท Chavigreen จำกัด |
นาง เหงวียนถิเฟืองเจิม อาศัยในตำบลถ่วนเทียน อำเภอเกี๊ยนถวิ นครไฮฟอง ได้ก่อตั้งบริษัท Chavigreen จำกัด ประกอบธุรกิจสตาร์ทอัพด้านเครื่องสำอางสมุนไพรตั้งแต่ปลายปี 2021 นาง เจิม เริ่มต้นทุกอย่างจากศูนย์ ประสบปัญหาเรื่องเงินทุนและขาดประสบการณ์ รวมถึงสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ที่แพร่ระบาด ได้รับความช่วยเหลือและคำแนะนำจากสหพันธ์สตรีนครไฮฟองและเงินกู้ 70 ล้านด่อง เพื่อนำไปซื้อเครื่องจักรและวัตถุดิบต่างๆ นอกจากนั้น นาง เจิม ยังได้เข้าร่วมหลักสูตรฝึกอบรมเกี่ยวกับอีคอมเมิร์ซของสหพันธ์ฯ ที่จัดทำร่วมกับองค์กรและหน่วยงานต่างๆ ซึ่งมีส่วนช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่เธอ
“ช่วงแรกๆ ยังไม่มีความรู้มากนักเกี่ยวกับอีคอมเมิร์ซ ดิฉันต้องไปเรียนตั้งแต่การอัดคลิปวิดีโอและถ่ายภาพสินค้า พร้อมการใช้คีย์เวิร์ดเพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้า จากคอร์สเรียนต่างๆ ของสหพันธ์สตรีนครไฮฟอง ซึ่งพวกเราได้เรียนรู้ศึกษาและลงมือทำจริงในการนำสินค้าลงแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ปัจจุบัน สินค้าของบริษัทฯ ได้มีการจัดจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์เป็นหลัก เช่น Sendo, Lazada, Tiktok โดยสัดส่วนของยอดขายผ่านช่องทางออนไลน์นั้นสูงถึงร้อยละ 80”
เมื่อปี 2022 คณะกรรมการประชาชนนครไฮฟองได้ยกย่องให้บริษัท Chavigreen จำกัด เป็นองค์กรธุรกิจสตาร์ทอัพเชิงนวัตกรรมใหม่ พร้อมมอบรางวัล “บ่มเพาะธุรกิจสตาร์ทอัพ” โดยสินค้าของบริษัทฯ ได้มีการนำเสนอและประชาสัมพันธ์ในหลายๆ พื้นที่ในประเทศ
สำหรับบริษัท Chavigreen จำกัด เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการหลายพันรายที่ได้รับการสนับสนุนจากสหพันธ์สตรีนครไฮฟองในช่วงเวลาที่ผ่านมา ตามโครงการของนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับการสนับสนุนนักธุรกิจหญิงในการประกอบธุรกิจสตาร์ทอัพระยะปี 2017-2027 ด้วยการสนับสนุนทั้งในด้านเงินทุน การให้คำปรึกษากฎหมาย การฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถอย่างรอบด้านให้แก่กลุ่มนักธุรกิจหญิง ซึ่งมีส่วนช่วยเผยแพร่และสานต่อจิตใจแห่งการประกอบธุรกิจสตาร์ทอัพในกลุ่มสตรี โดยมีสตรีจำนวนหลายพันคนในนครไฮฟองได้รับการสนับสนุนและเริ่มต้นธุรกิจสตาร์ทอัพจนประสบความสำเร็จ รวมถึงกลุ่มสถานประกอบการที่จัดตั้งใหม่ของสตรีนครไฮฟองกว่า 2,500 แห่งที่ได้รับการแนะแนวและการสนับสนุนในด้านเงินทุนและเทคโนโลยี
