การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเวียดนาม-ญี่ปุ่น ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเครื่องดนตรีพื้นเมืองของญี่ปุ่น

Thủy Tiên
Chia sẻ
(VOVWORLD) - ในกรอบกิจกรรมเพื่อมุ่งสู่การรำลึกครบรอบ 50 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างเวียดนามกับญี่ปุ่นในปี 2023 เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ได้มีการจัดงานคอนเสิร์ตการกุศล “Ryoma Quartet – Sức sống mới” ภายใต้ความร่วมมือระหว่างวงดนตรี Ryoma Quartet ของญี่ปุ่นกับวงดนตรี Sức sống Mới ของเวียดนาม ซึ่งผู้ชมเวียดนามได้มีโอกาสศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเครื่องดนตรีพื้นเมืองของญี่ปุ่นผ่านการแนะนำของสมาชิกวง Ryoma Quartet

การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเวียดนาม-ญี่ปุ่น ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเครื่องดนตรีพื้นเมืองของญี่ปุ่น - ảnh 1วงดนตรี Ryoma Quartet

วงดนตรี Ryoma Quartet มีสมาชิก 4 คนที่เป็นศิลปินชื่อดังของญี่ปุ่น ที่มีเป้าหมายประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมญี่ปุ่นและสร้างสรรค์มิตรภาพระหว่างประชาชนประเทศต่างๆผ่านดนตรี ซึ่งได้ไปแสดงในประเทศต่างๆ เช่น สเปน ไทย มาเลเซีย บัลแกเรียและสาธารณรัฐเกาหลี เป็นต้น สำหรับในงานคอนเสิร์ตการกุศล “Ryoma Quartet – Sức sống mới” ที่เวียดนามนั้น วงดนตรี Ryoma Quartet ได้ร้องเพลงพื้นเมืองที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีของญี่ปุ่น 

ท่านกำลังฟังเสียงพิณซามิเซ็นของศิลปิน Masakatsu สมาชิกวง Ryoma Quartet พิณซามิเซ็นมี 3 สาย มีคอยาวพอๆกับกีตาร์ ตัวซามิเซ็นเป็นทรงสี่เหลี่ยมหุ้มด้วยหนังสัตว์ ใช้ไม้ดีดที่เรียกว่าบาจิ ซึ่งใช้สำหรับเล่นบรรเลงเพลง

“พิณซามิเซ็นมีหลายแบบสำหรับใช้เล่นดนตรีต่างๆ ซึ่งพิณซามิเซ็นตัวนี้มีต้นกำเนิดที่จังหวัดอาโอโมริ โดยศิลปินตาบอดได้นั่งเล่นพิณซามิเซ็นเพื่อขอทานที่หน้าบ้านของผม”

นอกจากพิณซามิเซ็น  สมาชิกวง Ryoma Quartet ยังเป่าขลุ่ยโนกันและตีกลองโคะสึซึมิ โดยขลุ่ยโนกันมีลักษณะคล้ายๆขลุ่ยเวียดนาม ส่วนกลองโคะสึซึมิ ตัวกลองทำจากไม้ หน้ากลองทั้งสองด้านขึงด้วยแผ่นหนังพร้อมสายที่สามารถบีบหรือคลายออกเพื่อเพิ่มหรือลดความตึงของหน้ากลอง ซึ่งช่วยให้ผู้เล่นสามารถเพิ่มหรือลดระดับเสียงของกลองได้ ศิลปิน Jinko นักตีกลองโคะสึซึมิ ได้เผยว่า

“กลองโคะสึซึมิใช้ประกอบการแสดงละครโนและละครคาบูกิ สำหรับเทคนิกการตีกลองโคะสึซึมิ ต้องจับสายให้หย่อนและกระแทกหน้ากลองที่กึ่งกลาง หรือบีบสายแล้วกระแทกหน้ากลองใกล้กับตำแหน่งที่สัมผัส”

 ส่วนวาทยกร ด่งกวางวิง ของวง  Sức sống Mới ได้เผยว่า เครื่องดนตรีพื้นเมืองของญี่ปุ่นและเวียดนามมีลักษณะคล้ายๆกัน

“ขลุ่ยโนกันและขลุ่ยเวียดนามมีลักษณะการเป่าที่คล้ายๆกัน ส่วนพิณซามิเซ็นมีลักษณะคล้ายๆกับพิณตามและพิณติ๋งของเวียดนาม โดยพิณของญี่ปุ่นมีเสียงกังวาลมากกว่าพิณเวียดนาม”

การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเวียดนาม-ญี่ปุ่น ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเครื่องดนตรีพื้นเมืองของญี่ปุ่น - ảnh 2การแลกเปลี่ยนระหว่างRyoma Quartet กับวง Sức sống mới

สำหรับงานคอนเสิร์ตการกุศล “Ryoma Quartet – Sức sống mới” ได้ช่วยให้ประชาชนเวียดนามมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและการเล่นเครื่องดนตรีของญี่ปุ่น

“งานคอนเสิร์ตนี้ได้ช่วยให้ดิฉันศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเครื่องดนตรีต่างๆของญี่ปุ่น ซึ่งดีมาก”

“ผมรู้สึกประทับใจกับนักตีกลองโคะสึซึมิและพิณซามิเซ็นมาก โดยเฉพาะเสียงพิณซามิเซ็นมีความโดดเด่นมาก ซึ่งใช้ไม้ดีดที่ทำจากกระดองเต่าเรียกว่าบาจิ” 

การบรรเลงเพลง “  Con gà gáy le te”  หรือ “ไก่ขัน”ของวงดนตรี Ryoma Quartet กับวงดนตรี Sức sống Mới ได้แสดงให้เห็นว่า แต่ละประเทศมีวัฒนธรรมและดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์และการผสานเครื่องดนตรีต่างๆได้สร้างผลงานดนตรีที่ไพเราะ ซึ่งดึงดูดความสนใจของผู้ชมเป็นอย่างมาก.

คำติชม