ด้วยการสนับสนุนของสหพันธ์สตรีนครไฮฟอง เมื่อเดือนตุลาคมปี 2023 ได้มีการเปิดตัวสำนักงานสนับสนุนการเชื่อมโยงเพื่อการจัดจำหน่ายและบริโภคผลิตภัณฑ์ ณ ศูนย์อาชีวศึกษาและสนับสนุนสตรีในการพัฒนาเขตเมือง ซึ่งถือเป็นสะพานเชื่อมเพื่อส่งเสริมด้านการค้า พร้อมการจัดแสดงและเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ต่างๆ รวมถึงผลิตภัณฑ์ OCOP ระดับ 3 ดาวและ 4 ดาว มากกว่า 50 รายการ สินค้าหัตถกรรมและหมู่บ้านหัตถกรรมดั้งเดิม ของสตาร์ทอัพหญิงไฮฟอง ผ่าน 30 บูธ
นาง บ๋าวเฮือง รองประธานชมรมผู้ประกอบการสตรีสังกัดสหพันธ์สตรีนครไฮฟอง ได้เผยว่า ทางสำนักงานฯ ได้ให้ความช่วยเหลือในการเผยแพร่และนำผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการหญิงสู่ตลาด เพื่อส่งเสริมขบวนการประกอบธุรกิจสตาร์ทอัพของสมาชิกสตรี
“สินค้าต่างๆ ได้มีการจำหน่ายทุกวันอย่างรวดเร็วและได้รับการตอบรับที่ดี โดยพวกเราสามารถขายไข่ได้ถึง 1,000 ฟองภายใน 2 วัน ส่วนผักก็ขายหมดเกลี้ยงทุกวัน ในขณะที่ฝรั่งและส้มขายได้ 30-50 กก. ต่อวัน ทุกคนต่างรู้สึกสนใจและมีความเชื่อมั่นในการซื้อสินค้าจาก ที่นี่”
นาง หวูถิกิมเลียน ประธานสหพันธ์สตรีนครไฮฟอง |
ทั้งนี้ ศูนย์อาชีวศึกษาและสนับสนุนการพัฒนาสตรีนครไฮฟอง ได้มีการจัดโครงการอบรม “ผู้หญิงกับอีคอมเมิร์ซ” หลายโครงการ รวมถึงการนำเสนอกระบวนการจดทะเบียนแบรนด์สินค้า เครื่องหมายการค้า การปกป้องแบรนด์สินค้า การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับสิ่งประดิษฐ์และผลิตภัณฑ์พื้นเมืองต่างๆ นาง หวูถิกิมเลียน ประธานสหพันธ์สตรีนครไฮฟอง ได้ยืนยันว่า การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นสิ่งที่ได้รับการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพในหน่วยงานทุกระดับของสมาคมฯ เพื่อไม่เพียงแค่ยกระดับคุณภาพของกิจกรรมของสมาคมเท่านั้น แต่ยังคงสนับสนุนการพัฒนาขบวนการผู้ประกอบการสตรีอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
“ในเวลาข้างหน้า พวกเราจะสร้างความเชื่อมโยงให้แก่บัตรสมาชิกอัจฉริยะ หมายความว่า เชื่อมบัตรสมาชิกกับกิจกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ ซึ่งก่อนหน้านั้น ถ้าหากพวกเราดำเนินธุรกิจการผลิตทางตรงอย่างเดียว จะสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้เพียงจำนวนน้อยเท่านั้น แต่เมื่อมีการประยุกต์ใช้การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในการพัฒนาเศรษฐกิจ จำนวนลูกค้าก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ไม่เพียงแค่ในเมืองไฮฟองหรือภายในประเทศเวียดนามเท่านั้น แต่สามารถไปไกลทั่วโลก”
การสนับสนุนของศูนย์อาชีวศึกษาและสนับสนุนการพัฒนาสตรีนครไฮฟองและสหพันธ์สตรีนครไฮฟอง ได้ส่งเสริมความกล้าคิดกล้ากล้าทำ พร้อมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มสตรีที่มีจิตใจแห่งการประกอบธุรกิจสาร์ทอัพ เพื่อสร้างเศรษฐกิจครัวเรือนให้มีความเข้มแข็งและมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่น.